พ่อแม่เข้าใจลูกวัยรุ่น

เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
พ่อแม่เข้าใจลูกวัยรุ่น

พ่อแม่เข้าใจลูกวัยรุ่น

วัยรุ่น เป็นวัยที่เปลี่ยนแปลง ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และ สังคม ได้แก่

  1. แตกเนื้อหนุ่ม แตกเนื้อสาว ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงขนาด ทรวดทรงอย่างรวดเร็วเช่น มีสิว เสียงแตกพร่า มีขนขึ้นตามรักแร้และอวัยวะเพศการทำงานของต่อมเพศเพิ่มมากขึ้น
  2. อารมณ์มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว แปรปรวนบ่อย ไม่ค่อยมีเหตุผลมากนักโกรธง่าย ดีใจง่ายแสดงอารมณ์ออกมาโดยขาดการกลั่นกรอง ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับสภาพอารมณ์ที่ผันผวนประมาณ 2-3 ปี
  3. อยากมีอิสระ เสรี อยากนัดพบเพื่อนฝูง บางครั้งอาจแสดงท่าทีที่ทำให้ผู้ใหญ่ รู้สึกว่าเขา อวดดีก้าวร้าว ท้าทายต่อกฎเกณฑ์ต่างๆ
  4. ความด้อยเรื่องรูปโฉม การเงิน สภาพทางสังคมและครอบครัวมักทำให้เขาเกิดความรู้สึกมีปมด้อยอย่างรุนแรง รู้สึกไม่เท่าเทียมเด็กคนอื่นๆ ทำให้เขาต้องกลบเกลื่อนปมด้อยด้วยวิธีการต่างๆ เช่นแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน แสดงออกด้วยพฤติกรรมที่เด่นเกินใครเพื่อเรียกร้องความสนใจจากผู้คน
  5. อยากรู้ อยากเห็น อยากลอง อยากมีประสบการณ์แปลกใหม่
  6. มีจินตนาการทางเพศ สนใจเพศตรงข้าม และ อยากให้เพศตรงข้ามสนใจ 
  7. มองหาเอกลักษณ์ของตน เช่น จะเป็นอะไรเป็นเหมือนใคร เป็นหญิงหรือชาย

วิธีการอยู่ร่วมกับวัยรุ่น

  1. พยายามสร้างกฎเกณฑ์ให้น้อยที่สุดและเข้มงวดเฉพาะกฎเกณฑ์นั้น ๆ เวลาตั้งกฎเกณฑ์ผู้ปกครองควรให้วัยรุ่นได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย
  2. รับฟังความคิดเห็นของลูกวัยรุ่นด้วยความสนใจเสมอ
  3. พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับลูกทุกวันและควรใช้วิธีการสื่อสารทางบวก
  4. ปล่อยให้วัยรุ่นได้ใช้ชีวิตเป็นตัวของตัวเองบ้าง พ่อ แม่ ควรเรียนรู้และยอมรับในความแตกต่างของวัยรุ่นแต่ละคนและ ไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับวัยรุ่นคนอื่น
  5. เคารพในความเป็นส่วนตัวของลูก
  6. ยอมรับและพร้อมให้อภัยในข้อผิดพลาดของลูกให้โอกาสลูกได้แก้ตัวใหม่
  7. ไม่ตีตราในพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเพราะการตีตราจะทำให้ลูกรับรู้ว่าเขาต้องเป็นแบบนั้นจริงๆ เสมือนเป็นการผลักดันให้เขามีพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อไป
  8. พ่อ แม่ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูก เพราะลูกจะซึมซับเลียนแบบพฤติกรรมของบุคคลตัวอย่างที่ใกล้ชิด ตั้งแต่เล็กๆ โดยไม่รู้ตัว
  9. ไม่ควรห้ามเรื่องการคบเพื่อนต่างเพศอย่างเด็ดขาด แต่ควรมีทัศนคติที่เป็นกลาง มีกติกาหรือข้อตกลงที่รับได้ทั้งสองฝ่าย เช่นคบกันได้เพื่อเป็นกำลังใจให้กันผู้ชายต้องเป็นสุภาพบุรุษและผู้หญิงต้องเป็นสุภาพสตรี
  10. สอนกฎหมายเบื้องต้นให้ลูกทราบบ้าง เช่น กฎหมายจราจร กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดทางเพศ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกระทำผิดทางกฎหมาย หรือ เกิดปัญหาสังคมตามมา

วิธีการสื่อสารกับวัยรุ่น

บ่อยครั้งที่พ่อ แม่ ผู้ปกครองรู้สึกเหนื่อยหน่าย เอือมระอา และเกิดภาวะเครียดกับการพูดคุยกับลูกวัยรุ่นสื่อสารไม่เข้าใจกัน พูดคุยไม่รู้เรื่อง ลูกไม่ยอมปฏิบัติตามแล้วทำให้ต้องทะเลาะกัน พ่อแม่ควรมีหลักการสื่อสารกับวัยรุ่นที่เหมาะสม เช่น พูดคุยเรื่องใดต้องพูดกันอย่างชัดเจน ตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม พ่อ แม่ ผู้ปกครองต้องควบคุมอารมณ์ให้สงบ ไม่พูดคุยขณะที่มีอารมณ์โกรธ หรือ ไม่พอใจ และต้องบอกถึงความคิด ความรู้สึก ความต้องการหรือพฤติกรรมที่พ่อแม่คาดหวังจากตัวลูก จากนั้นถามความคิดเห็น หรือ ชมเชย หรือ ให้กำลังใจ ไม่ใช้คำพูดเชิงประชดประชัน ข่มขู่ หรือ สร้างเงื่อนไขกับลูกวัยรุ่น ยกตัวอย่าง เช่น “ แม่มีเรื่องจะพูดคุยกับลูกนะ เรื่องการเที่ยวกลางคืน ของลูก ” (สื่อสารชัดเจน ตรงประเด็น) “ แม่เป็นห่วงลูกมากกลัวจะไปมีเรื่องกัน มีข่าววัยรุ่นทะเลาะทำร้ายและฆ่ากันตายอยู่บ่อยๆ ” (บอกความคิด ความรู้สึก) “ แม่ไม่อยากให้ลูกออกจากบ้านตอนกลางคืน ” (บอกความต้องการ) “ ลูกจะว่าอย่างไร ” (ถามความคิดเห็น) หากลูกต่อรองพร้อมทั้งบอกเหตุผลที่เหมาะสมและพ่อแม่รับข้อต่อรองนั้นได้ก็ถือได้ว่าการสื่อสารในครั้งนั้นประสบผลสำเร็จ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Understanding ADHD: Information for Parents. HealthyChildren.org. (https://www.healthychildren.org/English/health-issues/conditions/adhd/Pages/Understanding-ADHD.aspx)
Parenting Knowledge, Attitudes, and Practices - Parenting Matters. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK402020/)
Parenting Tips for ADHD: Do’s and Don’ts. Healthline. (https://www.healthline.com/health/adhd/parenting-tips)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป