กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

Macrocephaly (ศีรษะโต)

เผยแพร่ครั้งแรก 15 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

ภาวะศีรษะโต เป็นอาการของภาวะแทรกซ้อนที่เกิดกับสมอง มาตรฐานที่ใช้กับภาวะนี้คือเส้นรอบวงศีรษะของบุคคลหนึ่งมีมากกว่าค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่สองที่มากกว่าค่าเฉลี่ยของอายุบุคคลนั้นๆ หรือศีรษะมีขนาดใหญ่กว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 98 ขึ้นไป

มีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถเพิ่มโอกาสเกิดภาวะศีรษะโตได้ เช่น พันธุกรรม แต่ยังไม่มีหลักฐานกล่าวว่าภาวะศีรษะโตจะเกิดขึ้นกับเด็กชาติใด เพศใด หรือเผ่าพันธุ์ใดเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีการคาดกันว่าเด็กที่มีภาวะออทิสซึมจะมีโอกาสประสบกับภาวะศีรษะโตมากขึ้น โดยมีงานวิจัยฉบับหนึ่งที่คาดการณ์ว่าเด็กที่เป็นออทิสซึม 15-35 เปอร์เซ็นต์จะมีภาวะศีรษะโต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของภาวะศีรษะโต

เด็กบางคนที่เกิดมาพร้อมกับภาวะศีรษะโตจากเนื้องอก อาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ นอกจากเส้นรอบวงศีรษะมากกว่าคนทั่วไปเท่านั้น ขณะที่เด็กบางคนอาจประสบกับปัญหาพัฒนาการล่าช้าได้ เช่น

  • พิการหรือพัฒนาการทางจิตล่าช้า
  • ศีรษะโตเร็วเกิน
  • การเจริญเติบโตของร่างกายส่วนอื่นๆ ช้ากว่าปกติ
  • มีภาวะอื่นร่วมอยู่ด้วย เช่น ภาวะออทิสซึม (Autism) หรือโรคลมชัก (Epilepsy)

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากภาวะศีรษะโตนั้นหายาก แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ผู้ที่มีสมองโตมากเกินมักจะประสบกับภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus) ซึ่งเป็นภาวะจากการมีน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง (Cerebrospinal Fluid) สะสมในสมอง ขณะที่ผู้ป่วยบางคนอาจประสบกับการกดทับที่ก้านสมองจนต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไข

ส่วนภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ มีทั้ง อาการชัก (Seizures) ปัจจัยเสี่ยงต่อการตายปริกำเนิด (Perinatal risk factors) และโรควินิจฉัยร่วมทางประสาทวิทยา ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้อีก

สาเหตุของภาวะศีรษะโต

ภาวะศีรษะโตมักเป็นอาการของภาวะอื่นๆ แต่บางครั้งภาวะนี้ก็อาจมาจากปัญหาที่สมอง อย่างภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus) ที่จำต้องได้รับการรักษา

ภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะศีรษะโต ได้แก่

  • เนื้องอกในสมอง (Brain tumors)
  • มีเลือดออกในกะโหลกศีรษะ (Intracranial bleeding)
  • เลือดออกในสมองแบบเรื้อรัง (Chronic hematomas) และรอยโรคอื่น ๆ
  • ภาวะ Benign Extra-axial Collection หรือภาวะที่มีของเหลวในสมอง
  • กลุ่มอาการทางพันธุกรรม และภาวะระบบเผาผลาญบางชนิด
  • การติดเชื้อบางประเภท

การวินิจฉัยภาวะศีรษะโต

แพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะศีรษะโตได้จากการติดตามวัดขนาดศีรษะของทารกตามกาลเวลา ซึ่งแพทย์สามารถดำเนินการทดสอบทางประสาทวิทยาที่มีทั้งการสแกนคอมพิวเตอร์ (CT Scan) อัลตราซาวด์ (Ultrasound) หรือสแกน MRI เพื่อตรวจศีรษะและสมองให้ชัดเจนขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เนื่องด้วยภาวะศีรษะโตอาจเป็นอาการจากโรคอื่น แพทย์จึงต้องตรวจสอบว่าศีรษะของทารกมีแรงดันเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยการเพิ่มขึ้นของแรงดันในศีรษะอาจทำให้เกิดอาการฉุนเฉียว อาเจียน และปวดศีรษะ

นอกจากนี้ แพทย์อาจทำการตรวจสอบการเบ่งขึ้นของหลอดเลือดดำและปัญหาที่ดวงตา โดยจะต้องใช้การประเมินทางประสาทวิทยาเพื่อตรวจสอบระดับความรุนแรงและสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ขึ้น

การรักษาภาวะศีรษะโต

การรักษาภาวะศีรษะโตจะขึ้นอยู่กับผลการวินิจฉัย หากการทดสอบไม่พบปัญหาใดๆ และผลสแกนสมองเป็นปกติ แพทย์จะติดตามภาวะศีรษะโตของทารกไปเรื่อยๆ พร้อมกำกับให้ผู้ปกครองสังเกตภาวะต่อไปนี้

  • การบวมเป่งของจุดอ่อนนุ่มบนศีรษะเด็ก
  • การอาเจียนของเด็ก
  • ความไม่อยากอาหารหรือไม่สนใจอาหารของเด็ก
  • การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของดวงตาเด็ก
  • การนอนหลับที่มากเกินไป
  • ความฉุนเฉียวของเด็ก

3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jenna Fletcher, What to know about macrocephaly (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322473.php), July 16, 2018
Amber Erickson Gabbey and Ana Gotter, Macrocephaly (https://www.healthline.com/health/macrocephaly), November 30, 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
โรคพากินสันรพ.ไหนมีแพทธ์ผู้เชี่ยวชาญเก่งๆแนะนำบ้างค่ะ อยากถามหลายข้อค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)