ดนตรีบำบัด ศาสตร์ทางการแพทย์ ที่ช่วยบรรเทาอาการทางจิต

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ดนตรีบำบัด ศาสตร์ทางการแพทย์ ที่ช่วยบรรเทาอาการทางจิต

มนต์เสน่ห์แห่งเสียงดนตรี มีอำนาจในการสร้างอารมณ์ให้กับมนุษย์ เพราะมนุษย์มีอารมณ์ที่อ่อนไหว คล้อยตามทำนอง และจังหวะสูง ๆ ต่ำ ๆ สั้น ๆ เบา ๆ เชื่อไหมว่ามีคนเอาดนตรีไปประยุกษ์ใช้ ในหลายเรื่อง เช่น การขัดเกลาอุปนิสัยอันธพาล การจูงใจนักเรียนในชั้นเรียน รวมทั้งรักษาอาการเจ็บป่วย

ดนตรีบำบัด เป็นศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่ง

ดนตรีไม่ได้รักษาอาการป่วยโดยตรง แต่เป็นการช่วยบำบัดทางอ้อมเท่านั้น ในทางการแพทย์ ใช้เสียงดนตรีบรรเลง แบบไลต์มิวสิคก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ารับการผ่าตัดเป็นการแก้ปัญหา อาการกลัว และเครียด เมื่อผ่าตัดเสร็จก็ยังใช้ไลต์มิวสิคบรรเลงเพื่อลดความเครียดจากอาการปวดแผล นอกจากนี้การใช้ดนตรีบำบัด ประยุกต์ใช้ได้ตามบุคคลิกส่วนตัวของผู้ป่วยเอง กล่าวคือผู้ป่วยที่เป็นชาวชนบทเป็นเพลงพื้นบ้าน วัยรุ่นเพลงแนวอินดี้ เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เสียงดนตรีใช้บำบัดอาการทางจิต

เสียงดนตรียังใช้บำบัดอาการทางจิตในผู้ป่วยจิตเวช เป็นส่วนหนึ่งของการใช้ พฤติกรรมบำบัด สร้างจินตนาการ สภาพการรับรู้ความเป็นจริง

  • เสียงดนตรีจังหวะเร็ว สนุกสนาน แบบร็อค เรคเก้ ช่วยบำบัดอาการซึมเศร้า
  • เสียงเบา อย่างไลต์มิวสิค บำบัดอาการทางจิตที่มีอารมณ์รุนแรง ปรับสภาพจิตให้สมดุลย์ ผ่อนคลาย สร้างสมาธิ ลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม

ดังนั้นน่าจะลองเลือกเสียงดนตรีแทนยากล่อมประสาท ผู้ป่วยทางจิตจะเริ่มผ่อนคลายและเริ่มสนุกกับเสียงดนตรี คล้อยตาม คลายความวิตกกังวล ผ่อนคลายความเครียด

การใช้ดนตรีบำบัดไม่มีรูปแบบที่ตายตัว

อยู่กับผู้ใช้จะประยุกต์กับเหตุการณ์ เป็นต้นว่า การเล่นโยคะ ยังใช้เสียงดนตรี ร่วมผ่อนคลายความเครียด รวมทั้งทักษะการเคลื่อนไหว เสียงดนตรีจะควบคุมจังหวะ การเต้นของหัวใจ ระดับความดันเลือด อยู่ในระดับคงที่ นอกจากนี้ยัง ประยุกต์ทำนองเพลงปลุกใจ กับทหารเวลาออกรบ และเมื่อรักษาอาการบาดเจ็บร่วมกับยา

เสียงดนตรีไม่เพียงจะสร้างความสุขแก่ผู้ฟัง ยังช่วยบำบัด อาการโรคช่วยผ่อนคลาย เกิดสภาวะสมดุลย์ จากท่วงทำนองดนตรีแต่ละประเภท อำนาจจากเสียงดนตรีเหนี่ยวนำใจให้มนุษย์สนุกสนานก็ได้ ร้องไห้ก็ได้ ดังนั้นเสียงดนตรีมีอิทธิพลต่อจิตใจมนุษย์ จนกระทั่งนำมาเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรค


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The Benefits of Music Therapy. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/benefits-of-music-therapy-89829)
Music therapy for mental disorder and mental health: the untapped potential of Indian classical music. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5618810/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป