กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
เขียนโดย
กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด

กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเอ็นข้อไหล่อักเสบ (Shoulder tendonitis)

การตรวจประเมิน วิธีการรักษา และฟื้นฟูอาการเอ็นข้อไหล่อักเสบตามวิธีทางกายภาพบำบัด
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
กายภาพบำบัดในผู้ป่วยเอ็นข้อไหล่อักเสบ (Shoulder tendonitis)

ข้อไหล่ (Shoulder joint) เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวมากที่สุดในร่างกาย มีกล้ามเนื้อพาดผ่านจำนวนมาก ทำให้มีเอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon) จำนวนมากด้วย

เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวบ่อยๆ จึงมีความเสี่ยงต่อการอักเสบของเส้นเอ็นได้ง่าย จึงพบว่าข้อไหล่เป็นข้อต่อที่มีอัตราการอักเสบของเส้นเอ็นกล้ามเนื้อมากที่สุดในร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในปัจจุบัน การรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัดเข้ามามีบทบาทอย่างมาก สำหรับการรักษาผู้ที่มีอาการเอ็นข้อไหล่อักเสบ

เอ็นข้อไหล่อักเสบคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร?

เอ็นข้อไหล่อักเสบ (Shoulder tendonitis หรือ Shoulder tendinitis) คืออาการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อกลุ่ม โรเทเตอร์ คัฟฟ์ (Rotator cuff) ประกอบด้วยกล้ามเนื้อ 4 มัด ทำหน้าที่ช่วยพยุงหัวกระดูกต้นแขนให้อยู่ในเบ้าข้อไหล่ หรือเอ็นของกล้ามเนื้อไบเซปส์เบรกิไอ (Biceps brachii) บริเวณด้านหน้าของข้อไหล่

เมื่อข้อไหล่มีการเคลื่อนไหวมาก หรือกล้ามเนื้อเหล่านี้ถูกใช้งานเกินกำลัง จะทำให้เอ็นกล้ามเนื้อเสียดสีกับโครงสร้างรอบๆ เกิดเป็นการอักเสบ เอ็นบวม และหนาตัวขึ้น จนทำให้ไม่สามารถลอดผ่านโครงสร้างรอบๆ ได้

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบริเวณข้อไหล่ ยกไหล่ได้ไม่สุด อาจจะพบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่ และสามารถพัฒนาไปเป็นข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen shoulder)

การรักษาเอ็นข้อไหล่อักเสบในปัจจุบันทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง?

การรักษาเอ็นข้อไหล่อักเสบในปัจจุบัน จะมุ่งเน้นไปที่การรับประทานยาลดการอักเสบ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเป็นหลัก

ในผู้ป่วยบางราย แพทย์อาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์ หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตรยรอยด์ร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยจำนวนมากที่มีการฉีกขาดของเอ็นข้อไหล่ร่วมด้วย หากการรักษาข้างต้นไม่ได้ผลน่าพึงพอใจ หรือผู้ป่วยต้องใช้ข้อให้อย่างต่อเนื่อง เช่น เป็นนักกีฬา อาจได้รับคำแนะนำให้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

การผ่าตัดที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (Endoscope) ซึ่งจะลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไหล่ติดหลังผ่าตัด และภาวะแทรกซ้อนกลังจากการดมยาได้ดี

นอกจากนี้ยังใช้ระยะเวลาฟื้นฟูหลังการผ่าตัดสั้นกว่าการผ่าตัดแบบอื่นด้วย

การตรวจร่างกายผู้ป่วยที่มีเอ็นข้อไหล่อักเสบ ทำได้อย่างไรบ้าง?

นอกจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายตามปกติแล้ว เพื่อระบุเอ็นที่มีการอักเสบและมีปัญหาจริงๆ นักกายภาพบำบัดอาจทำการตรวจกำลังของกล้ามเนื้อ (Manual muscle test) มัดต่างๆ รอบข้อไหล่ ด้วยการขอให้ผู้ด้วยทำท่าต่างๆ แล้วให้แรงต้านเพื่อดูความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ และใช้การตรวจพิเศษ (Special test) ด้วยการขอให้ผู้ป่วยทำท่าทางเฉพาะ ก่อนจะสังเกตผลที่เกิดขึ้น หรือให้แรงต้านเพื่อสังเกตผลที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

ในผู้ป่วยบางรายที่อาการไม่แน่ชัด มีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง (Red flags) หรือหลังรับการรักษาทางกายภาพบำบัดไปสักระยะแล้วอาการไม่เป็นที่น่าพอใจ ผู้ป่วยจะถูกส่งตัวไปปรึกษากับแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมอื่นๆ เช่น การตรวจ MRI เป็นต้น

วิธีการรักษาผู้ป่วยที่เอ็นข้อไหล่อักเสบทางกายภาพบำบัดทำได้อย่างไรบ้าง?

การรักษาทางกายภาพบำบัดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ระยะตามอาการ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กายภาพบำบัดและนวดเพื่อการรักษาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 198 บาท ลดสูงสุด 92%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ระยะเฉียบพลัน (Acute phase)

เป็นระยะที่มีการอักเสบชัดเจน สามารถสังเกตเห็นอาการปวด บวม แดง ร้อน

การรักษาในระยะนี้นะมุ่งเน้นไปที่การรักอาการปวดให้ลดลงด้วยเครื่องมื่อทางกายภาพบำบัด เช่น อัลตราซาวด์ กระตุ้นไฟฟ้า ประคบเย็น และคงองศาการเคลื่อนไหวด้วยการออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อ หรือการบริการเพื่อคงช่วงการเคลื่อนไหว (Range of Motion exercise) เบาๆ

2. ระยะเรื้อรัง (Chronic phase)

ในระยะนี้ อาการอักเสบลดลงแล้ว การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวให้กลับไปเป็นปกติ และป้องกันการกลับไปอักเสบซ้ำ

หากยังมีอาการปวด อาจให้การรักษาด้วยการประคบร้อน หรืออุปกรณ์ให้ความร้อนอื่นๆ ซึ่งนอกจากจะสามารถลดปวดได้แล้ว ยังช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น เหมาะสมต่อการโดยยืดเหยียดให้กลับไปทำงานได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว

การออกกำลังกายแก้ข้อไหล่ติด ในคลินิกกายภาพบำบัด

การออกกำลังกายข้อไหล่ที่นิยมใช้สำหรับผู้ที่มีอาการเอ็นข้อไหล่อักเสบในคลินิกกายภาพบำบัด ได้แก่

1. การหมุนวงล้อ (Shoulder wheel)

สามารถช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว และเพิ่มความแข็งของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่ด้วย โดยวงล้อจะถูกยึดไว้กับผนัง แล้วนักกายภาพบำบัดจะออกแบบท่าออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย ปรับความหยืดให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้ป่วย ก่อนจะขอให้ผู้ป่วยหมุนเป็นจำนวน 10-15 ครั้งต่อเซต ทำ 1-3 เซต

2. การดึงรอก (Pulley)

การดึงรอกช่วยคงหรือเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ โดยระบบรอกจะติดไว้จากด้านบน ผู้ป่วยนั่งตรงกลางระหว่างปลายรอกทั้งสองข้าง ก่อนจะใช้แขนข้างที่ปกติออกแรงดึง 10-15 ครั้งต่อเซต ทำ 1-3 เซต ช่วยให้ข้างที่มีปัญหาค่อยๆ เคลื่อนที่อย่างช้าๆ เท่าที่ไหว

3. การออกกำลังกายด้วยยางยืด (Elastic band)

สามารถช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหว และเพิ่มความแข็งของกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อไหล่

ยางยืดชนิดพิเศษแต่ละสีจะมีความหนักที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน คล้ายน้ำหนักของดัมเบล นักกายภาพบำบัดจะออกแบบท่าบริการให้ผู้ป่วยแต่ละรายดึง ยืด ยางยืดนั้นเท่าที่ผู้ป่วยทำได้ จำนวน 10-15 ครั้งต่อเซต ทำ 1-3 เซต

นอกจากนี้ยังมีวิธีการออกกำลังกายอีกหลายชนิดที่มักจะถูกนำมาใช้ เช่น การยกดัมเบล การออกกำลังกายด้วยไม้พลอง เป็นต้น

ซึ่งจะต้องมีการออกแบบให้เหมาะสมกับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย นอกจากนี้นักกายภาพบำบัดมักจะให้ท่าออกกำลังกายง่ายๆ ที่ผู้ป่วยสามารถทำได้เองที่บ้านให้ผู้ป่วยไปบริหารที่บ้านอีกด้วย

การบริหารข้อไหล่ด้วยตนเอง ทำได้อย่างไรบ้าง?

ตามปกติ ในการรักษาเอ็นกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่อักเสบและข้อไหล่ติดแข็งด้วยวิธีกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดมักนัดพบผู้ป่วยเพียง 2-3 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น

ดังนั้นการบริหารข้อไหล่ด้วยตนเองต่อที่บ้านจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก เนื่องจากเป็นการรักษาหลักที่จะทำให้กลับมาเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหวดังเดิม

ท่าบริหารดังต่อไปนี้เป็นท่าที่ค่อนข้างปลอดภัย มีข้อห้ามข้อควรระวังน้อย ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถทำได้

  1. Pendulum exercise ให้ยืนโน้มตัวไปด้านหน้า มือข้างปกติจับขอบโต๊ะหรือเก้าอี้ ให้แขนข้างที่มีแรงห้อยลงตามแรงโน้มถ่วง ออกแรงหมุนเป็นวงกลมช้าๆ ให้กว้างที่สุดเท่าที่ทำได้ สลับทิศทางการหมุนเป็นด้านตรงข้าม 10 รอบ ทำซ้ำ 1-3 เซต วันละ 1-2 รอบ
  2. Wall exercise ให้ยืนหันหน้าเข้าหากำแพง เหยียดข้อไหล่ข้างที่มืออาการขึ้น ค่อยๆ ใช้นิ้วมือไต้ขึ้นไปบนกำแพงให้ได้สูงที่สุดโดยที่ไม่ปวดจนเกินไป ค้างไว้ 10-30 วินาที ทำซ้ำ 1-3 เซต วันละ 1-2 รอบ
  3. ยืดข้อไหล่ (Crossover arm stretch) เอื้อมมือข้างมีอาการมาแตะไหล่ข้างปกติ มือข้างปกติดันข้อศอกเข้าหาตัวเองจนรู้สึกตึง ค้างไว้10-30 วินาที ทำซ้ำ 1-3 เซต วันละ 1-2 รอบ
  4. ดึงผ้าขนหนู ใช้มือข้างที่มีอาการไพล่หลังไว้ มือข้างปกติยกขึ้น หย่อนปลายก้านหนึ่งของผ้าขนหนูลงไปให้มือข้างที่มือปัญหาจับ มือข้างปกติออกแรงดึงช้าๆ เหมือนใช้ผ้าขนหนูขัดหลัง ค้างไว้ 10-30 วินาที ทำซ้ำ 1-3 เซต วันละ 1-2 รอบ
  5. Doorway Stretch เปิดประตูออก ยืนหันหน้าเข้าหาช่องประตู กางข้อไหล่ข้างที่มีปัญหาออกให้รักแร้และข้อไหล่ทำมุม 90 องศา ปลายนิ้วทั้ง 5 ชี้ขึ้นเพดาน เอาปลายข้อศอกแนบประตูก่อนจะก้าวขาให้พ้นขอบประตูเล็กน้อยจนรู้สึกตึงด้านหน้าของข้อไหล่ ค้างไว้10-30 วินาที ทำซ้ำ 1-3 เซต วันละ 1-2 รอบ

การหลีกเลี่ยงและป้องกันเอ็นข้อไหล่อักเสบ

วิธีการหลีกเลี่ยงเอ็นข้อไหล่อักเสบ และการป้องการเอ็นข้อไหล่อักเสบซ้ำ มีดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อไหล่ในท่าทางใดท่าทางหนึ่งซ้ำๆ
  2. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  3. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่เป็นประจำ
  4. หลีกเลี่ยงการนอนทับข้อไหล่ข้างใดข้างหนึ่งเป็นประจำ
  5. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ข้อไหล่บาดเจ็บ หรือเมื่อมีความผิดปกติเล็กน้อยเกิดขึ้น เช่น เจ็บข้อไหล่หลังออกกำลังกาย ควรรีบประคบเย็นทันที หากอาการไม่ดีขึ้นควรเดินทางไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที

10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
กายภาพบำบัดขาอ่อนแรง และปวดหลัง, (https://hdmall.co.th/c/lower-back-and-leg-pain).
กายภาพ บำ บัด เอ็น ไหล่ อักเสบ, (https://hdmall.co.th/c/shoulder-tendonitis-physical-therapy).
กายภาพบำบัดกระดูก และกล้ามเนื้อ ทำอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/orthopedic-physical-therapy).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้ทันหลากหลายการปวดน่องแบบต่างๆ
รู้ทันหลากหลายการปวดน่องแบบต่างๆ

ปวดน่องเป็นได้หลายแบบ ปวดน่องด้านข้าง ด้านนอก ด้านหลัง บางครั้งปวดจนทนไม่ได้ คลำดูแล้วพบก้อน บ้างปวดจี๊ดๆ หลังทำกิจกรรม มาหาคำตอบว่าอาการต่างๆ นั้นหมายถึงอะไร อันตรายไหม?

อ่านเพิ่ม