สาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกหนาวตลอดเวลา

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สาเหตุที่ทำให้คุณรู้สึกหนาวตลอดเวลา

คุณมีธาตุเหล็กต่ำ

หากมือและเท้าของคุณรู้สึกเย็นตลอดเวลา อาจจะแสดงว่าคุณมีภาวะซีดที่เกิดจากการขาดธาตุเหล็กได้ เม็ดเลือดแดงนั้นต้องการธาตุเหล็กในการขนส่งออกซิเจนในเลือดดังนั้นหากมีธาตุเหล็กในปริมาณต่ำก็อาจทำให้เกิดความผิดปกติได้ การที่มีมือและเท้าเย็นนั้นเกิดจากการที่ร่างกายนั้นปรับการไหลเวียนของเลือดให้ไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญก่อนเช่นหัวใจและสมอง ธาตุเหล็กนั้นสามารถพบได้มากที่สุดในเนื้อสัตว์ และผักใบเขียว และเพื่อให้สามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชได้ดีควรรับประทานร่วมกับอาหารที่มีวิตามินซีสูงเช่นพริกแดง

คุณต้องการวิตามินบี 12

บางคนอาจจะเข้าใจว่าตัวเองต้องการธาตุเหล็กทั้งที่ความจริงแล้วต้องการวิตามินบี 12 ภาวะซีดจากการขาดวิตามินบี 12 นั้นสามารถทำให้เกิดอาการเย็น ชาที่ปลายมือปลายเท้าและมีพลังงานต่ำได้ วิตามินบี 12 นั้นพบได้ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดังนั้นผู้ที่รับประทานมังสวิรัติจึงมักจะมีปัญหารับประทานได้ไม่เพียงพอ โดยมักพบในไข่ โยเกิร์ตและชีส

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณเป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์

เมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนออกในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อควบคุมกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย คุณอาจจะรู้สึกหนาวตลอดเวลาได้ หากคุณมีอาการอื่นๆ ที่แสดงถึงความผิดปกติของไทรอยด์เช่นผมร่วงหรือท้องผูก ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเลือด

คุณมีน้ำหนักตัวน้อย

การมีน้ำหนักตัวน้อยนั้นจะทำให้คุณรู้สึกหนาวได้จาก 2 สาเหตุ สาเหตุแรกก็คือไขมันนั้นทำหน้าที่ช่วยเก็บความร้อน ดังนั้นการมีไขมันน้อยจึงมักแสดงว่าคุณสามารถรักษาความร้อนได้ไม่ดี นอกจากนั้นการที่มีพลังงานน้อยก็จะทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายเกิดได้ช้า ทำให้ร่างกายไม่มีพลังงานที่จะใช้เพิ่มความอบอุ่น หากคุณกำลังพยายามเพิ่มน้ำหนัก ให้เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันชนิดที่ดีต่อสุขภาพเช่นเนยถั่ว โยเกิร์ตแบบกรีก และผลไม้แห้ง

คุณนอนไม่พอ

ถึงแม้ว่าผลที่ได้จากงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการนอนหลับและการรู้สึกหนาวนั้นจะได้ผลที่หลากหลาย แต่การที่คุณอ่อนเพลียเรื้อรังนั้นก็ทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายเกิดขึ้นได้ช้าลง ทำให้คุณรู้สึกหนาวได้ นอกจากนั้นอุณหภูมิในร่างกายนั้นยังมีการแกว่งขึ้นลงในช่วงกลางคืนและร่างกายอาจจะเคยชินกับการแกว่งดังกล่าว เมื่อคุณนอนดึกกว่าปกติ อุณหภูมิในร่างกายของคุณก็อาจจะลดลงเหมือนในวันอื่นๆ ที่คุณนอนหลับไปแล้วได้

คุณขาดน้ำ

เมื่อร่างกายนั้นไม่ได้รับน้ำเพียงพอ จะทำให้เลือดนั้นไหลเวียนได้ไม่ดี น้ำยังช่วยกักเก็บความร้อน ดังนั้นการที่มีภาวะขาดน้ำจึงจะทำให้ร่างกายไม่ได้ประโยชน์จากข้อนี้ ดังนั้นคุณจึงควรตั้งเป้าในการดื่มน้ำไว้ให้อยู่ที่ครึ่งหนึ่งของน้ำหนักตัวในหน่วยออนซ์ใน 1 วัน

คุณอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานอาจทำให้เกิดการทำลายเส้นประสาทส่วนปลายได้ ทำให้คุณเกิดอาการหนาว ปวด หรือร้อนได้โดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องจากมีการส่งสารจากเท้าหรือมือไปยังสมองที่ผิดพลาด

คุณรับประทานไขมันไม่เพียงพอ

ไขมันนั้นจะช่วยให้คุณอิ่มท้องและทำให้อุ่น อาหารที่มีไขมันต่ำที่เปลี่ยนอะโวคาโด และถั่วต่างๆ ออกและใส่ของเย็นๆ เช่นผลไม้ และน้ำผลไม้นั้นอาจทำให้คุณรู้สึกเย็นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณกำลังเกิดปรากฏการณ์ Raynaud’s phenomenon

มีคนจำนวนหนึ่งที่อาจเกิดภาวะ Raynaud’s phenomenon ได้ซึ่งทำให้เส้นเลือดแดงที่บริเวณมือ เท้าและใบหน้านั้นตับ และเมื่อสัมผัสกับอากาศหนาวก็จะยิ่งทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังบริเวณดังกล่าวนั้นแย่ลงและทำให้รู้สึกหนาวที่บริเวณดังกล่าวได้

คุณมีการไหลเวียนเลือดที่ไม่ดี

หากบริเวณส่วนปลายของร่างกายคุณเย็นแต่ไม่ได้เกิดจากโรคเรื้อรัง มันอาจจะเกิดจากการที่คุณมีการไหลเวียนเลือดที่ไม่ดี ลองออกกำลังกายเป็นประจำหรือฝังเข็มเพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด

คุณมีกล้ามเนื้อไม่เพียงพอ

กล้ามเนื้อจะสร้างความร้อนและทำให้ร่างกายอบอุ่น ดังนั้นอย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำ

คุณเป็นผู้หญิง

มีงานวิจัยพบว่าแม้ว่าอุณหภูมิกลางกายของผู้หญิงนั้นมักจะอุ่นกว่าผู้ชายเล็กน้อย แต่บริเวณมือของผู้หญิงนั้นจะเย็นกว่าผู้ชาย มันอาจจะไม่ได้ต่างกันมากนักแต่อาจจะสามารถอธิบายได้ว่าทำไมผู้หญิงถึงไวต่อความรู้สึกเย็นมากกว่า


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป