การศึกษาใหม่ ๆ พบว่า มันไม่เป็นไรนะ ที่จะให้ทารกของคุณร้องไห้กลางดึก

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การศึกษาใหม่ ๆ พบว่า มันไม่เป็นไรนะ ที่จะให้ทารกของคุณร้องไห้กลางดึก

ฉันยังจำได้สมัยที่ลูกคนโตของฉันยังเป็นทารก ฉันรู้สึกปวดใจมากเมื่อเธอร้องไห้กลางดึก ทั้งกุมารแพทย์และแม่ของฉันต่างบอกว่ามันไม่เป็นไรที่จะให้เธอร้องไห้ และให้เธอเรียนรู้การที่จะกลับไปนอนหลับต่อเอง แต่ระหว่างที่ฉันเฝ้าฟังเธอร้องไห้ ฉันก็ได้แต่สงสัยว่าสิ่งนี้จะทำให้เธอยิ่งเครียดรึเปล่า มันจะมีผลกระทบต่ออารมณ์ของเธอหรือไม่ หรือมันจะทำให้ความสัมพันธ์เราแย่ลง

คำตอบต่อความสงสัยเหล่านั้น อ้างอิงจากการศึกษาใหม่ ๆ ที่ตีพิมพ์ลงในวารสารกุมารแพทย์ คือ “ไม่” ไม่เลย นอกเพียงไปจากหากฉันได้กล่อมเธอนอน (แต่ฉันก็ไม่ได้ทำ เพราะฉันมัวแต่กังวลเสียมากเกินไป) ลูกสาวของฉันและฉันคงได้นอนมากขึ้นเท่านั้นเอง 

นักวิจัยจากออสเตรเลียได้ทำการศึกษาในครอบครัวที่บอกว่าทารกของพวกเขา (อายุระหว่าง 6-16 เดือน) มีปัญหาการนอนหลับ โดยได้แบ่งครอบครัวเหล่านี้เป็นสามกลุ่ม กลุ่มแรกให้ “ค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาการเข้าไปกล่อม (graduated extinction)” โดยให้พวกเขารอให้ทารกร้องไห้เพียงหนึ่งนาทีแล้วเข้าไปกล่อมโดยทันที จากนั้นให้พวกเขารอเวลาให้ทารกได้ร้องไห้นานขึ้น กลุ่มถัดมาให้ “เลื่อนเวลานอนให้ดึกขึ้น (bedtime fading)” โดยให้พ่อแม่ส่งทารกเข้านอนดึกขึ้น ซึ่งนั่นคือการทำให้ทารกอ่อนเพลียมากขึ้น ส่วนกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่ม “ควบคุม (control)” กลุ่มนี้จะได้รับการอบรมดูแลเกี่ยวกับทารกและการนอนหลับ และไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม 

เพื่อที่จะวัดผลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตัวทารก นักวิจัยได้ทำสิ่งที่น่าสนใจดังต่อไปนี้: วัดระดับ cortisol ฮอร์โมนความเครียดในน้ำลายของเด็กทารก รวมถึงยังได้ถามคำถามถึงเหล่าแม่ ๆ เกี่ยวกับระดับความเครียดของพวกเธอ 12 เดือนหลังจากนั้น พวกเขาจึงเริ่มดูถึงเรื่องปัญหาอารมณ์และพฤติกรรมของทารกเหล่านั้น รวมถึงทดสอบความผูกพันธ์ของทารกที่มีต่อมารดา

และนี่คือผลลัพธ์ของการศึกษาที่พวกเขาพบ ทารกในกลุ่มแรกและกลุ่มที่สองต่างนอนหลับได้เร็ว และมีความเครียดน้อยกว่ากลุ่มควบคุม นอกจากนี้แม่ของทารกเหล่านั้นยังมีความเครียดน้อยกว่าแม่ของทารกในกลุ่มควบคุมอีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกันในสามกลุ่ม กลุ่ม “ค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาการเข้าไปกล่อม” นั้นมีแนวโน้มที่จะตื่นกลางดึกน้อยที่สุด ส่วนในแง่ปัญหาอารมณ์และพฤติกรรม รวมถึงความผูกพันธ์ต่อมารดานั้นไม่พบความแตกต่างกันในสามกลุ่มตัวอย่าง 

นั่นหมายความว่า มันไม่เป็นไรหรอกที่จะให้ทารกของคุณได้ร้องไห้ และมันไม่ใช่แค่นั้น เพราะมันอาจช่วยให้ทารกของคุณนอนหลับได้ดีขึ้นตลอดขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นผลดีแก่ทุกคน

ในอีกการศึกษาหนึ่งที่ได้รับการตีพิมพ์เมื่อสีปีก่อน นักวิจัยได้ศึกษาไปมากกว่านั้นอีกหลายปี และได้เปรียบเทียบครอบครัวสองกลุ่ม ระหว่างกลุ่มที่ได้ฝึกการนอนหลับในทารก และกลุ่มที่ไม่ได้ทำ โดยได้ศึกษาต่อเนื่องไปอีก 6 ปี ผลออกมาพบว่าไม่มีความแตกต่างระหว่างสองกลุ่มนี้ ไม่ว่าพ่อแม่จะให้ทารกร้องไห้ตลอดคืน หรือเข้าไปกล่อมตลอดเวลา ทารกเหล่านี้ต่างเติบโตมาเป็นเด็กที่มีลักษณะไม่ต่างกัน

เราสามารถนอนหลับได้อย่างไร้กังวล และมีเด็กที่สามารถปรับตัวได้ง่ายที่รักเรา มีอะไรจะดีกว่านี้อีกมั้ย ? 

เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน การ “ค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาการเข้าไปกล่อม” นั้นไม่ได้หมายถึงการที่คุณปล่อยให้ทารกของคุณร้องไห้ตลอดคืน แต่มันหมายถึงการที่คุณได้ให้ทารกของคุณเรียนรู้การที่จะผ่อนคลายตัวเองเมื่อเขาตื่นขึ้นมากลางดึก แทนที่จะพึ่งพาคุณให้กล่อมทุกครั้ง (ดร. Richard Ferber ได้เขียนหนังสือที่มีชื่อว่า “การจัดการกับปัญหาการนอนหลับของลูกของคุณ (Solve Your Child’s Sleep Problems)” ที่อธิบายถึงเรื่องนี้ และมีประโยชน์อย่างมาก)

มันเป็นเรื่องธรรมดาที่คุณจะทำทุกวิธีให้ทารกของคุณหยุดร้องไห้ แต่หลายครั้ง เหตุการณ์สำคัญในชีวิตอาจมีต้องเคล้าน้ำตาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่จะกลับไปนอนต่อ การหัดเดิน (ที่อาจต้องมีการล้มลุกคลุกคลาน) การเริ่มไปโรงเรียนวันแรก (ยากที่จะแยกจากพ่อแม่) ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ ๆ (เด็กบางคนอาจมีนิสัยที่ไม่น่ารักเสียเท่าไร) การแข่งกีฬา (ที่ไม่มีทางที่คุณจะชนะได้เสมอ) การฝึกขับรถ (ไม่สิ อันนี่ควรเป็นพ่อแม่เสียมากกว่าที่อาจจะต้องเสียน้ำตา) การที่ไม่เคยให้ลูกของคุณได้ร้องไห้ไม่ได้เป็นการช่วยเหลือพวกเขาเลย อีกแง่หนึ่งมันอาจเป็นการทำร้ายพวกเขาเสียด้วย และต้องยอมรับด้วยว่า การที่พวกเราเองได้นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ จะทำให้เราเป็นพ่อแม่ที่ดีได้มากขึ้น

แต่หากทารกของคุณตื่นและร้องไห้กลางดึกบ่อยครั้ง อาจจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพราะยังมีอีกหลายเหตุผลที่ทำให้ทารกของคุณตื่นมาร้องไห้กลางดึก หากแพทย์แจ้งว่าทุกอย่างปกติปลอดภัยดี คุณไม่จำเป็นต้องตื่นมากล่อมลูกทุกครั้ง ลูกของคุณจะปลอดภัยแข็งแรงดี


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
New study says that it’s okay to let babies cry at night. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/blog/new-study-says-okay-let-babies-cry-night-201605319774)
Leaving babies to cry 'will improve their sleep', study says. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/news/pregnancy-and-child/leaving-babies-to-cry-will-improve-their-sleep-study-says/)
The Ferber Method and Getting Your Kids to Sleep. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/the-ferber-method-dr-ferbers-sleep-book-2634262)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป