โรคมะเร็งเองหรือการรักษาโรคมะเร็งนั้นสามารถทำให้เกิดปัญหาการกินได้โดยเฉพาะปัญหาความอยากอาหารที่ลดลง ซึ่งภาวะนี้สามารถนำไปสู่การอ่อนแรง การได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอ และส่งผลเสียต่อสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งเป็นอย่างมาก
ปัญหาการกินในผู้ป่วยโรคมะเร็ง
หลายคนประสบปัญหาการรับประทานอาหารโดยอาจเกิดขึ้นระหว่างการรักษา หรือหลังการรักษาโรคมะเร็ง
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องอาหารบางอย่าง เช่น ความอยากอาหารลดลง หรือการสูญเสียน้ำหนักอย่างกะทันหันอาจเป็นอาการแสดงที่นำไปสู่การวินิจฉัยของคุณ ปัญหาการกินบางอย่างอาจเกิดจากตำแหน่งของเซลล์มะเร็งในร่างกายทำให้คุณรู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้หรือลดความสามารถในการย่อยอาหาร แพทย์ประจำตัวของคุณอาจพยายามปรับปริมาณอาหารที่คุณทานให้มากขึ้นก่อนเริ่มการรักษา
ปัญหาการกินอาหารบางอย่างก็อาจเกิดจากการรักษามะเร็งบางวิธี อาการเหล่านี้อาจเป็นแบบชั่วคราวหรือในบางครั้งก็เป็นแบบระยะยาวก็เป็นได้ หากคุณเข้ารับการรักษาบริเวณช่องปาก ลำคอ กระเพาะอาหาร หรือลำไส้ก็อาจได้รับผลกระทบต่อการทานอาหารมาก และต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งในการฟื้นฟูกลับไปเป็นรูปแบบการกินตามปกติ การรักษาบางชนิด เช่น การฉายรังสีรักษาบริเวณศีรษะและลำคออาจทำให้เกิดอาการปากแห้งและกลืนลำบาก การรักษาด้วยเคมีบำบัดและการให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วย อาการท้องร่วง หรืออาการท้องผูก การรับรสชาติที่เป็นแปลงไปและแผลภายในช่องปากของคุณ นอกจากนี้ คุณยังอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหลังการรักษาโรคมะเร็ง และแพทย์ของคุณอาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจมีเชื้อแบคทีเรียอันตรายร่วมด้วย
คุณควรสอบถามแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีที่คุณสามารถรับมือกับปัญหาการกิน แพทย์หรือพยาบาลของคุณสามารถส่งต่อคุณให้กับนักโภชนาการซึ่งทำหน้าที่ประเมินความต้องการด้านอาหารของคุณและให้คำแนะนำแก่คุณเกี่ยวกับอาหารที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
ความรู้สึกของผู้ป่วยโรคมะเร็งเกี่ยวกับปัญหาการกิน
คุณอาจกังวลว่าการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการรับประทานอาหารของคุณจะส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เวลาต้องร่วมโต๊ะทานอาหารร่วมกัน ทั้งคู่รักของคุณ ครอบครัวของคุณและเพื่อนของคุณ คุณอาจกังวลว่าคนอื่นจะคิดเช่นไรหรือกังวลว่าจะถูกปฏิเสธเมื่อต้องร่วมโต๊ะอาหารด้วย หรือคุณอาจจะรู้สึกว่าอยากรับประทานอาหารที่บ้านคนเดียวแทนที่จะออกไปกับครอบครัวหรือเพื่อน ๆ
ผู้ป่วยหลายคนรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้ทำการพูดคุยกับคนใกล้ชิดกับพวกเขาเหล่านั้น หากคุณรู้สึกลำบากใจในการพูดถึงความรู้สึกของคุณกับครอบครัวคุณ คุณสามารถพูดคุยกับแพทย์หรือพยาบาลผู้เชี่ยวชาญของคุณได้
การขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับมื้ออาหาร
คุณอาจมีช่วงเวลาที่ไม่แข็งแรงจนสามารถปรุงอาหารให้กับตัวเองหรือคนอื่นได้ หากคุณเป็นคนที่เตรียมอาหารให้สำหรับครอบครัวของคุณอยู่เสมอมา อาจจะรู้สึกแปลกเล็กน้อยที่คนอื่นจะต้องรับผิดชอบหน้าที่นี้ไป พยายามอย่ารู้สึกผิดที่จะปล่อยให้คนอื่นทำในสิ่งที่คุณมักทำอยู่เป็นประจำ เมื่อรู้สึกแข็งแรงมากขึ้น คุณก็สามารถกลับเข้าสู่กิจวัตรประจำวันของคุณได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หากคุณอาศัยอยู่ด้วยตัวคนเดียวและต้องการความช่วยเหลือในการปรุงอาหารหรือการช็อปปิ้งซื้อของ ลองปรึกษานักสังคมสงเคราะห์ในละแวกใกล้เคียง พวกเขาอาจสามารถจัดเตรียมผู้ช่วย แม่บ้าน การขนส่งของถึงบ้าน หรือองค์กรท้องถิ่นเพื่อช่วยคุณในการทำอาหารหรือการช็อปปิ้งซื้อของต่าง ๆ ที่จำเป็น
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่มีปัญหาเรื่องการกิน
หากคุณเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง คุณอาจรู้สึกลำบากและเป็นเรื่องยากที่จะทราบถึงวิธีการจัดการกับปัญหาการกินที่เกิดขึ้นจากตัวมะเร็งเองหรือจากการรักษามะเร็งก็ตาม โดยปกติ ช่วงมื้ออาหารมักเป็นช่วงชีวิตที่สนุกสนานและเป็นส่วนสำคัญของชีวิตครอบครัวและสังคม จึงอาจเป็นเรื่องน่าหงุดหงิดและน่าวิตกกังวลเมื่อคนที่คุณดูแลอยู่นั้นไม่สามารถทานอาหารได้มากเช่นเดิม
เป็นปกติที่ผู้ป่วยมักไม่รู้สึกอยากอาหาร ทั้งโรคมะเร็ง การรักษารูปแบบต่าง ๆ และยาสำหรับการรักษานั้นอาจส่งผลต่อความอยากอาหารของพวกเขาได้ เช่นเดียวกับอาการคลื่นไส้ อาการท้องร่วงหรือท้องผูกก็สามารถทำให้ผู้ป่วยไม่อยากอาหารได้เช่นกัน พวกเขาอาจรู้สึกเหนื่อยเกินกว่าที่จะขยับตัวเพื่อกินอาหาร มีแผลตามปากหรือลำคอ หรือเจ็บจนเคี้ยวและกลืนได้ยากลำบาก ปริมาณอาหารหรือจำนวนคำที่พวกเขาทานได้อาจเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปในแต่ละวัน และการชอบและไม่ชอบอาหารบางอย่างของพวกเขาอาจเปลี่ยนแปลงไป
คำแนะนำสำหรับผู้ดูแลเกี่ยวกับการจัดการเตรียมอาหารและเวลารับประทานอาหาร มีดังนี้:
- ใช้เวลาคุยกับพวกเขาว่าพวกเขาต้องการจะกินอะไร
- พยายามพูดคุยอย่างเปิดอกเกี่ยวกับปัญหาการกินของพวกเขา และวิธีต่างๆที่คุณสามารถจัดการได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณทั้งสองรู้สึกมากขึ้นในการดูแลปัญหาดังกล่าว
- พยายามให้ทานอาหารมื้อเล็กแต่บ่อย ๆ โดยให้เมื่อใดก็ได้ที่รู้สึกอยากอาหารขึ้นมา มากกว่ามื้อเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน
- ให้พวกเขาได้ทานอาหารโปรดโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่คุณรู้สึกว่าความอยากอาหารของพวกเขาถึงขีดสุด
- เก็บอาหารหลากหลายรูปแบบไว้เพื่อให้คุณสามารถเปลี่ยนเมนูอาหารได้หลากหลายตลอดเวลาในแต่ละวัน อาหารกระป๋องและอาหารแช่แข็งที่เตรียมไว้ล่วงหน้าถือเป็นตัวเลือกที่ดีเนื่องจากอาหารประเภทอื่นจะใช้เวลานานในการเตรียมและปรุง
- ถ้าพวกเขาไม่สามารถทานอาหารที่เป็นของแข็งได้ ลองอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุป กล้วย หรืออาหารที่มีนมทั้งหลาย
- อาหารที่มีความชุ่มชื้นมักจะง่ายต่อการทานและกลืน นอกจากนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้ปากแห้งได้อีกด้วย
- ถ้าการรับรสชาติหรือการรับกลิ่นของผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลงไป อาจลองเสิร์ฟอาหารที่เย็นหรืออาหารที่ระดับอุณหภูมิห้องดู
- ใช้ช้อนส้อมพลาสติกหากผู้ป่วยโรคมะเร็งรู้สึกว่าได้รับรสชาติของโลหะ (Metallic taste) จากการใช้ช้อนส้อมปกติ
- ถ้าผู้ที่คุณดูแลรู้สึกว่ากลิ่นในครัวบางอย่างทำให้พวกเขารู้สึกคลื่นไส้ ให้เตรียมอาหารในห้องอื่นหากเป็นไปได้และทำการเสิร์ฟอาหารในห้องที่มีอากาศระบายดี
- คิดถึงวิธีการเสริมพลังงานให้กับผู้ป่วย อาหารบางอย่างสามารถใช้เพื่อปริมาณเพิ่มพลังงานให้กับอาหารและเครื่องดื่มในชีวิตประจำวันได้ตัวอย่างเช่น คุณอาจลองเพิ่มนมผงใส่ในชาหรือกาแฟ
- อย่ากังวลถ้าพวกเขาไม่สามารถทานสิ่งที่คุณตั้งใจปรุงได้ตลอดเวลา และไม่ต้องทำการกระตุ้น ขอร้องหรือจี้พวกเขามากเกินไป ซึ่งจะไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นเลย
- ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในขณะเตรียมอาหารเนื่องจากผู้ป่วยนั้นอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าคนอื่น ๆ แพทย์ประจำตัวหรือนักโภชนาการที่โรงพยาบาลสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้
- ให้แน่ใจว่าคุณเองก็ได้รับการดูแลสนับสนุนและมีเวลาในการดูแลตัวเองเช่นกัน
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/side-effects/eating-and-digestion