ภาวะกะโหลกศีรษะแยก คือการเกิดรอยแยกที่ไม่ปกติขึ้นที่กะโหลกของเด็กทารก โดยศีรษะของเด็กทารก ประกอบไปด้วยแผ่นกระดูก 6 แผ่นที่จะเชื่อมเข้าหากันแน่นขึ้นตามอายุของเด็ก รอยขอบของแผ่นกระดูกที่เชื่อมบรรจบกัน เรียกว่ารอยประสาน (Suture)
รอยประสานเป็นเนื้อเยื่อแข็งแรงและยืดหยุ่นที่ยึดเกาะกระดูกกะโหลกเข้าด้วยกัน รอยประสานสองชิ้นก่อตัวขึ้นจากเยื่อบุที่เรียกว่ากระหม่อมหรือจุดอ่อนนุ่มสองจุด รอยประสานจะช่วยป้องกันสมองของทารกที่ยังอยู่ระหว่างการเจริญเติบโต แต่เมื่อรอยประสานแยกตัวออกจากกันจะทำให้เกิดการเว้าหรือช่องบวมออกที่ชัดเจนอย่างมากบนศีรษะของทารก ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้อย่างง่ายดาย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ควรพาเด็กไปพบแพทย์ทันทีที่สังเกตเห็นการแยกตัวของกะโหลกทารก เพราะภาวะนี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะสุขภาพร้ายแรงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกะโหลกศีรษะแยก
ภาวะกะโหลกศีรษะแยกเกิดได้จากหลายปัจจัย แต่โดยทั่วไปแล้วมักเกิดจากสาเหตุที่ไม่เป็นอันตราย เช่น การเกิดภาวะกะโหลกศีรษะแยกตั้งแต่กำเนิด เด็กที่มีภาวะนี้จะมีแผ่นกะโหลกที่โตขึ้นซ้อนทับกันอยู่จนกลายเป็นแนวกะโหลก ซึ่งรอยนูนจะหายไปเองภายในไม่กี่วัน และจะทำให้ศีรษะของเด็กกลับมามีรูปร่างปกติ
แต่บางครั้งก็อาจพบสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะกะโหลกศีรษะแยก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ดังนี้
- ภาวะขาดสารอาหาร ภาวะขาดวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด สามารถทำให้กะโหลกทารกแยกได้ โดยทารกที่ขาดสารอาหารที่จำเป็นเหล่านี้จะไม่สามารถประคองเนื้อเยื่อเชื่อมต่อและแผ่นกระดูกได้อย่างที่ควรจะเป็น หากเกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ก็สามารถทำให้กระหม่อมของทารกยุบตัวลงคล้ายกับการยุบจากภาวะกะโหลกศีรษะแยกก็ได้
- การกระทบกระทั่ง โดยเฉพาะการทำร้ายร่างกายเด็ก สามารถทำให้กะโหลกศีรษะแยกและกระหม่อมบวมได้ การกระแทกที่ศีรษะของเด็กอย่างแรงยังอาจทำให้อวัยวะภายในอย่างสมองเลือดออก หรือทำให้มีเลือดสะสมอยู่บนพื้นผิวสมองของเด็ก (Subdural Hematoma) การกระทบกระแทกที่ศีรษะของทารกนับว่าเป็นเรื่องร้ายแรงที่ต้องมีการรักษากับแพทย์ทันที
- โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โรคและภาวะต่าง ๆ ที่เพิ่มแรงดันภายในกะโหลกอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะกะโหลกศีรษะแยกในเด็กทารกได้ โดยภาวะและโรคที่มีความเชื่อมโยงกับแรงดันภายในกะโหลกมีดังนี้
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
- ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus)
- เนื้องอกในสมอง (Brain Tumors)
- การติดเชื้อตั้งแต่กำเนิด
- ดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome)
- กลุ่มอาการแดนดี-วอล์กเกอร์ (Dandy-Walker Malformation)
การรักษาภาวะกะโหลกศีรษะแยก
กระหม่อมหรือจุดอ่อนนุ่มของศีรษะอาจบวมออกขณะที่ทารกอาเจียน นอนหงาย หรือร้องไห้ แต่หลังจากที่เด็กหยุดร้องไห้ นั่งตัวตรง หรือหยุดอาเจียน อาการบวมดังกล่าวควรจะหดตัวกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมหรือมีการเว้าเข้าไปเล็กน้อย แต่หากสังเกตว่าจุดดังกล่าวยังคงโตขึ้นอยู่ควรเข้าพบแพทย์ในทันที
กุมารแพทย์สามารถประเมินการบวมของศีรษะได้ด้วยการตรวจร่างกายเด็ก และสัมผัสหาช่องแยกระหว่างแผ่นกะโหลกเพื่อดูระยะห่างระหว่างแผ่นศีรษะแต่ละแผ่น นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจสอบโครงสร้างกระดูกภายในศีรษะของทารกด้วยการทดสอบต่างๆ เช่น การสแกนคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography (CT)) การสแกนคลื่นสะท้อนแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging (MRI)) หรืออัลตราซาวด์ (Ultrasound) และยังอาจต้องมีการทดสอบประเภทอื่น เช่น การตรวจเลือดและเจาะหลัง การตรวจดวงตาเพื่อตรวจหาปัญหาสายตาของเด็ก และตรวจสอบเส้นประสาทดวงตา
สาเหตุของภาวะกะโหลกศีรษะแยกส่วนมากมักเป็นเรื่องร้ายแรงและอาจอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นการเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยให้พบสาเหตุที่แท้จริงจึงเป็นเรื่องสำคัญและส่งผลอย่างมากต่อกระบวนการรักษาภายหลังการวินิจฉัย
การป้องกันภาวะกะโหลกศีรษะแยก
ไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันการเกิดภาวะกะโหลกศีรษะแยกได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็มีขั้นตอนลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ขึ้น ดังนี้
- ติดตามวันฉีดวัคซีนของเด็ก โดยเฉพาะวัคซีนป้องกันเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- หลีกเลี่ยงให้เด็กเข้าใกล้ผู้ที่เคยมีภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ป้องกันเด็กจากอุบัติเหตุที่อาจมีการกระแทกที่ศีรษะด้วยการติดแผ่นกันกระแทกตามขอบเปลนอน ประกอบรถเข็นเด็กให้แข็งแรงทนทาน และกำจัดสิ่งของที่ไม่แข็งแรงออกจากห้องของเด็ก
- ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างครบถ้วนเพียงพอในแต่ละวันตามที่แพทย์แนะนำ
- หากพบความผิดปกติใดๆ ให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ทันที
คนควรดื่มน้ำมากน้อยแค่ไหน แล้วอาการสมองบวมน้ำเกิดจากการกินน้ำเยอะไปได้ไมค่ะ