หลักการกินยาคุมทุกแบบอย่างรวบรัด เข้าใจง่าย

อธิบายเรื่องการกินยาคุมกำเนิดแบบเม็ดอย่างสั้นกระชับ ทั้งยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมและยาคุมฉุกเฉิน ใช้ถูกต้องเพื่อป้องกันตัวเองได้เต็มที่
เผยแพร่ครั้งแรก 21 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หลักการกินยาคุมทุกแบบอย่างรวบรัด เข้าใจง่าย

ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดมีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน แบบเดี่ยว และยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน สำหรับวิธีกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมนี้ ควรเริ่มกินยาเม็ดแรกภายใน 5 วันแรกของวันที่มีประจำเดือน โดยจะนับวันที่มีประจำเดือนวันแรกเป็นวันที่ 1 และควรกินต่อเนื่องทุกวันในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น กินตอนเช้าทุกวัน หรือตอนเย็นทุกวัน เพื่อให้ยาคุมกำเนิดออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

หลังมีเพศสัมพันธ์ ควรกินยาคุมตอนไหน เวลาไหนดีที่สุด แล้วควรหยุดกินตอนไหน?

กรณีเกิดเหตุสุดวิสัยที่ต้องพึ่งยาคุมกำเนิดชนิดฉุกเฉิน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 เม็ด วิธีรับประทานให้ได้ผลลัพธ์อันน่าพึงพอใจคือ กินยาเม็ดแรกให้เร็วที่สุดหลังการมีเพศสัมพันธ์ภายในเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง และกินยาเม็ดที่ 2 หลังกินยาเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง ซึ่งการกินยาเม็ดแรกภายใน 72 ชั่วโมงจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 75 % แต่ถ้ากินภายใน 24 ชั่วโมง ประสิทธิภาพในการป้องกันจะเพิ่มขึ้นมากถึง 85 %

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทั้งนี้ หากอาเจียนหลังทานยาเม็ดแรกภายใน 2 ชั่วโมง จะต้องรับประทานยาใหม่อีกครั้ง แต่ไม่ควรรับประทานเกิน 4 เม็ดต่อเดือน เพราะจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ

วิธีการคุมกำเนิดโดยการใช้ยาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสู้วิธีการกินยาคุมแบบปกติไม่ได้ และไม่มีผลป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์อีกหลังจากกินยาไปแล้ว นอกจากนี้ ไม่แนะนำให้ใช้เป็นประจำ และควรตรวจการตั้งครรภ์หากหลังใช้ประจำเดือนยังไม่มานานกว่า 1 สัปดาห์ 

ควรหยุดรับประทานยาเมื่อไร         

สามารถที่จะหยุดการกินยาคุมกำเนิดเมื่อไหร่ก็ได้ แต่หากหยุดกินยาจะต้องหาวิธีคุมกำเนิดอย่างอื่น เช่น การใช้ถุงยางอนามัย ในกรณีที่ไม่ต้องการตั้งครรภ์ แต่หากประสงค์ที่จะตั้งครรภ์ก็สามารถหยุดกินยาได้เลย และเมื่อหยุดการรับประทานยาคุมกำเนิดไปประมาณ 2-4 วัน ประจำเดือนจะเริ่มมา  ถัดจากนั้นอีกประมาณ 2 สัปดาห์จะเริ่มมีการตกไข่ แต่ทั้งนี้ในกรณีที่ไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการหยุดยาคุมกำเนิดแนะนำให้รับประทานจนครบแผงเพื่อที่จะได้ไม่สับสนกับการมาของประจำเดือนหรือการมีเลือดออกกระปริกระปรอย

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากการใช้ยา

  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว เจ็บหน้าอกได้ ซึ่งมักพบได้ในบางคนที่เพิ่งเริ่มรับประทานยา 2 – 3 แผงแรก ให้แก้ปัญหาโดยการรัปประทานยาหลังอาหารเย็น หรือก่อนนอน
  • อาการเจ็บคัดเต้านม พบในระยะแรกของการใช้ยา ซึ่งอาการนี้จะหายเองในระยะต่อมา
  • อาการเลือดออกกะปริบกะปรอย อาจพบได้ในระยะแรก หรือในผู้ที่ลืมรับประทานยาบ่อยๆ ดังนั้นควรรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
  • ผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่ม เป็นสิว ผมร่วง อาจเกิดในระยะแรก และส่วนใหญ่จะหายเมื่อใช้ไป 2 – 3 เดือน

ผลข้างเคียงของการกินยาคุมบ่อยๆ ติดต่อกันนานๆ

การกินยาคุมบ่อยๆ ในระยะเวลาติดต่อกันอาจทำให้มีผลข้างเคียงดังนี้

  • ทำให้เลือดข้น จับตัวเป็นก้อน เสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดอุดตันในปอด เส้นโลหิตอุดตัน และโรคหัวใจ
  • ในบางรายอาจมีอาการแสดงที่เกิดจากฮอร์โมนแปรปรวน เช่น น้ำหนักขึ้น หรือเป็นฝ้า
  • ผู้หญิงที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดติดกันเป็นเวลานานอาจเกิดความบกพร่องของฮอร์โมนเทสเตอโรน ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นเร้าอารมณ์ทางเพศ หรือทำให้มีความรู้สึกทางเพศต่ำ
  • การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้สูญเสียเยื่อบุโพรงมดลูกอย่างถาวร ซึ่งจะมีผลต่อการตั้งครรภ์หากผู้ใช้ยาต้องการมีบุตรอีกครั้ง
  • การรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมเป็นระยะเวลานานส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น

กลุ่มที่ไม่ควรรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด

  • มีโรคลิ่มเลือดอุดตันที่ขา ปอด หรือสมองโรคหัวใจ
  • โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ดี
  • อายุมาก สูบบุหรี่ อ้วน หรือมีภาวะที่จะเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
  • เป็นมะเร็งเยื่อบุมดลูกหรือมีเลือดระดูผิดปกติที่ยังไม่รู้สาเหตุ
  • เป็นมะเร็งเต้านมหรือ มีก้อนผิดปกติที่เต้านมที่ยังไม่รู้สาเหตุ
  • มีการทำงานของตับที่ผิดปกติ
  • มีการตั้งครรภ์

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
การใช้และปัญหาจากยาใกล้ตัว : ทำความรู้จักกับยาเม็ดคุมกำเนิด (https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/knowledge_general_population/29jun2016-1021-th)
รศ. พญ. ธันยารัตน์ วงศ์วนานุรักษ์ ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา, ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม, (http://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1320)
ทีมแพทย์โรงพยาบาลเปาโล, “ยาคุมกำเนิด”ใช้ไปนานๆ เสี่ยง “มะเร็งเต้านม” จริงหรือ? (http://paolohospital.com/phahol/womenhealth/birth-control-pill/ ), 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป