ทพญ. สิริพัชร ชำนาญเวช ทันตแพทย์ทั่วไป และศัลยศาสตร์ช่องปาก
เขียนโดย
ทพญ. สิริพัชร ชำนาญเวช ทันตแพทย์ทั่วไป และศัลยศาสตร์ช่องปาก

ฟันตกกระ (Mottled enamel) คืออะไร หากเป็นมากทำอย่างไร Veneer ช่วยได้ไหม?

รู้จักภาวะ ฟันตกกระ ซึ่งเกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ผ่านการกินมากเกินไป พร้อมวิธีป้องกันและรักษา ตามระดับความรุนแรง
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2020 อัปเดตล่าสุด 11 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ฟันตกกระ (Mottled enamel) คืออะไร หากเป็นมากทำอย่างไร Veneer ช่วยได้ไหม?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ฟันตกกระ เกิดจากช่วงวัยเด็กได้รับฟลูออไรด์จากการกินมากเกินปกติ เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะไปขัดขวางการสร้างชั้นเคลือบฟันในขณะที่ฟันแท้ยังไม่ขึ้น เมื่อฟันแท้ขึ้นสู่ช่องปากจะเห็นได้ว่าเคลือบฟันบางบริเวณจะมีสีขาวขุ่น 
  • หากมีความรุนแรงมากขึ้น ผิวเคลือบฟันจะขรุขระและมีสีน้ำตาล กรณีที่รุนแรงมาก อาจพบการสูญเสียชั้นเคลือบฟัน (เป็นรูพรุนหรือรอยกะเทาะ) เนื่องจากฟันตกกระมีความแข็งแรงน้อยกว่าปกติ ส่งผลต่อความสวยงาม อาจเกิดการผุได้ง่าย
  • การได้รับฟลูออไรด์สู่ผิวฟันที่มีประโยชน์ในการป้องกันฟันผุ เช่น การเคลือบฟลูออไรด์เจลที่ทำโดยทันตแพทย์ ในกรณีเด็กเล็ก ผู้ปกครองควรใช้ยาสีฟันปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นแปรงให้ และใช้ผ้าสะอาดเช็ดออกเพื่อไม่ให้ล้นและกลืนลงคือ
  • การป้องกันตัวเองเบื้องต้นสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานแคลเซียม นม แต่ในฟันที่เกิดการตกกระขึ้นมาแล้ว การแก้ไขจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง เช่น การฟอกสีฟันโดยทันตแพทย์ การบูรณะฟันด้วยวัสดุบูรณะสีเหมือนฟัน  การทำวีเนียร์
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฟอกสีฟัน

ทุกคนย่อมอยากมีฟันที่สวยงาม ทั้งการเรียงตัวของฟัน ความสะอาด แข็งแรง ที่สำคัญคือลักษณะและสีผิวของฟันที่ปกติ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

สีฟันปกติคือตั้งแต่ขาวออกเหลืองไปจนถึงเหลืองอ่อน แต่มีบางคนที่ฟันมีพื้นผิวไม่เรียบ ฟันเป็นรูพรุน หรือมีสีฟันคล้ำ โดยไม่เกี่ยวกับการรักษาความสะอาด ภาวะดังกล่าวเรียกว่า ฟันตกกระ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฟันตกกระ และสาเหตุที่ทำให้ฟันตกกระคืออะไร?

ฟันตกกระ เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากช่วงวัยเด็กได้รับฟลูออไรด์ทางการกินในปริมาณมากเกินปกติ เป็นระยะเวลานาน ในช่วงระหว่างการสร้างฟัน (Dental fluorosis)

ฟลูออไรด์ที่ได้รับทางการกินเข้าไปนั้น เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะไปขัดขวางการสร้างชั้นเคลือบฟัน (Enamel) ในขณะที่ฟันแท้ยังไม่ขึ้นสู่ช่องปาก

ทำให้ผิวเคลือบฟันสร้างตัวเองไม่สมบูรณ์ เกิดเป็นรูพรุน เมื่อฟันแท้ขึ้นสู่ช่องปากจะเห็นได้ว่าเคลือบฟันบางบริเวณจะมีสีขาวขุ่น เหลืองออกน้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม

โดยผิวเคลือบฟันบริเวณดังกล่าวจะมีความแข็งแรงน้อยกว่าปกติ เสี่ยงต่อการสูญเสียชั้นเคลือบฟัน หรือฟันผุได้ง่าย

ภาวะฟันตกกระมักพบในพื้นที่ที่มีฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำสูง หรือพื้นที่ที่นำน้ำบาดาลมาใช้อุปโภคบริโภค รวมถึงการให้ฟลูออไรด์เสริมแบบเม็ดอมแก่เด็กมากเกินไปโดยที่ไม่ได้ประเมินถึงปริมาณฟลูออไรด์ที่ได้รับจากน้ำดื่มอยู่แล้ว และอีกสาเหตุที่สำคัญคือ การที่เด็กกลืนยาสีฟันเป็นประจำ

อาการ ประเภท และระดับความรุนแรงของฟันตกกระ

ลักษณะของฟันตกกระมีหลายระดับ ขึ้นอยู่กับความรุนแรง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กรณีที่เป็นน้อยๆ มักแสดงออกเป็นบริเวณสีขาวขุ่นแต่มีผิวเรียบเหมือนปกติ และเป็นเฉพาะบางตำแหน่งบนผิวฟัน

หากมีความรุนแรงมากขึ้น ผิวเคลือบฟันจะมีความขรุขระและอาจมีสีน้ำตาล กรณีที่รุนแรงมากๆ อาจพบการสูญเสียชั้นเคลือบฟัน (เป็นรูพรุนหรือรอยกะเทาะ) เนื่องจากเคลือบฟันที่เกิดการตกกระมีความแข็งแรงน้อยกว่าปกติ ทำให้ส่งผลเสียต่อความสวยงาม รวมถึงอาจเกิดการผุได้ง่าย

ประโยชน์และโทษของฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์ นั้นมีประโยชน์อย่างมากในการป้องกันฟันผุ แต่ประโยชน์นั้นจะมีก็ต่อเมื่อเป็นการได้รับฟลูออไรด์สู่ “ผิวฟัน” ในฟันที่ขึ้นอยู่ในช่องปากแล้ว ไม่ใช่จากการกินแล้วกลืนเข้าไป

การได้รับฟลูออไรด์สู่ผิวฟันที่มีประโยชน์ในการป้องกันฟันผุ เช่น การเคลือบฟลูออไรด์เจลที่ทำโดยทันตแพทย์ ซึ่งจะให้ผู้ป่วยอมถาดโฟมใส่ฟลูออไรด์เจลไว้ 4 นาที แล้วบ้วนออกให้หมด หรือการที่ทันตแพทย์ใช้ฟลูออไรด์เข้มข้นทาบางๆ บนผิวฟันแค่ที่จำเป็น รวมทั้งการใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ซึ่งเมื่อใช้แล้วต้องบ้วนทิ้ง ไม่กลืน

ในกรณีเด็กเล็ก ผู้ปกครองควรใช้ยาสีฟันปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นแปรงให้ และใช้ผ้าสะอาดเช็ดออกเพื่อไม่ให้ล้นและกลืนลงคือ อีกทั้งต้องดูแลบุตรหลานในวัยที่เริ่มแปรงฟันเอง ไม่ให้แอบกินหรือกลืนยาสีฟัน

สิ่งที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะฟันตกกระ โดยควรประเมินปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม หากมีปริมาณฟลูออไรด์ในระดับสูงอยู่แล้ว ทันตแพทย์ไม่จำเป็นต้องให้ฟลูออไรด์ชนิดเม็ดเสริมอีก (ซึ่งปัจจุบันก็ไม่ค่อยให้แล้ว)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

บางครั้งอาจจำเป็นต้องลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม โดยการใช้น้ำที่ผ่านเครื่องกรองน้ำระบบ Reverse Osmosis เป็นต้น

จากข้อมูลการสอบสวนโรคฟันตกกระในประเทศไทยพบว่า ผู้มีภาวะฟันตกกระได้รับฟลูออไรด์เข้าสู่ร่างกายปริมาณมากจากการใช้น้ำประปาหมู่บ้านบางพื้นที่ที่มีปริมาณฟลูออไรด์สูงเกิน 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่กำหนด บางพื้นที่พบ 4-5 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยเฉพาะ จ. ฉะเชิงเทรา พบฟลูออไรด์ในน้ำประปาสูงถึง 12 มิลลิกรัมต่อลิตร

ฟลูออไรด์ทำให้ฟันสร้างตัวเองไม่สมบูรณ์ดังที่กล่าวไปแล้ว

ปัจจุบันพบภาวะฟันตกกระในเด็กไทยสูงขึ้นประมาณ 6 เท่าตัว และกระจายไปในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ เช่น จ. เชียงใหม่ จ. ลำพูน จ. ลำปาง ภาคกลางที่ จ. สุพรรณบุรี จ. นครปฐม จ. เพชรบุรี ภาคใต้ จ. สงขลา จ. สุราษฎร์ธานี เป็นต้น ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบได้น้อย

ฟลูออไรด์ สามารถพบได้ตามธรรมชาติ ทั้งดิน หิน น้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็นภูเขา มีบ่อน้ำพุร้อน พวกน้ำบาดาลจะมีฟลูออไรด์เยอะมาก เยอะกว่าแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

ปัญหาคือ การประปาหมู่บ้านหลายๆ แห่งในประเทศไทยไม่สามารถหาแหล่งน้ำธรรมชาติมาทำน้ำประปาสำหรับใช้ในชุมชนได้ จึงต้องใช้น้ำบาดาลมาทำน้ำประปาแจกจ่ายชาวบ้าน

ฟลูออไรด์ไม่มีสี กลิ่น รส จึงไม่มีทางรู้เลย และไม่สามารถทำให้หมดไปด้วยการต้มน้ำให้เดือด

หากเป็นไปได้ คุณควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำจากแหล่งที่กล่าวไปข้างต้น เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะมีฟลูออไรด์สูงเกินมาตรฐานมาดื่มกินหรือนำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะการนำน้ำที่มีฟลูออไรด์สูงมาชงนมให้เด็กดื่มนั้นยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฟันตกกระมาก เพราะวัยเด็กคือวัยที่มีการสร้างกระดูกและฟันแท้กำลังสร้างตัวเอง นอกจากนี้ยังต้องระวังมากในกลุ่มคนที่เป็นโรคไต

การป้องกันฟันตกกระ

การป้องกันตัวเองเบื้องต้นสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานแคลเซียม นม เพราะตัวแคลเซียมที่คุณรับประทาน ไม่ว่าจะเป็นปลาเล็กปลาน้อยหรือนม จะเป็นประจุบวก ส่วนฟลูออไรด์เป็นประจุลบ จะวิ่งเข้าหากันแล้วจับในร่างกาย

ช่วยให้ร่างกายดูดซึมฟลูออไรด์เข้าสู่ร่างกายลดลง และควรออกมารับวิตามินดีจากแสงแดดยามเช้าและเย็นให้มากๆ

การรักษาฟันตกกระ

ในฟันที่เกิดการตกกระขึ้นมาแล้ว การแก้ไขจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง

กรณีที่ไม่รุนแรง เช่น ผิวฟันมีสีขาวขุ่นบ้างเล็กน้อย แต่มีผิวเรียบเหมือนฟันปกติ ไม่มีการสูญเสียชั้นเคลือบฟัน สามารถแก้ไขด้วยการฟอกสีฟันโดยทันตแพทย์ เพื่อปรับให้ฟันมีสีขาวขึ้นใกล้เคียงกัน

หรืออาจใช้วิธีการที่เรียกว่าไมโครอะเบรชัน (Microabrasion) ซึ่งทันตแพทย์จะขัดเอาเฉพาะผิวฟันส่วนบนที่มีสีขาวขุ่นออกไปเล็กน้อย

หรือการใช้สารที่ส่งเสริมการคืนกลับของแร่ธาตุเข้าสู่ผิวฟัน เช่น CPP-ACP ทาที่ผิวฟัน จะช่วยให้รอยขุ่นขาวน้อยลงได้

ในกรณีที่ภาวะฟันตกกระรุนแรงมากจนไม่สามารถแก้ไขโดยวิธีข้างต้นได้ อาจแก้ไขโดยการบูรณะฟันด้วยวัสดุบูรณะสีเหมือนฟัน (วัสดุอุดฟัน) หรือกรณีฟันหน้าที่ต้องการความสวยงาม อาจบูรณะด้วยการทำวีเนียร์ (Veneer-เคลือบฟันเทียม)

แต่ถ้าเกิดการสูญเสียชั้นเคลือบฟันในบริเวณกว้าง หรือชั้นเคลือบฟันมีความอ่อนแอมาก ควรได้รับการบูรณะด้วยการทำครอบฟัน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฟอกสีฟัน จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ทำเขี้ยวฝังเพชร ทำเขี้ยวเพชรคืออะไร? ทำฟันติดเพชร คืออะไร? ทำเขี้ยวเพชร ใช้เพชรอะไรทำ? , (https://hdmall.co.th/c/canine-teeth-decoration-with-diamond).
ทพญ. สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา, ‘ฟลูออไรด์’ ภัยเงียบในน้ำดื่ม น้ำใช้(https://med.mahidol.ac.th/ramachannel/old/index.php/knowforhealth-20150109-4/), 9 มกราคม 2558.
อ. ทพ. นัฑวิชญ์ นิยมสุจริต, ฟันตกกระ (Dental Fluorosis) (https://dt.mahidol.ac.th/th/ฟันตกกระ/).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรเป็นสาเหตุของแผลร้อนใน?
อะไรเป็นสาเหตุของแผลร้อนใน?

เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่น่าจะเป็นสาเหตุของแผลร้อนใน

อ่านเพิ่ม
5 สมุนไพรมากสรรพคุณสำหรับช่องปาก
5 สมุนไพรมากสรรพคุณสำหรับช่องปาก

จบทุกปัญหาสุขภาพช่องปากด้วย 5 สมุนไพรธรรมชาติ

อ่านเพิ่ม