สันหน้าแข้งอักเสบ(shin splints) - สาเหตุและการรักษา

สาเหตุ การรักษา และการป้องกันอาการเจ็บหน้าแข้งจากสันหน้าแข้งอักเสบ
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สันหน้าแข้งอักเสบ(shin splints) - สาเหตุและการรักษา

สันหน้าแข้งอักเสบอธิบายถึงอาการเจ็บหน้าแข้งทั่วๆ ไปที่เกิดขึ้นบริเวณขาส่วนล่างตลอดแนวกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) อาการเจ็บจากสันหน้าแข้งอักเสบมักเกิดขึ้นที่ส่วนหน้าของสันหน้าแข้ง (Anterior shin splints) หรืออาจมีอาการเจ็บที่ด้านหลังข้างในของขาส่วนล่าง (Posterior medial shin splint)

สันหน้าแข้งอักเสบมักเกิดขึ้นหลังจากมีการบาดเจ็บสะสม ซึ่งทำให้เกิดการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ ต่อกล้ามเนื้อ Soleus ที่ตำแหน่งเกาะกับกระดูกหน้าแข้ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การบาดเจ็บซ้ำๆ สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองของกล้ามเนื้อ Posterior tibialis และการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่หุ้มกระดูก tibia สันหน้าแข้งอักเสบมักเป็นผลมาจากการใช้งานเนื้อเยื่อเหล่านี้หนักเกินไปจากการทำกิจกรรมหนักหน่วงซ้ำๆ โดยไม่มีเวลาพักระหว่างกิจกรรมที่นานเพียงพอ

สาเหตุของสันหน้าแข้งอักเสบ?

นักกีฬาส่วนใหญ่ที่มีอาการสันหน้าแข้งอักเสบมักอธิบายประวัติการออกกำลังกายที่มีการเพิ่มความหนักหรือระยะเวลาของกิจกรรมโดยไม่มีระยะเวลาพักที่เหมาะสมระหว่างการออกกำลังกาย

มีหลายปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดสันหน้าแข้งอักเสบได้ สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือการบาดเจ็บซ้ำๆ ไม่ว่าจะต่อกล้ามเนื้อหรือกระดูกของขาส่วนล่างการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ (Exertional compartment syndrome) มักสัมพันธ์กับการฝึกหนักเกินไปหรือการวิ่งบนพื้นแข็งมากเกินไป การใช้งานซ้ำๆ ทำให้กล้ามเนื้อบวม และมีแรงดันต่อเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ (Fascia) ของขาส่วนล่าง ทำให้เกิดแรงกดและอาการเจ็บ

การบาดเจ็บของกระดูกขาส่วนล่างสามารถทำให้เกิดกระดูกหักล้า (Stress fracture) ได้ การมีแรงกระทำต่อเนื่องต่อกระดูกขาอาจทำให้เกิดรอยแตกเล็กๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และกระดูก tibia และ Fibula (กระดูกของขาส่วนล่าง) เกิดการหักได้ การพักเป็นสิ่งจำเป็นต่อการซ่อมแซมรอยแตกดังกล่าว แต่หากไม่มีระยะพักฟื้นเพียงพอ รอยแตกเหล่านี้จะขยายใหญ่ขึ้น และอาจหักได้ ผลคืออาการเจ็บปวดฉับพลันและการพักฟื้นระยะยาว

นักวิ่งมือใหม่มีความเสี่ยงต่ออาการสันหน้าแข้งอักเสบและกระดูกหักล้ามากกว่า เนื่องจากพวกเขายังไม่คุ้นชินกับการวิ่งที่มีแรงกระทำสูงต่อกล้ามเนื้อและข้อขาส่วนล่างและเท้า การวิ่งบนพื้นแข็ง (โดยเฉพาะหากสวมใส่รองเท้าที่เก่าขาดแล้ว) จะเพิ่มแรงกระทำต่อกล้ามเนื้อ ข้อ และกระดูก และเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการสันหน้าแข้งอักเสบ การคว่ำเท้า (Pronation) มากเกินไป หรือปัญหาทางด้านชีวกลศาสตร์ (Biomechanics) อื่นๆ ก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดสันหน้าแข้งอักเสบได้เช่นกัน

สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของสันหน้าแข้งอักเสบ

  • การยืดกล้ามเนื้อที่ไม่เหมาะสม
  • การไม่อุ่นเครื่องก่อน
  • ฝึกหนักเกินไป
  • เพิ่มระยะวิ่งเร็วเกินไป
  • วิ่งหรือกระโดดบนพื้นแข็ง
  • กล้ามเนื้อขาส่วนหน้าและส่วนหลังไม่สมดุล
  • รองเท้าเก่าเกินไปที่ประคับประคองเท้าได้ไม่เพียงพอ
  • การวิ่งบนพื้นเอียง
  • ปัญหาทางชีวกลศาสตร์อื่นๆ

อาการของสันหน้าแข้งอักเสบ

  • อาการเจ็บทางด้านใน (Medial หรือ Inside) ของขาส่วนล่าง
  • อาการเจ็บมักแย่ลงเมื่อวิ่ง หรือออกกำลังกายที่ต้องลงน้ำหนัก
  • อาการเจ็บเพิ่มขึ้นหลังวิ่งบนพื้นแข็ง
  • อาการเจ็บปวดจะยังคงอยู่แม้ว่าจะหยุดทำกิจกรรมไปแล้ว
  • อาการเจ็บเพิ่มขึ้นตามกิจกรรมที่ทำ
  • อาการเจ็บเพิ่มขึ้นเมื่อวิ่ง กระโดด ปีนเขา หรือวิ่งลงจากเขา
  • กล้ามเนื้อน่องอาจตึงและไม่ยืดหยุ่น

การรักษาสันหน้าแข้งอักเสบ

การพักเป็นการรักษาที่ดีที่สุดหากสันหน้าแข้งอักเสบ สำหรับการบรรเทาอาการอย่างรวดเร็ว ให้ใช้หลักการ R.I.C.E เพื่อควบคุมอาการปวดและการอักเสบ ได้แก่

Rest - การพัก
Ice - การประคบเย็น
Compression - การพันหรือกดบีบ
Elevation - การยกส่วนที่บาดเจ็บให้สูงกว่าหัวใจ

การกลับไปทำกิจกรรมต้องเริ่มอย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยกิจกรรมที่ไม่ลงน้ำหนัก (ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ) เป็นการออกกำลังกายจนกว่าจะไม่มีอาการเจ็บปวดอีก

  • การเสริมสร้างความแข็งแรงและการยืดกล้ามเนื้อจะช่วยได้ การทำกายภาพบำบัดสำหรับการบาดเจ็บของข้อเท้าก็สามารถใช้กับการบำบัดอาการสันหน้าแข้งอักเสบได้เช่นกัน
  • พันผ้ารอบหน้าแข้งเพื่อลดแรงกระทำ
  • สวมรองเท้าที่เหมาะสม
  • เปลี่ยนรองเท้าเมื่อจำเป็น

การกลับไปทำกิจกรรมต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป มิฉะนั้นคุณจะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บซ้ำ เปลี่ยนกิจวัตรของคุณ ลดเวลาการออกกำลังกายและความหนัก เพื่อที่คุณจะได้ไม่รู้สึกไม่สบายระหว่างและหลังการออกกำลังกายอีก หากอาการเจ็บหน้าแข้งของคุณยังเป็นอยู่หลังจากสามสัปดาห์ คุณควรจะไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่เหมาะสม


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tim Newman, All you need to know about shin splints (https://www.medicalnewstoday.com/articles/242169.php) 13 October 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป