อาการปวดข้อเท้า (Ankle pain)

อาการปวดข้อเท้าส่วนใหญ่มักเกิดจากข้อเท้าแพลง หรือโรคข้ออักเสบ หากอาการไม่รุนแรงมาก สามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ตามหลักการ RICE
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการปวดข้อเท้า (Ankle pain)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ยุค New Normal สุขภาพ เป็นสิ่งที่ทุกคนใส่ใจมากยิ่งขึ้น

ถ้าเริ่มมีอาการเจ็บคอ คันคอ ระคายคอ หรือมีเสมหะ เหนียวคอ มาดู 5 วิธี บรรเทาง่ายๆ ได้ผล อย่ารอให้เป็นหนัก

อาการปวดข้อเท้า หมายถึง อาการปวดหรือไม่สบายใดๆ ในข้อเท้า ซึ่งอาจเกิดจากการบาดเจ็บ เช่น ข้อเท้าแพลง หรือความผิดปกติทางการแพทย์ เช่น โรคข้ออักเสบ

อาการปวดข้อเท้า มักเกิดจากข้อเท้าแพลง หรือภาวะที่เอ็นข้อเท้าซึ่งเป็นเนื้อเยื่อมัดเหนียวๆ เชื่อมต่อกับกระดูกฉีกขาดหรือถูกยืดเกินควรมากถึง 85% โดยข้อเท้าแพลงมักจะมาพร้อมอาการบวมและฟกช้ำอยู่ประมาณ 7-14 วัน หากมีอาการรุนแรงมาก อาจต้องใช้เวลา 60-90 วันจึงจะหายขาด

สาเหตุของอาการปวดข้อเท้า

นอกจากข้อเท้าแพลงแล้ว อาจพบอาการปวดข้อเท้าที่มาจากสาเหตุดังนี้

  • โรคข้ออักเสบ โดยเฉพาะโรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
  • โรคเกาต์ (Gout)
  • ความเสียหายของเส้นประสาท
  • อาการปวดสะโพกร้าวไปขา (Sciata)
  • เส้นเลือดอุดตัน
  • การติดเชื้อในข้อต่อ
  • โรคข้ออักเสบติดเชื้อ (Septic arthritis)

การดูแลอาการปวดข้อเท้าด้วยตนเอง

การรักษาอาการปวดข้อเท้าฉับพลันด้วยตนเอง สามารถทำได้ตามหลักการ RICE ดังนี้

  • Rest (พักผ่อน) หลีกเลี่ยงการทิ้งน้ำหนักบนข้อเท้า พยายามเคลื่อนที่หรือเดินให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ในช่วง 2-3 วันแรก ให้ใช้ไม้ค้ำหรือไม้เท้าช่วยถ้าจำเป็นต้องเดินหรือขยับตัว
  • Ice (ประคบเย็น)  ประคบถุงน้ำแข็งบนข้อเท้าเป็นเวลาอย่างน้อย 20 นาทีต่อครั้ง พักครั้งละประมาณ 90 นาที ทำแบบนี้ 3-5 ครั้งต่อวัน ต่อเนื่องกัน 3 วันหลังจากได้รับบาดเจ็บ เพื่อลดอาการบวมและอาการปวด
  • Compression (บีบรัด)  รัดข้อเท้าที่บาดเจ็บด้วยผ้าพันแผลที่ยืดหยุ่น เช่น ผ้าพันแผล ACE อย่ารัดข้อเท้าแน่นเกินไปจนข้อเท้าชาหรือนิ้วเท้าของคุณเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเพราะขาดเลือด
  • Elevation (ยกสูง) ให้ยกข้อเท้าขึ้นเหนือระดับหัวใจโดยวางลงบนหมอนหรือโซฟาอย่างน้อย 5-10 ครั้งต่อวัน

หากรู้สึกปวด สามารถรับประทานยาแก้ปวดที่หาได้ตามร้านขายยา เช่น พาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม เมื่ออาการดีขึ้นแล้วให้เริ่มบริการข้อเท้าอช้าๆ ด้วยการหมุนข้อเท้าเป็นวงกลม ให้หมุนทั้งสองทิศทางทั้งทวนเข็มและตามเข็มนาฬิกา หากรู้สึกเจ็บให้หยุดทันที

หากอาการปวดข้อเท้าเป็นผลมาจากโรคข้ออักเสบ แต่ไม่สะดวกไปพบแพทย์ สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ ดังนี้

  • ทายาแก้ปวดเฉพาะที่
  • รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และเน้นออกกำลังกายระดับปานกลางไม่หนักเกินไป
  • ฝึกนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • ยืดกล้ามเนื้อบ่อยครั้ง เพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนที่ในข้อต่อให้ดีขึ้น
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดแรงกดทับบนข้อต่อได้

ที่มาของข้อมูล

Natalie Phillips, What Causes Ankle Pain? (https://www.healthline.com/symptom/ankle-pain), September 26, 2015.


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ankle Pain: Causes, Home Remedies, and Prevention. Healthline. (https://www.healthline.com/health/ankle-pain)
Melissa Conrad Stöppler, MD, Ankle pain (https://www.medicinenet.com/ankle_pain/symptoms.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)