Paronychia

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
Paronychia

Paronychia เป็นการติดเชื้อที่ผิวหนังซึ่งอยู่รอบๆ เล็บเท้าหรือเล็บมือ โรคนี้มี 2 ชนิดคือแบบฉับพลันและเรื้อรัง

การติดเชื้อแบบฉับพลัน มักมีอาการปวดและบวมอย่างรุนแรงอย่างฉับพลัน และมีอาการบวมแดงรอบเล็บมือหรือเล็บเท้าและมักเกิดหลังจากที่บริเวณดังกล่าวนั้นได้รับบาดเจ็บ ภาวะนี้มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ผิวหนังผ่านบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ การบาดเจ็บนั้นอาจเกิดจากตัดเล็บมากเกินไปซึ่งทำให้ขอบผิวหนังที่บุรอบเล็บนั้นเกิดการฉีกขาด หรืออาจเกิดจากการกัดเล็บหรือผิวหนังรอบๆ เล็บ หรือการดูดนิ้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การติดเชื้อแบบเรื้อรัง เป็นการติดเชื้อที่มักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และทำให้ค่อยๆ มีอาการบวม ปวด และแดงบริเวณผิวหนังรอบเล็บ มักเกิดจากเชื้อ Candida และเชื้อราอื่นๆ ส่วนมากมักพบว่าเป็นหลายนิ้วพร้อมกัน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ทำงานที่ต้องเอามือแช่น้ำหรือสารเคมีตลอดเวลาเช่นบาร์เทนเดอร์ พนักงานทำความสะอาด งานทางทันตกรรม การพยาบาล ทำอาหาร ล้างจานและทำผมนั้นจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบบนี้เพิ่มมากขึ้น

อาการ

การติดเชื้อแบบฉับพลันนั้นจะทำให้เกิดอาการปวด บวม แดงบริเวณผิวหนังรอบๆ เล็บ ในบางรายอาจมีหนองเล็กๆ สะสมอยู่ใต้ผิวหนังรอบเล็บหรือใต้เล็บได้ มักเกิดที่เล็บเดียว

การติดเชื้อแบบเรื้อรังนั้นมักจะมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่า โดยบริเวณรอบๆ เล็บนั้นมักจะเจ็บ แดง และบวมเล็กน้อย ผิวหนังรอบเล็บนั้นจะรู้สึกชื้นกว่าปกติ มักเกิดขึ้นได้หลายเล็บในมือเดียวในเวลาเดียวกัน

การวินิจฉัย

หากคุณมีการติดเชื้อแบบฉับพลันแบบไม่รุนแรง คุณสามารถวินิจฉัยตัวเองได้ เวลาที่คุณมีอาการปวด บวม และแดงที่บริเวณผิวหนังที่ได้รับการบาดเจ็บรอบๆ เล็บ

หากคุณเป็นโรคเบาหวาน, มีการติดเชื้อที่หลายนิ้ว, หรือมีอาการรุนแรง (มีหนอง มีไข้ ปวดรุนแรง) ควรไปพบแพทย์ ส่นวใหญ่แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจดูบริเวณที่มีอาการ อย่างไรก็ตามหากมีหนองสะสม แพทย์อาจจะต้องเก็บตัวอย่างหนองไปเพาะเชื้อ

ระยะเวลาในการเป็นโรค

ระยะเวลาในการเป็นนั้นขึ้นอยู่กับชนิดที่เป็น ในผู้ที่มีการติดเชื้อแบบฉับพลันนั้นมักจะหายได้ภายใน 5-10 วันหากได้รับการรักษาที่เหมาะสม  ในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรังอาจจะต้องใช้ยาฆ่าเชื้อราเป็นเวลาหลายสัปดาห์ และถึงแม้ว่าจะรักษาอย่างเหมาะสมแล้วก็สามารถกลับเป็นซ้ำได้หากคุณเกิดการบาดเจ็บที่ผิวหนังซ้ำหรือทำให้เล็บเปียกตลอดเวลา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การป้องกัน

วิธีการป้องกันการติดเชื้อที่ผิวหนังรอบเล็บ

  • ดูแลให้มือและเท้าของคุณแห้งและสะอาด
  • ใส่ถุงมือยางที่มีบุสำลีด้านในหากมือของคุณต้องสัมผัสกับน้ำหรือสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรงเป็นประจำ
  • ตัดเล็บอย่างระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการตัดผิวหนังที่อยู่รอบขอบเล็บ
  • หลีกเลี่ยงการกัดเล็บและตัดหนังรอบเล็บ

หากคุณเป็นโรคเบาหวาน ควรคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติด้วยการปรับอาหารและรับประทานยา

การรักษา 

วิธีการรักษานั้นจะขึ้นกับชนิดที่เป็น

การติดเชื้อแบบฉับพลัน คุณสามารถเริ่มรักษาได้ด้วยการแช่นิ้วในน้ำอุ่นอย่างน้อย 15 นาที วันละ 2-4 ครั้ง หากอาการไม่ดีขึ้นหรือเกิดหนองใกล้กับเล็บ ควรไปพบแพทย์ หากมีอาการปานกลางหรือรุนแรง แพทย์อาจจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ และอาจจะแนะนำให้ยกนิ้วที่มีการติดเชื้อนั้นให้สูงขึ้นและแช่นิ้วนั้นในน้ำอุ่นวันละ 2-4 ครั้ง หากมีหนอง แพทย์มักจะต้องใช้ยาชาก่อนเจาะดูดหนองออก อาจจะต้องมีการตัดเล็บบางส่วนออกหากจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถดูดหนองออกได้หมด

การติดเชื้อเรื้อรัง เนื่องจากส่วนใหญ่นั้นเกิดจากเชื้อรา แพทย์จึงมักใช้ยาฆ่าเชื้อราทาที่ผิวหนังเช่น clotrimazole หรือ ketoconazole คุณอาจจะต้องทายาทุกวันเป็นเวลาหลายสัปดาห์ และดูแลให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวนั้นสะอาดและแห้ง ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจจะต้องรับประทานยาฆ่าเชื้อราหรือยาในกลุ่มสเตียรอยด์ แต่พบได้น้อย

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

  • คุณเป็นโรคเบาหวาน
  • คุณมีหนองอยู่รอบเล็บหรือใต้เล็บ
  • มีไข้
  • บริเวณที่ติดเชื้อนั้นเริ่มลุกลามขึ้นไปทางโคนนิ้ว
  • คุณมีอาการไม่รุนแรงแต่เป็นนานกว่า 7 วัน

การพยากรณ์โรค

หากได้รับการรักษาที่เหมาะสม ผลการรักษามักจะออกมาดี ในผู้ป่วยส่วนใหญ่ การติดเชื้อฉับพลันนั้นจะหายภายใน 5-10 วันและไม่ทำให้เล็บถูกทำลายอย่างถาวร ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจจะเกิดการติดเชื้อที่กระดูกนิ้วได้แต่พบได้น้อย

ถึงแม้ว่าการติดเชื้อเรื้อรังนั้นจะต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ก่อนจะหาย แต่ผิวหนังและเล็บมักจะกลับเข้าสู่สภาพปกติหลังจากนั้น อย่างไรก็ตามคุณต้องทายาตามที่แพทย์สั่งและดูแลให้บริเวณดังกล่าวนั้นแห้งอยู่เสมอ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Naveed Saleh, MD, MS, An Overview of Paronychia (https://www.verywellhealth.com/paronychia-treatment-1124156), November 18, 2019
dermnetnz.org, Paronychia (https://dermnetnz.org/topics/paronychia/)
Judith Marcin, MD, Paronychia (https://www.healthline.com/health/paronychia), June 1, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)