สัญญาณเตือน 7 ประการของโรคไทฟอยด์

เผยแพร่ครั้งแรก 21 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สัญญาณเตือน 7 ประการของโรคไทฟอยด์

ปีไหนที่มีอัตราการเกิดฝนตกสูง ก็ย่อมมีอัตราการป่วยเป็นโรคไทฟอยด์มากขึ้นตาม ดังนั้นคุณควรตระหนักรู้ถึงสัญญาณและอาการต่าง ๆ ของโรคนี้ก่อนที่จะสายเกินไป

ฤดูมรสุมมักนำพาโรคภัยต่าง ๆ มาพร้อมกัน โรคไทฟอยด์เองก็เป็นหนึ่งในนั้น มันเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อซัลโมเนลลาไทฟิ (Salmonella typhi) ที่สามารถแพร่กระจายได้ง่ายด้วยการปนเปื้อนในอาหารและน้ำ จึงเป็นเหตุผลที่แพทย์ทุกคนต่างแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่วางขายตามท้องถนน หรือการดื่มน้ำตามก็อกน้ำสาธารณะในช่วงฤดูมรสุม อาการของโรคไทฟอยด์ที่คุณควรสังเกตพบมีดังต่อไปนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มีไข้สูง: เมื่อคุณติดเชื้อแบคทีเรีย มันจะใช้เวลาระหว่าง 6 ถึง 30 วันก่อนจะแสดงอาการ ซึ่งอาการทั่วไปของโรคไทฟอยด์คือมีไข้สูง เมื่อเชื้อโรคเริ่มกระจายตัวเองไปยังระบบภายในจะทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเป็นปฏิกิริยาป้องกันเพื่อทำการกำจัดเชื้อโรค ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นระหว่างการมีไข้ที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อโรคไทฟอยด์ก็คือการหนาวสั่น และมีอุณหภูมิร่างกายที่อาจพุ่งสูงไปถึง 103 – 104 ฟาร์เรนไฮต์ได้อย่างรวดเร็วในช่วง 2 – 3 วันนานอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยอุณหภูมิดังกล่าวอาจขึ้นลงผันผวนในวันเดียว

ปวดศีรษะ: เหมือนกับการป่วยไข้จากการติดเชื้อทั่วไปที่จะมีอาการปวดศีรษะหลังมีไข้ แบคทีเรียที่เข้าสู่กระแสเลือดจะโจมตีอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้การมีไข้สูงจะร่วมด้วยอาการปวดศีรษะ ไข้ไทฟอยด์เองก็ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะรุนแรงอันเนื่องมาจากความผันผวนของอุณหภูมิร่างกายตลอดวันนั่นเอง

อาการซึม/อิดโรย: การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกายจะไประงับเอนไซม์ที่ใช้ย่อยอาหาร ทำให้ผู้ป่วยไทฟอยด์ไม่รู้สึกอยากอาหาร และอาจจะรู้สึกอิ่มเมื่อได้ทานอาหารในปริมาณน้อยซึ่งส่งผลทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อยง่าย

เบื่ออาหาร: เมื่อเอนไซม์ย่อยอาหารถูกกดไว้เนื่องมาจากการโจมตีของแบคทีเรียในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหารที่แม้แต่การดื่มน้ำยังไม่รู้สึกกระหาย การเบื่ออาหารจะทำให้ร่างกายอ่อนแอลง และทำให้รู้สึกเหนื่อยง่ายและอิดโรย

ตับและม้ามขยายใหญ่ขึ้น: ภาวะม้ามและตับโตมักจะพบได้บ่อยหลังจากเป็นไข้มามากกว่าสัปดาห์หนึ่ง และเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นตลอดหลายวัน มักพบได้ชัดเจนในเด็กป่วย

จุดแดงตามร่างกาย: หลังจากมีอาการหนึ่งอาทิตย์ จะพบว่าตามร่างกายผู้ป่วยจะมีจุดแปลก ๆ บนหน้าอกและหน้าท้อง ซึ่งเกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลลาไทฟิเข้าสู่เซลล์ชั้นเยื่อบุภายในของหลอดเลือดฝอยใต้ผิวหนัง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ท้องร่วงและอาเจียน: ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการท้องร่วง ซึ่งเป็นอาการของโรคที่เกิดมาจากการติดเชื้อผ่านอาหารและน้ำ ซึ่งมาจากการอักเสบของช่วงท้องที่อาจก่อให้เกิดเลือดออกในระบบทางเดินอาหารด้วย โดยจะทำให้อุจจาระออกมามีสีดำหรือมีอุจจาระปนเลือด ในบางกรณีอาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย

ปวดช่องท้อง: เป็นผลมาจากอาการท้องร่วงและอาเจียน เนื่องจากพนังกระเพาะถูกจู่โจมโดยเชื้อโรคซึ่งทำให้เกิดอาการเจ็บปวดรุนแรง หากทำการตรวจช่องท้องอาจพบว่าช่องท้องบวมออก

อาการปวดเมื่อย: ความเจ็บปวดไม่ได้เกิดเฉพาะที่ช่องท้องเท่านั้น แต่เชื้อแบคทีเรียยังทำให้กล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ ปวดเมื่อยเช่นกัน

หากคุณประสบกับอาการเหล่านี้ ให้รีบทำการตรวจเลือดทันที ซึ่งหากผลที่ได้แสดงถึงร่องรอยของไข้ไทฟอยด์ จะทำให้แพทย์สามารถรักษาได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Typhoid fever - Symptoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/typhoid-fever/symptoms/)
Typhoid Fever Vaccine, Symptoms, Causes, Diagnosis & Treatment (https://www.medicinenet.com/typhoid_fever/article.htm)
Symptoms and Treatment | Typhoid Fever. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/typhoid-fever/symptoms.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป