ปั่นจักรยานในที่ร่ม ควรปรับระดับอย่างไร

ปรับจักรยานให้เหมาะสมกับร่างกายของคุณเพื่อให้ออกกำลังกายได้ดีที่สุด
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ปั่นจักรยานในที่ร่ม ควรปรับระดับอย่างไร

คุณอาจจะอยากกระโดดขึ้นจักรยานในชั้นเรียนปั่นจักรยานในร่มและเริ่มปั่นทันที แต่นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สำหรับผู้เริ่มต้น คุณควรปรับแต่งจักรยานให้เหมาะกับร่างกายของคุณที่สุดเพื่อที่คุณจะได้ประโยชน์จากการออกกำลังกายและลดความเสี่ยงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น การปรับจักรยานในร่มให้เหมาะกับคุณนั้นมีความแตกต่างเล็กน้อยจากการปรับจักรยานทั่วไป

ปรับความสูงของที่นั่ง 

ที่นั่งควรอยู่ในตำแหน่งที่สูงเพียงพอที่คุณจะสามารถเหยียดขาได้สุดในทุกการปั่นแต่ละครั้ง และต่ำพอที่เข่าของคุณจะงอเล็กน้อยเวลาปั่น คุณไม่ควรต้องพยายามที่จะไปให้ต่ำที่สุดเวลาปั่นเพราะมันจะทำให้คุณต้องบังคับให้สะโพกของคุณเคลื่อนที่จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่งอย่างไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ วิธีการหาระดับความสูงของที่นั่งที่เหมาะสมคือให้วางเท้าของคุณบนที่วางเท้าและลองปั่นจนกระทั่งขาขวาของคุณไปอยู่ในตำแหน่งต่ำที่สุดของการหมุน และในตำแหน่งนั้นเข่าขวาของคุณควรงอทำมุม 25-35 องศา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ปรับเก้าอี้ไปข้างหน้าหรือข้างหลัง 

ตำแหน่งที่นั่งที่ถูกต้องนั้น แขนของคุณควรอยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมจากที่จับ และคุณควรสามารถงอศอกได้เล็กน้อย เมื่อคุณปรับให้ที่ปั่นทั้ง 2 ข้างอยู่ขนานกับพื้นและอยู่ในระดับเดียวกัน ด้านหน้าเข่าของขาที่อยู่ด้านหน้าควรอยู่เหนือจุดกึ่งกลางของที่เหยียบ

ปรับที่จับให้สูงขึ้นหรือต่ำลง 

ตำแหน่งของที่จับนั้นมักจะเกี่ยวกับเรื่องของความสบายเป็นหลัก แต่ความสูงในตำแหน่งที่เหมาะสมนั้นก็จะช่วยจำกัดความเครียดที่ทำต่อคอและหลังของคุณ (จักรยานบางคันสามารถปรับที่จับไปข้างหน้าหรือหลังได้ด้วย) หากคุณเพิ่งเริ่มปั่นจักรยานในร่ม ลองเริ่มจากการให้ที่จับนั้นอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่า และเมื่อคุณแข็งแรงขึ้นก็ค่อย ๆ ปรับระดับลง

ตำแหน่งของเท้า 

โค้งของเท้าควรอยู่ในตำแหน่งตรงกลางของที่เหยียบเพื่อให้สบายและสามารถปั่นได้มีประสิทธิภาพที่สุด หากคุณใส่รองเท้าออกกำลังกายทั่วไปให้ใช้ที่วางเท้าที่ติดอยู่กับล้อ รัดเชือกให้แน่น เก็บเชือกผูกรองเท้าของคุณเข้าไปในรองเท้า หากคุณใส่รองเท้าสำหรับการปั่นจักรยานที่มีคลิป ให้คลิปอยู่ด้านล่างของเท้าเพื่อให้โค้งของเท้าคุณอยู่ตรงกลางที่เหยียบ และอย่าลืมคลิปให้แน่นด้วย

การใช้เวลาไปกับรายละเอียดเหล่านี้ก่อนเริ่มชั้นเรียนจะช่วยให้คุณสามารถปั่นจักรยานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หายใจอย่างถูกต้อง และป้องกันอันตรายและอาการปวดที่อาจเกิดขึ้นหลังการออกกำลังกาย จักรยานแต่ละคันนั้นมีความแตกต่างกันเล็กน้อยเช่นเดียวกับร่างกายของแต่ละคน ดังนั้นการปรับจักรยานก่อนเริ่มชั้นเรียนจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ ตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งว่าที่จับและที่นั่งของคุณอยู่ติดกับจักรยานอย่างแน่นหนาและน็อตทุกชิ้นอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม

วิธีการนี้จะทำให้คุณสามารถทุ่มความสนใจไปที่การขี่จักรยานโดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cycling for beginners. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/exercise/cycling-for-beginners/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม