ควรตรวจระดับ PSA หรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ควรตรวจระดับ PSA หรือไม่?

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการตรวจค่า PSA

การตรวจ PSA นั้นเป็นการตรวจที่เริ่มใช้ในช่วงปี 1980 เพื่อติดตามผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว ก่อนที่จะเริ่มมีการนำมาใช้ในการตรวจคัดกรองก่อนเป็นโรคมะเร็ง เนื่องจาก PSA นั้นเป็นการตรวจที่ทำได้ง่าย ทำให้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายแม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่บอกถึงประสิทธิภาพของการตรวจมากเพียงพอก็ตาม

แต่ในช่วงปี 2012 ได้มีหน่วยงานหนึ่งในสหรัฐอเมริกาที่ออกมาต่อต้านการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการตรวจนี้ โดยอ้างอิงงานวิจัยขนาดใหญ่ที่ไม่พบความแตกต่างระหว่างการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่ทำการตรวจคัดกรองกับไม่ตรวจคัดกรองโรค คำแนะนำฉบับใหม่ที่ออกมานั้นยังแสดงให้เห็นถึงความกังวลที่การตรวจคัดกรองดังกล่าวนั้นทำให้มีการวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเกิดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ำและต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดหรือการฉายแสงซึ่งล้วนแต่มีผลข้างเคียง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาในยุโรปที่พบว่าผู้ชายที่ทำการตรวจคัดกรองโรคและติดตามโรคนานกว่า 10 ปีนั้นมีจำนวนผู้เสียชีวิตน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้คัดกรอง และมีผู้เชี่ยวชาญที่เริ่มพยายามหลีกเลี่ยงการรักษาที่เกินความจำเป็นในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งระดับความเสี่ยงน้อย

สิ่งที่ควรต้องพิจารณาเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองด้วยการตรวจ PSA

แพทย์มักจะทำการอธิบายถึงข้อดีและข้อเสียของการตรวจ PSA กับผู้ป่วยและสอบถามความต้องการที่จะตรวจเสมอ โดยถึงแม้ว่าการตรวจคัดกรองนั้นจะช่วยลดการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้ 20% แต่ก็ต้องใช้การตรวจมากกว่า 1000 คนถึงจะสามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ 1 คน นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงที่จะเกิดจากการรักษา เช่นภาวะองคชาติไม่แข็งตัว, กลั้นปัสสาวะไม่ได้ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย

นอกจากนั้นการตรวจ PSA นั้นยังไม่ใช่การตรวจที่มีความแม่นยำมากนัก โดยอาจจะตรวจพบผลเป็นบวกลวงได้ซึ่งหมายความว่าเมื่อมีการตรวจเพิ่มเติมแล้วนั้นพบว่าไม่ได้เป็นมะเร็ง วิธีการรักษาโรคมะเร็งที่มีความเสี่ยงต่ำนั้นยังอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้มากกว่าการเป็นโรค ซึ่งอาจใช้การติดตามอย่างใกล้ชิดได้

ดังนั้นการเลือกที่จะตรวจหรือไม่ตรวจนั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรตกลงร่วมกันระหว่างแพทย์และผู้ป่วยที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจอย่างครบถ้วน ซึ่งในบางครั้งการที่แพทย์มีเวลาพบผู้ป่วยจำกัดนั้นก็ทำให้ปฏิบัติได้ยาก ผู้ป่วยแต่ละคนนั้นมีสิทธิ์เต็มที่ในการตัดสินใจที่จะเข้ารับการตรวจหรือไม่ด้วยตนเองโดยที่ไม่เกี่ยวกับคนอื่น เพราะไม่มีใครทราบว่าอะไรคือคำตอบที่ถูกต้องสำหรับแต่ละบุคคล


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prostate cancer - Should I have a PSA test?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/prostate-cancer/should-i-have-psa-test/)
Prostate-Specific Antigen: PSA Test and PSA Levels Explained. WebMD. (https://www.webmd.com/prostate-cancer/guide/psa)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป