อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Disease) หรือเรียกสั้นๆ ว่า พีไอดี เป็นการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง บริเวณมดลูก ปีกมดลูก และท่อนำไข่ บทความต่อไปนี้จะช่วยให้คุณผู้หญิงสามารถป้องกันตัวเองจากอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบได้
อุ้งเชิงกรานอักเสบ หรือ พีไอดี เป็นการติดเชื้อบริเวณระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิง บริเวณมดลูก ปีกมดลูก และท่อนำไข่ สาวๆ ส่วนใหญ่ที่มีอาการนี้จะมีผลพวงมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในเทียม หรือโรคหนองในแท้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายๆ คนหรือการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยมักเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์และเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดเชื้ออุ้งเชิงกรานหรือพีไอดีได้ หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายทำให้เกิดแผลภายในเป็นสาเหตุของอาการปวดรุนแรงบริเวณอุ้งเชิงกราน เกิดภาวะมีบุตรยาก และอาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
อาการของอุ้งเชิงกรานอักเสบ
พีไอดีเป็นสาเหตุทำให้มีอาการต่างๆ ตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการรุนแรงมาก สาวๆ ที่เป็นพีไอดีมักจะมีอาการเหล่านี้
- ปวดบริเวณท้องน้อย
- ตกขาวมีสีและกลิ่นที่แปลกไปจากเดิม
- ปวดแสบอวัยวะเพศขณะมีเพศสัมพันธ์
- เลือดออกกะปริดกะปรอยช่วงที่มีรอบเดือน
- มีไข้
- คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
- เบื่ออาหาร
- ปวดหลังจนอาจทำให้เดินลำบาก
- ปวดแสบขณะปัสสาวะและต้องปัสสาวะบ่อยๆ
- ปวดท้องบริเวณเหนือท้องน้อยด้านขวา
อุ้งเชิงกรานอักเสบเกิดขึ้นได้อย่างไร
สาวๆ ที่มีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรได้รับการรักษาทันที หากปล่อยทิ้งไว้โรคเหล่านั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ และเมื่ออาการอุ้งเชิงกรานอักเสบไม่ได้รับการรักษา เชื้ออาจแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ จนอาจส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ในระยะยาวได้ ดังนี้
- เกิดแผลเป็นบริเวณรังไข่ ท่อนำไข่ และมดลูก แผลเป็นที่แพร่กระจายอยู่อาจนำไปสู่ภาวะการมีบุตรยากและอาการปวดอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง เด็กหญิงวัยรุ่นหรือหญิงที่เป็นพีไอดีอยู่บ่อยครั้งมีโอกาสเกิดภาวะการมีบุตรยากมากขึ้น
- เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก หากสาวๆ ที่เป็นพีไอดีมีการตั้งครรภ์ รอยแผลเป็นบริเวณท่อนำไข่อาจทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิฝังอยู่ในท่อนำไข่แทนที่จะฝังตัวในมดลูก โดยทารกจะเจริญเติบโตขึ้นในท่อนำไข่ซึ่งเป็นบริเวณที่ทารกจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ เรียกว่า การตั้งครรภ์นอกมดลูก นอกจากนี้ หากอาการตั้งครรภ์นอกมดลูกไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ท่อนำไข่ฉีกขาดเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะเลือดออกมากและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
- เป็นฝีที่รังไข่ ซึ่งเป็นอาการที่มีการรวมตัวกันของกลุ่มแบคทีเรีย หนอง และของเหลวในรังไข่และท่อนำไข่ ผู้ที่เป็นฝีรังไข่จะมีอาการป่วย ไข้ขึ้นสูง และปวดท้องรุนแรงจนไม่สามารถเดินได้ ซึ่งฝีที่เกิดขึ้นจะต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ ด้วยการรับยาปฏิชีวนะหรือการผ่าตัดเอาฝีออก
การวินิจฉัยอาการและการรักษา
หากสงสัยว่าคุณกำลังมีอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ แนะนำให้รีบพบแพทย์หรือสูตินรีแพทย์เพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะยิ่งได้รับการรักษาช้าเท่าไหร่โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นโรคอื่นๆ ตามมาก็มีมากขึ้นด้วย และหากแพทย์สันนิษฐานว่าคุณอาจมีอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ แพทย์จะทำการตรวจเช็คร่างกายคุณอย่างละเอียดโดยการตรวจภายใน ซึ่งการตรวจดังกล่าวจะบอกได้ว่าผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณปากมดลูก มีตกขาวผิดปกติบริเวณปากมดลูก หรือมีอาการปวดบริเวณรังไข่ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างหรือไม่ โดยแพทย์อาจขูดเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดเพื่อนำไปตรวจสอบหาเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังต้องมีการตรวจสอบการตั้งครรภ์ และบางครั้งอาจมีการตรวจเลือดหรือตรวจปัสสาวะเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อย่างหนองในเทียมหรือหนองในแท้หรือไม่
บางครั้งแพทย์อาจทำการอัลตราซาวนด์หรือ CAT scan บริเวณท้องน้อย เพื่อดูความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์ ซึ่งการอัลตราซาวด์มักนำมาใช้เพื่อวินิจฉัยอาการเป็นฝีที่รังไข่หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูก หากแพทย์วินิจฉัยพบว่าคุณมีอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะให้ผู้ป่วยโดยต้องทานยาตามคำแนะนำเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องทานยาให้หมดแม้จะมีอาการดีขึ้นแล้วและผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์อีกครั้งประมาณ 2-3 วันหลังจากเริ่มรักษาเพื่อให้แน่ใจว่ายานั้นทำงานได้ดีต่ออาการ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นเลยหลังจากการรักษาคุณจะต้องกลับไปพบแพทย์ทันที
สาวๆ ที่มีอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบรุนแรงจะมีไข้สูงและอาเจียน โดยเชื้อจะต้านต่อการใช้ยาแบบทาน ผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล 2-3 วัน โดยการฉีดยาปฏิชีวนะ และบางครั้งอาจต้องได้รับ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การผ่าตัดหากมีอาการฝีร่วมด้วย การตั้งครรภ์นอกมดลูกจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา
คู่นอนของผู้ป่วยอุ้งเชิงกรานอักเสบจำเป็นต้องได้รับการตรวจเช็คหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที และจำเป็นต้องงดกิจกรรมทางเพศสัมพันธ์ไว้ก่อนจนกว่าการรักษาของทั้งคู่จะเสร็จสิ้นลง ซึ่งจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อีกครั้งอย่างน้อย 7 วันหลังจากการรักษาจบลง ซึ่งหากไม่มีการรักษาทั้งคู่โรคติดต่อที่เกิดขึ้นก็จะกลับมาเป็นอีกกับผู้ที่ได้รับการรักษาไปแล้ว
การป้องกันการเกิดอาการอุ้งเชิงกรานอักเสบ
วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรืออาการอุ้งเชิงกรานอักเสบที่ดีที่สุดคือการงดมีเพศสัมพันธ์ แต่หากไม่สามารถงดการมีเพศสัมพันธ์ได้ การมีคู่นอนเพียงแค่คนเดียว การใช้ถุงยางอนามัย และการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ และหากพบว่าคู่นอนของคุณติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เขาหรือเธอต้องได้รับการรักษาทันที
หากคุณเลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์แล้ว คุณควรเลือกมีอย่างชาญฉลาดและปลอดภัยที่สุด!