โรคจิต กับ โรคประสาท มีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างไร ?

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
โรคจิต กับ โรคประสาท มีพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างไร ?

หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า บ้า จนคุ้นหู ความหมายคงแปลว่า เป็นโรคจิต หรือโรคประสาท แล้วรู้ไหมว่า คำว่า "โรคจิต" และ "โรคประสาท" สองคำนี้มันต่างกันอย่างไร

รับรู้แห่งความจริงต่างกัน

โรคประสาทจะมี แต่โรคจิตไม่มี กล่าวคือ ผู้ป่วยโรคประสาทดำรงอยู่ในสังคมและปฏิบัติตัวกับสิ่งเร้าที่มาสนองได้ตามปกติ ส่วนผู้ป่วยโรคจิตไม่รับรู้ตัว บางรายเดินร้องไห้ หัวเราะหรือ แก้ผ้าในที่สาธารณะ อย่างไม่อาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี

เรื่องศีลธรรมอันดี ผู้ป่วยโรคจิต ไม่มีและ มีการปฏิบัติผิดกฎหมาย แบบน่าอายเป็นต้นว่า ขโมยชุดชั้นในสตรี โชว์ของลับในที่สาธารณะ รวมทั้งการฆ่าคนแบบวิธีพิสดาร เพราะความไม่รู้สึกตัว ไม่มีความละอายชั่วกลัวบาป ส่วนใหญ่จะต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจิตเวช ส่วนผู้ป่วยโรคประสาทไม่กล้าทำ

พฤติกรรม อาการแสดง

ผู้ป่วยโรคประสาท จะมีอาการกังวลใจ กลัว ย้ำคิดย้ำทำ อาการที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมแค่เพียงซึมเศร้าลง ส่วนผู้ป่วยโรคจิต สูญเสียเรื่องการจัดการกิจวัตรประจำวัน กล่าวคือ ไม่อาบน้ำ ไม่แต่งตัว เดินไปไหนมาไหนแบบไม่รู้สึกตัว จนญาติต้องนำไปรักษาตัว

อย่างไรก็ตาม ทั้งโรคจิตและโรคประสาทล้วนทำให้คุณภาพชีวิต และการทำงานลดลง ผู้ป่วยทรมานจากอาการที่อยู่ในใจ จนบางรายคิดสั้นฆ่าตัวตาย หรือกาออาชญากรรมออกมา

เรื่องของอาการผิดปกติทางจิตนั้น เกิดจากการเสียสมดุลของสามส่วนดังนี้

  1. อิด คือ สิ่งที่อยู่ในใจ และการแสดงออกเพื่อสนองความพอใจ ของตนเท่านั้น เช่นความหิว เรียกว่าสัญชาตญาณ
  2. อีโก้ คือการมีเหตุผลของการกระทำ ความต้องการการยอมรับในสังคม
  3. ซุปเปอร์อีโก้ คือ จริยธรรม คุณธรรม ความรับผิดชอบ ศีลธรรมอันดี

เมื่อใดก็ตามทั้งสามเกิดไม่สมดุลย์ กล่าวคือมีอิดเกิดขึ้นพร้อมกับซุปเปอร์อีโก้ แต่ อีโก้ควบคุมไม่ได้ จนทำให้อิดมากกว่า ก็จะเกิดโรคจิต ประสาทตามมา

ดังนั้นเมื่อเข้าใจกลไก การเกิดโรคจิตและประสาทแล้ว การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันที่มีแต่ความเครียด กดดัน จากการทำงาน การดิ้นรนเอาตัวรอด ปัญหาปากท้อง การแข่งขัน แก่งแย่งชิงดี อิจฉาริษยานั้น ควรจะรักษาสุขภาพจิตและพิจารณาบุคลิกภาพของตน จากปฏิกิริยาคนรอบข้างตลอดเวลา เมื่อใดที่ผิดปกติก็จะต้องพิบจิตแพทย์ก่อนที่จะสายเกินไป


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Neurotic Behavior (Neurosis): Symptoms, Causes, and Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/mental-health/neurotic-behavior-overview#1)
A to Z: Mental Disorder, Non-psychotic (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/Nemours/en/parents/az-mental-nonpsychotic.html)
Normalcy, Neurosis and Psychosis: What Is a Mental Disorder?. Psychology Today. (https://www.psychologytoday.com/us/blog/evil-deeds/201003/normalcy-neurosis-and-psychosis-what-is-mental-disorder)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)