กล้ามเนื้อหดเกร็ง ภาวะที่นำไปสู่อาการปวดเมื่อยเรื้อรัง

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
กล้ามเนื้อหดเกร็ง ภาวะที่นำไปสู่อาการปวดเมื่อยเรื้อรัง

กล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle pain syndrome หรือ Myofascial pain syndrome) ที่เรียกย่อๆ ว่า กลุ่มอาการ MPS คืออาการปวดกล้ามเนื้อหรือเนื้อเยื่อเฉพาะจุด เนื่องจากกล้ามเนื้อมัดนั้นทำงานหนักและหดตัวเป็นเวลานาน อาการปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง จะเป็นลักษณะปวดตื้อๆ หรือปวดร้าวในตำแหน่งกล้ามเนื้อต่างๆ ซึ่งอาจรู้สึกปวดตลอดเวลา หรือปวดเฉพาะเวลาใช้งานก็ได้ และความรุนแรงของอาการก็อาจแตกต่างกันไป โดยส่วนมาก อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งจะเกิดขึ้นเรื้อรังนานกว่า 2 เดือนขึ้นไป และมักเกิดกับกล้ามเนื้อคอ ไหล่ บ่า และหลัง ซึ่งต่างจากตะคริวที่เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อกะทันหัน และมักมีอาการเจ็บปวดรุนแรง ขยับกล้ามเนื้อไม่ได้เพียงชั่วครู่ชั่วคราว อีกทั้งมักเกิดกับกล้ามเนื้อที่ขาเป็นส่วนใหญ่

สาเหตุของกล้ามเนื้อหดเกร็ง

กล้ามเนื้อหดเกร็งเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนนั้นอย่างหนัก หรือการอยู่ในอิริยาบถเดิมซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนทำให้กล้ามเนื้อหดตัวอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีการคลายตัว ทำให้กล้ามเนื้อขาดพลังงาน และมีของเสียคั่งค้าง จึงเป็นที่มาของอาการปวด ซึ่งหากไม่รักษาให้หาย กล้ามเนื้ออาจเกิดการอักเสบเรื้อรัง กลายเป็นพังผืด ซึ่งเมื่อจับแล้วจะพบเป็นก้อนแข็งๆ ได้ ปัจจัยที่ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งมักเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • การออกแรงยกของหนักในท่าเดิมเป็นประจำ
  • การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์นานๆ หรือชอบใช้คอและไหล่หนีบโทรศัพท์เวลาคุย
  • การนั่งทำงานที่โต๊ะเป็นเวลานาน เช่น นั่งเขียนหนังสือหรือพิมพ์คอมพิวเตอร์
  • การนอนด้วยเครื่องนอนที่ไม่รับกับสรีระ เช่น นอนหมอนสูงเกินไป หรือใช้ที่นอนยุบๆ
  • การสะพายกระเป๋าหนักๆ เป็นประจำ
  • การออกกำลังกายอย่างหนัก โดยไม่วอร์มหรือยืดกล้ามเนื้อก่อน
  • การเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ

นอกจากนี้ ความเครียดก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาการกล้ามเนื้อหดเกร็งรุนแรงขึ้นด้วย

กล้ามเนื้อหดเกร็งเฉียบพลันคืออะไร?

ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งเฉียบพลัน (Acute myofascial pain syndrome) คือการหดเกร็งกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดอาการปวดนานไม่เกิน 2 เดือน เช่น ปวดทันทีหลังยกของหนัก หรือปวดจากการออกกำลังกายนาน 1-2 สัปดาห์ ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากกล้ามเนื้อทำงานหนักในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกายอย่างหนัก หรือกล้ามเนื้อสัมผัสกับความเย็นนานๆ การปฐมพยาบาลสามารถทำได้โดยการประคบร้อนและประคบเย็น โดยใช้ลูกประคบหรือผ้าชุบน้ำอุ่นประคบบริเวณที่เป็นตะคริวเพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว จากนั้นจึงใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบจุดที่ปวดเพื่อบรรเทาอาการ หรือจะใช้สเปรย์ฉีดเพื่อคลายกล้ามเนื้อก็ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการนวดหรือกดแรงๆ เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้ออักเสบมากขึ้น

การรักษากล้ามเนื้อหดเกร็ง

  • การรักษาด้วยยา ยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการมีทั้งยากินและยาฉีด เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs ยาคลายกล้ามเนื้อชั่วคราว ยาต้านโรคซึมเศร้าและลดอาการเกร็ง ยาฉีดชนิด Cortisone สำหรับแก้ปวด หรือการฉีด Botulinum toxin เพื่อลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • การทำกายภาพบำบัด ซึ่งต้องเข้าพบนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษา วิธีกายภาพบำบัดมีหลายขั้นตอน เช่น การรักษาด้วยความร้อน การบริหารกล้ามเนื้อเพื่อให้คลายตัว การออกกำลังกายโดยใช้ท่าอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อสร้างความแข็งแรงและยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อ เป็นต้น
  • การบำบัดด้วยวิธีอื่นๆ ผู้ป่วยหลายคนเลือกใช้การแพทย์ทางเลือกในการรักษาอาการปวด เช่น การนวดกดจุด และการฝังเข็ม ซึ่งพบว่าการฝังเข็มนั้นให้ผลค่อนข้างดี โดยสามารถสลายพังผืด ลดการอักเสบเรื้อรัง คลายกล้ามเนื้อ และช่วยบรรเทาอาการปวดให้ดีขึ้นได้

การป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็ง

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตอย่างเหมาะสม เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก การทำงานในอิริยาบถเดิมนานๆ การเล่นโทรศัพท์มากเกินไป เมื่อออกกำลังกายควรยืดกล้ามเนื้อก่อน และเลือกเครื่องนอนที่เหมาะสมกับสรีระ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงและยืดหยุ่น


18 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Myofascial Pain Syndrome Treatment, Prognosis & Causes. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/muscle_pain/article.htm)
Myofascial Pain Syndrome Treatment & Symptoms. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/12054-myofascial-pain-syndrome)
Myofascial Pain: Treatment, Symptoms, Causes, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/myofascial-pain)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง
พอกันทีกับการซิทอัพ ถึงเวลาเล่นโยคะและพีลาทีสเพื่อกล้ามเนื้อหน้าท้อง

หลากหลายวิธีเพื่อช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อหน้าท้อง

อ่านเพิ่ม
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน
6 วิธีเดินเผาผลาญพลังงาน

ใช้เทคนิคต่อไปนี้มาช่วยเผาผลาญพลังงานระหว่างการเดินกันเถอะ

อ่านเพิ่ม