การดูแลตนเองในโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

เผยแพร่ครั้งแรก 26 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การดูแลตนเองในโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

มีข้อควรปฏิบัติหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อดูแลตนเอง และมีข้อควรระวังที่คุณจำเป็นต้องระวัง เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะมีสุขภาพที่แข็งแรงหากคุณเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว

การจัดการกับอาการปวด

คุณสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดอาการปวด (sickle cell crises) ได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ คุณควรลองทำสิ่งต่างๆ เหล่านี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน การขาดน้ำจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดช่วงที่มีอาการปวด
  • หลีกเลี่ยงอุณหภูมิที่รุนแรง คุณควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพอากาศและหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิกะทันหัน เช่น การว่ายน้ำในน้ำเย็น
  • ระมัดระวังในการอยู่ในที่สูงมากๆ การขาดออกซิเจนในพื้นที่สูงอาจเป็นปัจจัยให้เกิดอาการปวด (การโดยสารเครื่องบินไม่เป็นปัญหาเพราะเครื่องบินมีการปรับความดันเพื่อรักษาระดับของออกซิเจนไว้แล้ว)
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัก ผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวควรออกกำลังกาย แต่การออกกำลังกายหนักเกินไปที่ทำให้คุณหายใจไม่ออกควรหลีกเลี่ยงจะดีที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์จะทำให้คุณขาดน้ำ และการสูบบุหรี่สามารถกระตุ้นให้เกิดปัญหาร้ายแรงที่ปอดได้ เรียกว่า acute chest syndrome
  • พยายามผ่อนคลาย ความเครียดจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้ มีหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณผ่อนคลาย เช่น การฝึกลมหายใจ

ทีมแพทย์ที่ดูแลคุณสามารถให้ความรู้และแนะนำคุณเพิ่มเติมเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นได้

และการเตรียมพร้อมสำหรับการรักษาอากรปวดที่บ้านถือเป็นความคิดที่ดี ให้คุณเตรียมยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือ ไอบูโพรเฟน ไว้ที่บ้าน และหาซื้อแผ่นให้ความร้อนมาประคบเพื่อแก้ปวดด้วย

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

คุณมักจะได้รับยาปฏิชีวนะ และได้รับคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อร้ายแรง แต่ยังมีข้อควรปฏิบัติซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้

ตัวอย่างเช่น คุณควรปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยที่ดีเกี่ยวกับอาหาร เพื่อป้องกันการเกิดอาการอาหารเป็นพิษ

  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากเข้าห้องน้ำ และก่อนการเตรียมอาหารใดๆ
  • ทำอาหารให้สุกอย่างทั่วถึง โดยอาหารที่นำมาอุ่นซ้ำ จะต้องแน่ใจว่าร้อนจนถึงตรงกลางของอาหารก่อนรับประทาน
  • เก็บอาหารอย่างเหมาะสม ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารแช่เย็นถูกเก็บในตู้เย็น และอาหารที่รับประทานไม่หมด และคุณตั้งใจจะอุ่นซ้ำ จะต้องเก็บไว้ไม่นานเกินไป

ก่อนเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเดินทาง เพราะคุณอาจจำเป็นต้องได้รับยาเพิ่มพิเศษ หรือฉีดวัคซีนเพิ่มก่อนออกเดินทาง และในการเดินทางไปต่างประเทศคุณอาจต้องระมัดระวังการรับประทานอาหารและน้ำมากกว่าปกติ

ตัวอย่างเช่น คุณเดินทางไปยังประเทศที่มีเชื้อมาลาเรีย จึงมีความสำคัญที่จะต้องรับประทานยาต้านมาลาเรียด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การตั้งครรภ์และการคุมกำเนิด

ผู้หญิงที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวสามารถตั้งครรภ์ที่แข็งแรงได้ แต่การปรึกษาแพทย์ก่อนจะเป็นแนวคิดที่ดีกว่า เพราะ:

  • อาจเป็นประโยชน์ในการตรวจเพิ่มเติมว่าคู่ของคุณเป็นพาหะของโรคนี้ด้วยหรือไม่ และปรึกษาถึงผลการตรวจที่เกิดขึ้น
  • ยารักษาโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวบางชนิด เช่น ไฮดรอกซี่ยูเรีย เป็นยาที่อันตรายต่อทารกในครรภ์ และคุณอาจจำเป็นต้องหยุดยานี้ก่อนที่จะตั้งครรภ์
  • คุณจะมีความเสี่ยงของการเกิดปัญหาต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น โลหิตจาง อาการปวดของโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว การแท้ง และภาวะครรภ์เป็นพิษระหว่างตั้งครรภ์ได้
  • คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการติดตามและรักษาเป็นพิเศษระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

หากคุณไม่ได้วางแผนจะตั้งครรภ์ คุณควรเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เชื่อถือได้

ข้อควรระวังในการผ่าตัด

นี่คือสิ่งสำคัญมากที่จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณจำเป็นต้องใช้ยาสลบ คุณควรบอกศัลยแพทย์ของคุณด้วยว่าคุณเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวอยู่

ที่เป็นเช่นนี้เพราะยาสลบสามารถทำให้เกิดปัญหากับผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวได้ และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดอาการปวดจากโรค (sickle cell crisis)

คุณอาจจำเป็นต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดระหว่างการผ่าตัด เพื่อให้แน่ใจว่าคุณได้รับสารน้ำและออกซิเจนอย่างเพียงพอ และร่างกายคุณยังอุ่นอยู่

ในบางครั้งคุณอาจจำเป็นต้องได้รับการให้เลือดก่อนเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เมื่อไรที่ต้องไปพบแพทย์

คุณจะต้องรู้ว่าเมื่อไรจะต้องไปพบแพทย์ เพราะโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวสามารถทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

อาการที่ต้องไปพบแพทย์ ได้แก่:

  • มีไข้สูง ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • มีอาการปวดรุนแรงที่ไม่ดีขึ้นด้วยการรักษาที่บ้าน
  • ปวดศีรษะรุนแรงมาก, เวียนศีรษะ หรือ คอแข็ง
  • หายใจลำบาก
  • ผิวหนังหรือริมฝีปากซีดมาก
  • ท้องบวมกะทันหัน
  • อวัยวะเพศชายแข็งตัวค้างนานมากกว่า  2 ชั่วโมง
  • สับสน ง่วงนอน หรือพูดไม่ชัด
  • ชัก
  • มีอาการอ่อนแรงด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสองด้านของร่างกาย
  • การมองเห็นผิดปกติ หรือสูญเสียการมองเห็นเฉียบพลัน

ให้รีบไปพบแพทย์ที่ดูแลคุณทันทีที่มีอาการใดๆ ดังกล่าวข้างต้น แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้เดินทางไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดแทน หากคุณไม่สามารถเดินทางไปโรงพยาบาลด้วยตนเองได้ ให้โทรสายด่วนเพื่อเรียกรถพยาบาลที่ 1669

คุณต้องแน่ใจว่าบุคลาการทางการแพทย์ที่ดูแลคุณทราบว่าคุณเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว 

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/sickle-cell-disease#self-help


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Role of Self-Care in Sickle Cell Disease. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4417084/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?
วิตามิน (Vitamins) คืออะไร?

ร่างกายของคุณต้องการวิตามินที่สำคัญถึง 13 ชนิดในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านเพิ่ม