การรักษาภาวะเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก (Tennis Elbow)

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การรักษาภาวะเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอก (Tennis Elbow)

โรคเอ็นอักเสบข้อศอกด้านนอกนั้นเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อที่แขนส่วนล่างที่ติดกับข้อศอก ส่วนมากนั้นเกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ extensor carpi radialis brevis

โรคนี้นั้นเป็นบาดเจ็บจากการใช้งานที่มากเกินไปที่เกิดจากการทำกิจกรรมซ้ำๆ ถึงแม้ว่าจะพบได้บ่อยในนักกีฬาที่เล่นกีฬาที่ใช้แร๊กเก็ต แต่ก็ยังพบได้ในช่างทาสี ช่างไม้ และช่างประปา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อาการที่มักจะพบในผู้ที่มีภาวะนี้ประกอบด้วยอาการปวดและแสบที่บริเวณตำแหน่งข้อศอกด้านนอกและแรงจับของมือนั้นลดลง อาการจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะค่อยๆ แย่ลงโดยใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน 

วิธีการรักษาที่ไม่ต้องผ่าตัดนั้นประกอบด้วย

  • การพักการใช้งาน
  • การประคบเย็น
  • การใช้ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs
  • ออกกำลังกาย
  • การใช้คลื่นเสียงความถี่สูง
  • การใส่เฝือกอ่อนช่วยพยุง
  • การฉีดสเตียรอยด์

ขั้นแรกของการรักษาภาวะนี้ก็คือการลดการอักเสบและให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่มีการอักเสบนั้นได้พัก การประคบเย็นนั้นอาจจะช่วยลดการอักเสบและอาการปวดได้ เมื่อการอักเสบนั้นลดลงแล้ว คุณก็สามารถเริ่มออกกำลังกายเบาๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อของแขนส่วนล่างและป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ในระหว่างนี้อย่าลืมปรึกษาแพทย์หรือนักบำบัดเพื่อดูว่าจะพร้อมออกกำลังกายบำบัดได้เมื่อไหร่

การกำมือ

การที่มีแรงจับที่มือลดลงนั้นเป็นอาการที่พบได้บ่อยของภาวะนี้ คุณสามารถเพิ่มความแข็งแรงของแรงจับนี้ได้โดยการสร้างกล้ามเนื้อที่แขนส่วนล่างเพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ

อุปกรณ์ที่ต้องการ : โต๊ะและผ้าขนหนู

กล้ามเนื้อที่ใช้งาน : long flexor tendons ของนิ้วมือและนิ้วโป้ง

  1. นั่งที่โต๊ะโดยให้แขนส่วนล่างนั้นวางพักไว้ที่โต๊ะ
  2. จับผ้าขนหนูที่ม้วนหรือลูกบอลลูกเล็กๆ ไว้ในมือ
  3. บีบผ้าขนหนูในมือค้างไว้ 10 วินาที
  4. ปล่อยและทำซ้ำ 10 ครั้งก่อนเปลี่ยนไปทำที่แขนอีกข้างหนึ่ง

การหงายมือด้วยลูกตุ้มน้ำหนัก

กล้ามเนื้อ supinator นั้นเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่แขนส่วนล่างที่ติดกับข้อศอกและทำหน้าที่หงายมือขึ้นและมักจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวที่ส่งผลให้เกิดภาวะเอ็นข้อศอกด้านข้างอักเสบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อุปกรณ์ที่ใช้ : โต๊ะและลูกตุ้มน้ำหนักขนาด 2 ปอนด์

กล้ามเนื้อที่ใช้งาน : Supinator muscle

  1. นั่งที่เก้าอี้และถือลุกตุ้มหนัก 2 ปอนด์ไว้ในแนวตั้งโดยให้ข้อศอกนั้นวางอยู่บนเข่า
  2. ให้น้ำหนักของลูกตุ้มช่วยหมุนแขนออกด้านนอกและหงายฝ่ามือขึ้น
  3. หมุนแขนกลับไปในทิศทางตรงกันข้ามจนกระทั่งคว่ำฝ่ามือ
  4. ทำซ้ำ 20 ครั้งที่แขนทั้ง 2 ข้าง
  5. พยายามคุมให้แขนส่วนบนและข้อศอกอยู่กับที่เพื่อเคลื่อนไหวเฉพาะแขนส่วนล่าง

การกระดกข้อมือ

กล้ามเนื้อกลุ่มที่กระดกข้อมือนั้นเป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ ที่ต่อเข้ากับข้อศอกและมักจะเป็นกล้ามเนื้อที่มีการใช้งานมากเกินไปโดยเฉพาะเวลาที่เล่นกีฬาที่ใช้ไม้แร๊กเก็ต

อุปกรณ์ที่ใช้ : โต๊ะและลูกตุ้มขนาด 2 ปอนด์

กล้ามเนื้อที่ใช้ : กล้ามเนื้อกลุ่มที่กระดกข้อมือ

  1. นั่งที่เก้าอี้โดยถือลุกตุ้มหนัก 2 ปอนด์โดยให้ฝ่ามือนั้นคว่ำลง วางข้อศอกไว้บนเข่า
  2. ในขณะที่ฝ่ามือยังคว่ำอยู่นั้น ให้ค่อยๆ กระดกข้อมือขึ้น หากยากเกินไป ให้ลองทำท่านี้โดยที่ไม่มีลูกตุ้ม
  3. กลับไปยังท่าเริ่มต้นและทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง

พยายามใช้เฉพาะข้อมือ โดยให้แขนทั้งแขนนั้นอยู่กับที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การกระดกข้อมือลง

กล้ามเนื้อที่กระดกข้อมือลงนั้นจะทำงานตรงกันข้ามกับกล้ามเนื้อที่กระดกข้อมือขึ้น กล้ามเนื้อมัดเล็กๆ เหล่านี้มีส่วนที่ติดกับข้อศอกและมักจะเป็นกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานมากและทำให้เกิดอาการปวดและการอักเสบเช่นกัน

อุปกรณ์ที่ใช้ : โต๊ะ และลูกตุ้มน้ำหนัก 2 ปอนด์

กล้ามเนื้อที่ใช้ : กล้ามเนื้อกลุ่มที่กระดกข้อมือลง

  1. ให้นั่งที่เก้าอี้โดยถือลูกตุ้มน้ำหนักไว้ในมือโดยให้ฝ่ามือนั้นหงายขึ้นและวางข้อศอกไว้อยู่บนเข่า
  2. ค่อยๆ กระดกข้อมือเข้าหาตัว โดยให้ฝ่ามือนั้นหงายอยู่ตลอด
  3. กลับไปในท่าเริ่มต้นและทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง

พยายามใช้เฉพาะข้อมือโดยให้แขนทั้งหมดนั้นอยู่กับที่

การบิดผ้าขนหนู

อุปกรณ์ที่ใช้ : ผ้าขนหนูเช็ดมือ

กล้ามเนื้อที่ใช้ : กล้ามเนื้อกลุ่มที่กระดกข้อมือขึ้นและลง

ให้นั่งที่เก้าอี้และใช้ 2 มือจับผ้าขนหนู ปล่อยไหล่สบายๆ

  1. บิดผ้าขนหนูโดยให้มือทั้ง 2 ข้างนั้นเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ตรงกันข้ามกันเหมือนกับเวลาบิดผ้า
  2. ทำซ้ำ 10 ครั้งก่อนที่จะทำอีก 10 ครั้งในทิศทางที่ตรงกันข้าม

คำเตือน

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย เพื่อให้แพทย์ประเมินว่ามีการบาดเจ็บที่รุนแรงเช่นกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นฉีกขาดหรือไม่

อย่าเริ่มกิจกรรมเหล่านี้จนกว่าการอักเสบนั้นจะลดลง เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้อาการนั้นรุนแรงขึ้นได้ หากมีอาการปวดหลังจากที่ทำ ให้พักและประคบน้ำแข็งที่ข้อศอกและแขนส่วนล่างก่อนปรึกษานักกายภาพบำบัดเพื่อให้แน่ใจว่าทำท่าทางถูกต้องหรือไม่

โดยปกติแล้ว การเปลี่ยนวิธีการทำกิจวัตรประจำวันนั้นสามารถลดอาการได้ และนักกายภาพบำบัดสามารถช่วยระบุได้ว่าท่าไหนที่จะทำให้เกิดอาการปวด

สรุป

หากคุณมีเส้นเอ็นด้านนอกข้อศอกอักเสบในอดีตหรือกำลังฟื้นตัว สามารถลองใช้การออกกำลังกายเหล่านี้เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อที่แขนส่วนล่าง การเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและหลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวซ้ำๆนั้นสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคนี้ซ้ำได้ในอนาคต


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Natasha Freutel, 5 Exercises for Tennis Elbow Rehab (https://www.healthline.com/health/fitness-exercise/tennis-elbow-rehab), May 3, 2016
Bethany Cadman, Eight exercises for tennis elbow (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322746.php), August 13, 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง

หลากหลายวิธีเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้อง

อ่านเพิ่ม
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม