การหลีกเลี่ยงการถูกยุงที่มีเชื้อซิก้ากัด

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การหลีกเลี่ยงการถูกยุงที่มีเชื้อซิก้ากัด

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีในการรักษาการติดเชื้อซิก้าซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะและทำให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงโรคนี้ก็คือการป้องกันไม่ให้ตัวเองถูกยุงกัด ต่อไปนี้เป็น 6 วิธีที่จะช่วยป้องกันคุณจากยุงที่มีเชื้อซิก้า

1.เลือกยากันยุงที่เหมาะสม

แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ DEET, น้ำมันของเลมอนยูคาลิปตัส, picaridin หรือ IR 3535

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

DEET เป็นส่วนผสมที่ถือว่าเป็นมาตรฐาน ยากันยุงทุกชนิดที่จะต้องได้รับการทดสอบประสิทธิภาพเทียบกับ DEET

ในช่วงแรกที่ผลิตภัณฑ์ที่มี DEET นั้นวางขาย ได้มีความกังวลเกิดขึ้นเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยเนื่องจากมีผู้สงสัยว่ามันอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหาทางระบบประสาท งานวิจัยเมื่อปี 2014 ได้ทำการศึกษาและพบว่าไม่มีหลักฐานที่แสดงว่า DEET นั้นทำให้เกิดผลข้างเคียงในแง่ลบ แต่ก็ยังไม่ได้มีการศึกษาผลข้างเคียงในระยะยาว งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งนั้นได้ทำการศึกษาผลของ DEET ในหญิงตั้งครรภ์ที่พ้นช่วงไตรมาสที่ 1 และพบว่าทารกหลังคลอดในกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้นั้นไม่มีความแตกต่างในแง่ของน้ำหนัก ส่วนสูง ขนาดศีรษะ ความยาวแขน หรืออาการทางระบบประสาท

ในปัจจุบันซิก้าได้ทำให้ทารกมีศีรษะเล็กแต่กำเนิดหลายพันคน ซึ่งมากกว่าความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ยากันยุงแน่นอน

สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง : ไม่แนะนำให้ใช้ยากันยุงที่ไม่ผ่านการทดสอบ เช่นน้ำมัน citronella, น้ำมัน cedar, น้ำมันดอกเจอเรเนียม น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์, น้ำมันเลมอนยูคาลิปตัสบริสุทธิ์ (น้ำมันหอมระเหยนั้นไม่ได้มีฤทธิ์เป็นยากันยุง) และน้ำมันถั่วเหลือง

2.ทาให้ถูกต้อง

การทายากันยุงนั้นต้องทาหลังจากที่ทาครีมกันแดด (ไม่เช่นกันครีมกันแดดจะบดบังฤทธิ์ของยากันยุง) อย่าทายากันยุงใต้ร่มผ้าเพราะมันจะไม่ระเหย และอาจจะสะสมอยู่ภายในเนื้อผ้า หลีกเลี่ยงการทาบริเวณผิวหนังที่มีแผล

ที่สำคัญก็คืออย่าลืมทาที่เท้าและข้อเท้า ยุงพันธุ์ Aedes ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อซิก้านั้นชื่นชอบเท้าเป็นพิเศษ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในเด็ก ให้ทายากันยุงลงบนมือของคุณก่อนนำไปทาให้เด็ก หลีกเลี่ยงบริเวณตา ปาก และหู อย่าใช้ยากันยุงที่มีความเข้มข้นของ DEET มากกว่า 30% ไม่ควรใช้น้ำมันของเลมอนยูคาลิปตัสในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี (เนื่องจากยังไม่มีการทดสอบในเด็กเล็ก) และไม่ควรใช้ในเด็กทารกที่มีอายุน้อยกว่า 2 เดือน (ให้ใช้มุ้งกันยุงแทน)

ทาซ้ำตามคำแนะนำบนผลิตภัณฑ์ ส่วนมากมักจะไม่ต้องทาซ้ำบ่อยเท่ากับการทาครีมกันแดด

3.ป้องกันยุงกัดด้วยเสื้อผ้า

การใส่กางเกงและเสื้อแขนยาวนั้นสามารถช่วยป้องกันยุงกัดได้ โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่มีสาร permethrin ซึ่งเป็นการกำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร permethrin นั้นมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก

เนื่องจากยุงสายพันธุ์ Aedes นั้นชื่นชอบเท้าเป็นพิเศษ ดังนั้นคุณจึงควรใส่รองเท้าที่ปิดเท้าทั้งหมด (ไม่ใช่รองเท้าสาน) รวมทั้งถุงเท้า ยุงสามารถกัดผ่านกางเกงยืดได้ ดังนั้นการใส่เสื้อผ้าที่ผ้าหนาขึ้นนั้นจะช่วยป้องกันได้ดีกว่า คุณสามารถป้องกันศีรษะได้ด้วยหมวกและแว่นกันแดด

4.จัดบ้าน

ยุงนั้นจะมีช่วงที่จำศีลในหน้าหนาว แต่เมื่ออุณหภูมิอุ่นขึ้นถึง 50-60 องศาฟาเรนไฮต์ ยุงก็จะเริ่มปรากฏตัวอีกครั้งและแพร่เชื้อ ยุง Aedes นั้นหาอาหารในระหว่างวันและบินไปทั่วบ้านเพื่อหาบริเวณที่มืดเพื่ออาศัยและสืบพันธุ์ในบริเวณที่ใกล้กับมนุษย์

น้ำเพียง 1 ช้อนโต๊ะนั้นสามารถกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงได้ถึง 300 ตัว ยุงและแมลงยังสามารถเพาะพันธุ์ที่ก้นแก้วในห้องน้ำ (เช่นแก้วที่คุณใช้ใส่แปรงสีฟัน) หรือน้ำที่อยู่ข้างอ่าง ให้ทำการกำจัดแหล่งน้ำทั่วบ้านเช่นกระถางต้นไม้ ขวด และกองขยะ

หากคุณมีสระว่ายน้ำ คุณไม่จำเป็นต้องปล่อยน้ำออก ยุงมักจะหนีคลอรีนที่ทำให้สระว่ายน้ำสะอาดและปลอดภัย

5.ออกกำลังกายในร่ม

ยุงนั้นชื่นชอบก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และความร้อน และร่างกายของคุณก็ปล่อยทั้ง 2 สิ่งออกมาตามธรรมชาติ โดยเฉพาะเวลาที่คุณออกกำลังกาย

6.เดินทางอย่างฉลาด

วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงเชื้อซิก้าก็คือการหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีการติดเชื้อ ควรหาข้อมูลการระบาดของเชื้อก่อนเดินทาง หากคุณกำเป็นต้องไป ให้อยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือนอนในมุ้งหากในห้องมียุง และใช้ยากันยุงสม่ำเสมอ หากคุณกำลังตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการเดินทาง 


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
publichealth.lacounty.gov, โรคไวรัสซิกา (Zika Virus) (http://publichealth.lacounty.gov/hea/library/topics/zikavirus/CDCP-ACDC-0080-13.pdf)
si.mahidol, โรคไข้ซิกา อันตรายจากยุงลาย วายร้ายตัวจิ๋ว (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1345),16 ตุลาคม 2561

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป