ความหมายโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินหรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเอ็นเอชแอล (NHL) เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดแพร่กระจายเร็ว โดยมีต้นกำเนิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเม็ดเลือดขาวชนิดที่เรียกว่า ลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ที่อยู่ในระบบน้ำเหลืองของร่ายกาย ไม่ใช่เม็ดเลือดขาวจากกระดูก
สาเหตุโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน
สาเหตุที่ทำให้เกิดยังไม่ทราบแน่นอน แต่มีปัจจัยที่เชื่อว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรค ได้แก่ เชื้อไวรัสเอพสไตน์บาร์ (Epstien-Barr Virus) มีระบบอิมมูนบกพร่องมาแต่กำเนิด กรรมพันธุ์ การได้รับรังสี เช่น ทารกได้รับรังสีเอกซเรย์ขณะอยู่ในครรภ์มารดา ได้รับยากดระบบอิมมูนในผู้ที่เตรียมเพื่อรับการปลูกถ่ายอวัยวะ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
พยาธิสรีรภาพโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน
จากสาเหตุต่าง ๆ จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยีนและโครโมโซม ทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของเซลล์ก่อมะเร็ง โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินเกิดจากความผิดปกติของการแบ่งตัวของทั้ง B-Lymphodyte และ T-Lymphocyte ทำให้เกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหลายชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองลิมโฟบลาสติก (Lymphoblastic Lymphoma) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเบอร์กิต (Burkitt’s Lymphoma) มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่มีเซลล์ลิมโฟมาขนาดใหญ่ (Large Cell Lymphoma) โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 มีรอยโรคเกิดกับต่อมน้ำเหลืองต่อมเดียวและอาจพบก้อนที่ช่องออกและช่องท้อง
- ระยะที่ 2 มีรอยโรคเกิดกับอวัยวะร่วมกับต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงซึ่งอยู่ด้านเดียวกันของกะบังลม อาจมีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลือง 2 แห่งหรือมากกว่า หรือมีรอยโรคที่อวัยวะอื่น ๆ 2 แห่งจะมีต่อมน้ำเหลืองโตหรือไม่โตก็ได้
- ระยะที่ 3 มีรอยโรคอยู่ 2 ด้านของกะบังลม อาจมีรอยโรคที่อวัยวะอื่น ๆ 2 แห่ง หรือมีรอยโรคที่ต่อมน้ำเหลืองโตในช่องอก ช่องท้อง และอาจมีก้อนอยู่ข้าง ๆ กระดูกสันหลัง
- ระยะที่ 4 มีรอยโรคในระยะที่ 1-3 ระยะใดระยะหนึ่งและมีการแพร่กระจายไปยังระบบประสาทส่วนกลางและไขกระดูก
อาการโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน
อาการขึ้นกับตำแหน่งของโรคและอวัยวะที่มีรอยโรค เช่น มีต่อมน้ำเหลืองโตลักษณะแข็งไม่เจ็บและเคลื่อนที่ได้ พบบ่อยที่คอ รักแร้ แต่พบได้น้อยที่ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลืองในช่องอกโตอาจพบอาการหายใจมีเสียงดัง ไอแห้ง ๆ หากกดหลอดอาหารทำให้กลืนอาหารลำบาก หากกดหลอดเลือดดำที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องบน (Superior Vena Cava) ทำให้หน้าบวม ลำตัวส่วนบนและแขนบวม หากกดกระเพาะอาหารและลำไส้ทำให้อาเจียน ท้องผูก เบื่ออาหาร มีน้ำในช่องท้อง น้ำหนักลด อาการอื่น ๆ เช่น อ่อนเพลีย ตับม้ามโต มีไข้ เหงื่อออกมาก หากมีการแพร่กระจายไปในไขกระดูกจะมีอาการซีด เลือดออกง่ายและติดเชื้อง่าย แต่เนื่องจากโรคนี้มีการดำเนินของโรคเร็วและมีการแพร่กระจายมาก โดยเฉพาะผู้ที่มีการกระจายของโรคไปยังระบบประสาทส่วนกลาง อาจมีอาการคล้ายโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หากต่อมน้ำเหลืองที่โตหรือก้อนที่เกิดขึ้นไปกดอวัยวะใด จะทำให้เกิดอาการที่อวัยวะนั้น
การวินิจฉัยโรคโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน
จากอาการ ตรวจพบต่อมน้ำเหลืองโต ตับโต ม้ามโต ตัดเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองไปตรวจทางพยาธิวิทยา ตรวจนับเม็ดเลือดแดงอาจพบค่าปกติหากโรคยังไม่ลุกลามไปไขกระดูก เอกซเรย์ทรวงอกเพื่อดูตำแหน่งของหลอดลม ตรวจไขกระดูก กรวดน้ำไขสันหลังเพื่อดูว่ามีการแพร่กระจายของโรคไประบบประสาทส่วนกลาง ตรวจเลือดเพื่อศึกษาการทำงานของ ตับ ม้าม ไต ตรวจกระดูก (Bone scan) เพื่อดูการแพร่กระจายไปที่กระดูก
การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน
รักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นหลัก โดยใช้ยาเคมีบำบัดหลายชนิดร่วมกัน หรือใช้รังสีรักษาร่วมกับเคมีบำบัด เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งให้ได้มากที่สุด มะเร็งต่อมน้ำเหลืองลิมโฟบลาสติก (Lymphoblastic Lymphoma) รักษาด้วยการฉีดยาเคมีบำบัดทางช่องไขสันหลังและฉายรังสีที่ศีรษะเพื่อป้องกันโรคแพร่กระจายไปที่สมองมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเบอร์กิต (Burkitt’s Lymphoma) จะมีการดำเนินของโรคเร็วมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่มีเซลล์ลิมโฟมาขนาดใหญ่ (Large Cell Lymphoma)
การพยาบาลโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน
ป้องกันการติดเชื้อ ภาวะขาดออกซิเจน การสูญเสียเลือด ลดความวิตกกังวลและความกลัว และส่งเสริมให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอทั้งจำนวนและคุณภาพดูแลให้ได้รับน้ำเพียงพอ ช่วยเหลือผู้ป่วยในเรื่องความไม่สุขสบายโดยทั่วไป ป้องกันและดูแลเยื่อบุช่องปากและลำคออักเสบเป็นแผล ดูแลให้ได้รับการพักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ ดูแลในเรื่องซีดและเลือดออกง่าย รวมทั้งให้การช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัวในการเผชิญกับโรคและการรักษา และให้การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้เคมีบำบัดและรังสีรักษา
แผลพุงพองตามร่างกายเรื้อรังเกิดจากไขมันในเลือดสูงหรือไม่