อาการปวดและอาการบาดเจ็บ (PAIN AND INJURIES)

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
อาการปวดและอาการบาดเจ็บ (PAIN AND INJURIES)

อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังจากการออกกำลังกาย

อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรืออาการเส้นยึดมักเกิดขึ้น 1-2 วันหลังจากการออกกำลังกายถือเป็นเรื่องปกติ เป็นที่รู้จักกันในชื่อ DOMS หรืออาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อภายหลังจากการฝึกซ้อม ซึ่งจะเกิดกับผู้ที่ออกกำลังกายในทุกระดับ โดยเฉพาะการออกกำลังกายกับกีฬาหรือกิจกรรมใหม่ๆ หรือออกกำลังกายหักโหมมากกว่าปกติ

โดยปกติแล้วอาการปวดเมื่อยจะดีขึ้นภายใน 2-5 วัน โดยไม่ต้องพบแพทย์ หรือหากปวดมาก คุณสามารถใช้ถุงน้ำแข็งประคบบริเวณที่ปวด นวด ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ทานยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบ เพื่อบรรเทาอาการปวด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ คุณยังสามารถออกกำลังกายได้ในขณะที่ยังมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ทางที่ดีคุณควรหยุดพักออกกำลังกายไปก่อนสัก 1-2 วัน จนกว่าอาการปวดจะเริ่มดีขึ้น หากอาการปวดเมื่อยไม่ดีขึ้นเลยนานเกินกว่า 5 วันหรือมีอาการแย่ลง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการและรักษาต่อไป

อาการบาดเจ็บ 

เมื่อได้รับบาดเจ็บ จะสังเกตได้ถึงอาการปวด กดแล้วเจ็บบริเวณนั้น มีอาการบวม มีรอยเขียวช้ำ หรือรู้สึกเมื่อยล้า บางครั้งพบว่ามีอาการดังกล่าวประมาณ 4-5 ชั่วโมงหลังจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา หากเกิดอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่สามารถดูแลตัวเองที่บ้านได้ ดังนี้

  • พยายามให้ส่วนของร่างกายที่ได้รับบาดเจ็บได้พักในช่วง 48-72 ชั่วโมงแรก เพื่อไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มขึ้นอีก
  • ใช้ถุงน้ำแข็งหรือ cold pack ประคบบริเวณที่บาดเจ็บในช่วง 48-72 ชั่วโมงแรก เพื่อลดอาการบวม การประคบด้วยน้ำแข็งในแต่ละครั้งจะใช้เวลาอยู่ที่ 5-15 นาที และไม่ควรให้ถุงน้ำแข็งโดนบริเวณที่บาดเจ็บโดยตรง แนะนำให้ห่อถุงน้ำแข็งด้วยผ้าก่อนประคบ
  • ใช้ยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอลหรือยาแก้อักเสบ อย่างยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen) เพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย

หากอาการบาดเจ็บรุนแรงและไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นภายใน 1-2 วัน แนะนำให้พบแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้คุณพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป เช่น นักกายภาพบำบัด เป็นต้น

 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to avoid exercise injuries. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000859.htm)
14 exercises for relieving hip pain and improving mobility. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/325029)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป