ลิ้นสีม่วง ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ สื่อถึงโรคร้ายอะไรบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ลิ้นสีม่วง ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ สื่อถึงโรคร้ายอะไรบ้าง

หลายคนอาจเคยได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับอาการ ลิ้นสีม่วง กันมาบ้างแล้วว่าพบมากในสุนัขและแมว และคร่าชีวิตเจ้าสัตว์เลี้ยงเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็วมาก แต่คุณทราบหรือไม่ว่าลิ้นสีม่วงนี้เกิดขึ้นกับมนุษย์อย่างเราได้เช่นกัน อีกทั้งยังน่าเป็นห่วงไม่มากไม่น้อยไปกว่ากันเลยทีเดียว

ลักษณะและอาการ

อาการลิ้นสีม่วงนี้ไม่ใช่โรค แต่เป็นเพียงลักษณะชนิดหนึ่งที่บ่งบอกว่ามีโรคร้ายกำลังคืบคลานเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งลักษณะหลักๆของลิ้นสีม่วงนั้นก็เป็นไปตามชื่อเรียก คือ...

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

สี: ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีม่วง บ้างก็เป็นสีม่วงเข้ม สีม่วงแดง สีม่วงน้ำเงิน หรือสีม่วงดำ

ตำแหน่ง: บริเวณที่เปลี่ยนสีอาจเป็นด้านข้างของลิ้น ใต้ลิ้น (รวมไปถึงเส้นเลือดที่ใต้ลิ้น) โคนลิ้น ปลายลิ้น หรือหลายๆตำแหน่งรวมกันจนทั่วทั้งลิ้นกลายเป็นสีม่วง

อาการ: ผู้ที่มีลิ้นเปลี่ยนเป็นสีม่วงมักจะรู้สึกเจ็บที่ลิ้นและลิ้นบวม และอาจมีอาการอื่นๆที่ไม่ได้เกิดขึ้นกับลิ้นรวมอยู่ด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือโรคที่ทำให้ลิ้นเปลี่ยนสี

ตามสถิติแล้ว อาการลิ้นสีม่วงไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและวัย ไม่เว้นแม้แต่ทารก ซึ่งการที่ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีม่วงนี้เป็นตัวชี้วัดชั้นดีเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพมากมายที่คุณไม่ควรไม่ข้าม

[caption id="" align="alignnone" width="680"] ลิ้นคุณสีอะไร ?[/caption]

สาเหตุและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง

สีของลิ้นนั้นบ่งบอกถึงการทำงานของร่างกายได้เป็นอย่างดี เมื่อลิ้นเปลี่ยนเป็นสีม่วงเองและไม่ได้เกิดจากการสัมผัสสีจากอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้พึงระวังไว้ว่าสาเหตุนั้นอาจมีความเกี่ยวโยงกับปัญหาสุขภาพดังต่อไปนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. ปัญหาการหมุนเวียนเลือด

ลิ้นที่เปลี่ยนเป็นสีม่วงอาจเกิดจากการหมุนเวียนเลือดทั่วไปในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นผลกระทบจากโรคหรืออาการแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น หลอดเลือดแดงตีบหรืออุดตัน เลือดแข็งตัว เส้นเลือดขอด โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคนิ้วมือชาและโรคหัวใจ หากอาการลิ้นสีม่วงนี้เกิดจากปัญหาการหมุนเวียนเลือด ผู้ป่วยมักจะมีอาการตัวชา ตัวสั่น ปวดเมื่อยร่างกาย และกล้ามเนื้อเป็นตะคริว

2. โรคหลอดลมอักเสบ

หากลิ้นและเส้นเลือดที่ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้มหรือม่วงน้ำเงิน สาเหตุมักมาจากโรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งทำให้กระบวนการผลิตออกซิเจนในเลือดร่างกายทำให้ผิดปกติ อาการอื่นๆที่พบร่วมกับอาการลิ้นม่วงคือการหายใจดัง หายใจไม่สะดวก ไอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน มีเสมหะ และบางครั้งอาจมีอาการเจ็บที่หน้าอกรวมอยู่ด้วย

3. การขาดสารอาหาร

อีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีม่วงก็คือการขาดวิตามิน B12 หรือ สารไรโบฟลาวิน (riboflavin) หรือที่เรียกกันว่าวิตามิน B2 เมื่อขาดสารอาหารเหล่านี้ ลิ้นจะมีสีม่วงแดง อีกทั้งยังมีอาการเจ็บคอ และมีริมฝีปากแห้งรวมอยู่ด้วย นอกจากการขาดสารอาการเนื่องจากการบริโภคสารอาหารไม่ครบถ้วนแล้ว การขาดสารอาหารอาจเป็นผลมาจากการท้องเสียเรื้องรังอีกด้วย

นอกจากปัญหาสุขภาพที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว การที่ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีม่วงนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆได้อีกด้วย เช่น การบาดเจ็บจากเจาะลิ้น (ซึ่งสีม่วงนั้นอาจมาจากการช้ำ หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อ) ความผิดปกติของระบบย่อยอาหาร ความผิดปกติของระบบน้ำเหลือง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง อันเนื่องมาจากโรคเอดส์ หรือเบาหวาน การมีแบคทีเรียอยู่มากที่บริเวณลิ้น และการสูบบุหรี่


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Purple Tongue: What Purplish or Bluish Spots on Your Tongue Mean. Healthline. (https://www.healthline.com/health/purple-tongue)
What Your Tongue Can Tell You About Your Health. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/what-your-tongue-can-tell-you-about-your-health/)
3 colors your tongue should not be. (2016). (https://health.clevelandclinic.org/3-colors-tongue-not-infographic/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)