ลูกเลี้ยงง่ายและโตเร็วด้วยเสียงหัวใจเต้นของแม่

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ลูกเลี้ยงง่ายและโตเร็วด้วยเสียงหัวใจเต้นของแม่

ทางการแพทย์ได้มีผลการทดสอบที่ยืนยันแล้วว่า ทารกที่อยู่ในครรภ์สามารถได้ยินเสียงกระแสเลือด เสียงหัวใจเต้นของแม่ และเสียงเหล่านี้จะเป็นเสียงที่ทารกคุ้นเคยแม้ว่าจะออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว เสียงหัวใจเต้นของแม่จะทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยและคุ้นเคยมากกว่าเสียงอย่างอื่น

ทางการแพทย์ได้มีการสรุปจากการทดสอบหลายๆ ครั้งแล้วว่า เสียงหัวใจเต้นของแม่มีผลกับเด็กทารกแรกเกิดมาก เช่น หากอุ้มลูกและให้ศีรษะลูกซบอยู่ทางบ่าซ้ายของแม่ ให้ใกล้ๆ กับหัวใจของแม่ จะสังเกตได้ว่าเด็กจะไม่ค่อยร้องไห้กวนใจ และจะเลี้ยงง่ายกว่าถ้าอุ้มลูกไปอีกด้าน เมื่อศีรษะของลูกอยู่ชิดแนบอกกับแม่จะได้ยินเสียงหัวใจเต้นของแม่ได้ชัดเจน ซึ่งเด็กทารกจะรู้สึกอบอุ่นและคุ้นเคยมากกว่าและทำให้หลับง่ายกว่าท่าอื่น นอกจากนั้นหากเด็กที่ร้องไห้มากๆ โดยไม่มีสาเหตุ หากลองเปิดเสียงหัวใจเต้นของแม่หรืออุ้มลูกให้แนบกับอกแม่เพื่อให้ลูกได้ยินเสียงหัวใจเต้นของแม่ เด็กที่ร้องจะหยุดและหลับง่ายขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อทารกรู้สึกปลอดภัย การเรียนรู้และการพัฒนาระบบต่างๆ ก็จะสามารถทำงานได้ดีขึ้น การกินนมและการนอนหลับก็จะดีขึ้นทำให้ร่างกายของเด็กเติบโตได้ดี เมื่อเด็กนอนหลับ กินอิ่ม ก็จะเลี้ยงง่ายและโตเร็วนั้นเองค่ะ

นอกจากนั้นเสียงหัวใจของแม่ยังเป็นเหมือนเพลงกล่อมเด็กให้กับทารกด้วย เพราะลูกเคยชินกับเสียงนี้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ นอกจากการให้ทารกได้ฟังเสียงหัวใจเต้นของแม่เพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและคุ้นเคยแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นการพัฒนาการฟังของทารกอีกด้วย ทั้งยังทำให้ลูกนอนหลับง่ายและอารมณ์ดี


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Noboru Kobayashi, The Soothing Effect of the Mother's Heart-Part 2 (https://www.childresearch.net/...), 1 January 2003
Allison Eck, Babies Rely on Mother's Voice and Heartbeat To Develop Healthy Brains (https://www.pbs.org/wgbh/nova/...), 25 Febuary 2015

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป