เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาว การดูแลสุขภาพร่างกายไม่ให้ป่วยไข้เป็นสิ่งสำคัญ และมีอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือ การดูแลสุขภาพใจ เพราะในบางครั้งฤดูกาลอาจมาพร้อมกับ “โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล”
ทำความรู้จักโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder: SAD) เป็นหนึ่งในชนิดของโรคซึมเศร้า มีอาการคล้ายโรคซึมเศร้าทั่วไป แต่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูใดฤดูหนึ่งเท่านั้น และอาการจะดีขึ้นเมื่อฤดูนั้นผ่านพ้นไป
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาว ในบางครั้งจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคซึมเศร้าในฤดูหนาว (Winter Depression) มักพบในต่างประเทศมากกว่า เพราะประเทศไทยมีระยะเวลาของฤดหนาวค่อนข้างสั้น และระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนใกล้เคียงกันตลอดทั้งปี
อย่างไรก็ตาม โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลไม่ได้เกิดเฉพาะในฤดูหนาวเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดในฤดูร้อน หรือฤดูฝนได้อีกด้วย
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล เกิดจากอะไร?
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล ดังนี้
การขาดแสงแดดในฤดูหนาว
ฤดูหนาวเป็นช่วงที่มีระยะเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน ทำให้ร่างกายสัมผัสแสงแดดได้น้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของนาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) ได้ ดังนี้
- ผลิตสารเมลาโทนิน (Melatonin) เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมวงจรการนอนหลับและการตื่น ในผู้ที่มีอาการซึมเศร้า การที่ร่างกายมีระดับเมลาโทนินสูงขึ้นอาจส่งผลให้อาการซึมเศร้าแย่ลงได้
- ผลิตเซโรโทนิน (Serotonin) น้อยลง เนื่องจากแสงแดดมีส่วนช่วยในการสังเคราะห์เซโรโทนิน โดยการที่ร่างกายมีระดับเซโรโทนินลดลงจะส่งผลให้นอนไม่หลับ เกิดความเครียด รู้สึกวิตกกังวล หรืออยากอาหารเพิ่มขึ้น
ระดับฮอร์โมนในร่างกายมีผลต่อการทำงานของร่างกายในหลายๆ ด้าน ฮอร์โมนบางชนิดมีมากไปก็ไม่ดี บางชนิดมีน้อยไปก็ไม่ดี
หากสงสัยว่า ระดับฮอร์โมนในร่างกายของเรามีระดับเท่าไหร่กันบ้าง ควรเสริมอะไร หรือควรลดอะไร ปัจจุบันโรงพยาบาลหลายแห่งก็มีบริการตรวจระดับฮอร์โมนในร่างกายแล้ว หรือหากต้องการตรวจระดับวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ในร่างกายก็มีบริการเช่นกัน
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
พันธุกรรม
ผู้ที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลมากกว่าคนทั่วไป
ปัจจัยทางร่างกาย
ในบางครั้งโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลอาจเกิดจากสารสื่อประสาท หรือสารเคมีในสมองเสียสมดุล ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้ แม้ว่าจะไม่มีความเครียดใดๆ เลยก็ตาม
นอกจากนี้ในผู้ที่มีภาวะซึมเศร้า หรือโรคอารมณ์สองขั้วอยู่แล้ว ก็อาจมีอาการแย่ลงในบางฤดูกาลได้
อาการของโรคซึมเศร้า เป็นอย่างไร?
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลคล้ายกับโรคซึมเศร้าทั่วไป แต่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูกาลใดฤดูกาลหนึ่งเท่านั้น ดังนี้
- รู้สึกหดหู่ หรือซึมเศร้า เกือบทุกวัน หรือทุกวัน ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- รู้สึกไม่มีความสุข หรือไม่มีความสนใจในการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยชอบทำ
- รู้สึกหงุดหงิด สิ้นหวัง รู้สึกผิด หรือรู้สึกไร้ค่า
- รู้สึกเซื่องซึม อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ง่วงนอนในระหว่างวัน
- มีปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น นอนหลับนานกว่าปกติ หรือตื่นนอนในตอนเช้ายากกว่าปกติ
- มีการเปลี่ยนแปลงด้านความอยากอาหาร รวมถึงน้ำหนักตัว
- รู้สึกเฉื่อยชา หรือกระสับกระส่าย
- มีปัญหาในการจดจ่อ
- มีความคิดที่จะตาย หรืออยากฆ่าตัวตาย
อาการที่พบบ่อยของโรคซึมเศร้าในฤดูหนาว ได้แก่
- นอนหลับมากกว่าปกติ
- อยากรับประทานคาร์โบไฮเดรต หรือของหวานเพิ่มมากขึ้น
- น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น
- รู้สึกเหนื่อยล้า หรืออ่อนเพลีย
อาการที่พบบ่อยของโรคซึมเศร้าในฤดูร้อน ได้แก่
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- นอนไม่หลับ
- รู้สึกไม่อยากอาหาร
- น้ำหนักลดลง
- รู้สึกวิตกกังวล
หากมีอาการดังกล่าวติดต่อกัน 1-2 สัปดาห์ หรือมีอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน การทำงาน หรือการเข้าสังคม ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ และเข้ารับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม
แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
สถาบันแห่งชาติเพื่อความเป็นเลิศด้านสุขภาพและการแพทย์ ประเทศอังกฤษ (National Institute for Health and Care Excellence : NICE) แนะนำว่า แนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล ควรเป็นไปในลักษณะเดียวกับโรคซึมเศร้าประเภทอื่นๆ ดังนี้
- การรักษาด้วยยา เช่น ยาต้านอาการซึมเศร้า (Selective serotonin reuptake inhibitors: SSRIs) ออกฤทธิ์โดยการช่วยให้เพิ่มระดับเซโรโทนินในสมอง
- การรักษาทางจิตใจโดยจิตแพทย์ มีหลายเป้าหมาย เช่น ปรับความคิดและพฤติกรรม ปรับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือทำจิตบำบัดเชิงลึก เพื่อช่วยให้เข้าใจปมขัดแย้งที่อยู่ในจิตใจจนนำมาสู่โรคซึมเศร้าได้
- การบำบัดด้วยแสง โดยใช้หลอดไฟชนิดพิเศษที่เรียกว่า "กล่องไฟ (Light box)" เพื่อจำลองการสัมผัสกับแสงแดด แต่ควรใช้ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สัมผัสแสงแดดในยามเช้ามากเท่าที่จะเป็นไปได้ นั่งใกล้หน้าต่าง ออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด
การป้องกันโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
แม้จะไม่สามารถป้องกันโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้ทั้งหมด แต่การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงก็ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคนี้ได้ ดังนี้
- หมั่นไปรับแสงแดดยามเช้าเป็นเวลา 30-60 นาที เพื่อเพิ่มการหลั่งเซโรโทนิน ช่วยให้รู้สึกสดชื่น กะปรี้กะเปร่า และป้องกันโรคซึมเศร้าได้ด้วย
- รับประทานอาหารที่มีทริปโตเฟน (Tryptophan) ที่เป็นสารตั้งต้นของเซโรโทนิน มีส่วนช่วยในการนอนหลับ ลดอาการซึมเศร้า บรรเทาอาการไมเกรน และความเครียด เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ นม อาหารทะเล งา เมล็ดทานตะวัน ข้าวโอ๊ต ช็อกโกแล็ต อินทผลัมแห้ง กล้วย สาหร่าย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายเป็นประจำ วันละ 30-40 นาที จะช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินในร่างกาย เพิ่มระดับทริปโตเฟน และช่วยให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานเป็นปกติ
- บำบัดความเครียดเป็นประจำ โดยการทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด เช่น การดูหนัง ฟังเพลง หรือเข้ารับคำปรึกษากับจิตแพทย์
ฝนตก หรืออากาศหนาว อาจนำมาซึ่งโรคซึมเศร้าตามฤดูกาลได้โดยไม่รู้ตัว แต่ไม่ว่าจะอยู่ในฤดูกาลใดก็ตาม หากคุณรู้สึกเครียด กังวล หงุดหงิด หรือรู้สึกซึมเศร้า การขอคำปรึกษากับจิตแพทย์จะช่วยให้รับมือกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ แม้จะไม่ใช่อาการที่เกิดจากโรคซึมเศร้าก็ตาม
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิตกับจิตแพทย์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android