กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

4 เทคนิคช่วยให้ลูกนอนหลับได้นานขึ้น

อ่านวิธีที่ทำให้ลูกน้อยหลับได้นานขึ้น สามารถทำได้ด้วยตัวเอง ช่วยให้คุณแม่มีเวลาทำอย่างอื่นมากยิ่งขึ้น
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 15 ธ.ค. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
4 เทคนิคช่วยให้ลูกนอนหลับได้นานขึ้น

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เทคนิค 1 ควบคุมแสงสว่างในห้อง ควรเปิดไฟสลัวๆ จากนั้นค่อยกล่อมเขาให้หลับ และเปิดไฟนั้นทิ้งไว้ตลอดคืน เพราะหากเด็กตื่นมากลางดึก เขาจะสามารถหลับต่อได้หากคุ้นเคยกับสภาวะห้องนอนของเขา 
  • เทคนิค 2 ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องนอนลูก หากลูกรู้สึกหนาวหรือร้อนเกินไป เขาจะรู้สึกไม่สบายตัวทำให้ตื่นได้ง่าย อุณหภูมิที่เหมาะในการนอนคือประมาณ 24-26 องศาเซลเซียส
  • เทคนิค 3 ควบคุมเสียง มีการศึกษาว่าเพียงแค่เสียงการจราจรธรรมดา หรือเสียงเพลงเบาๆ ก็ยังรบกวนการนอนได้ ลองแก้ไขด้วยการย้ายที่นอนหรือห้องนอนของลูกไปอยู่ในโซนที่เงียบสงบกว่าของบ้าน
  • เทคนิค 4 ทำให้เด็กสนใจอยากนอนต่อ หากเด็กตื่นมาแล้วเห็นสิ่งอื่นๆ ที่น่าสนใจ ก็ไม่ค่อยร้องออกมาหลังตื่นนอนทันที ดังนั้นหากเราลองแขวนโมบายล์เล็กๆ ไว้เหนือเปล 
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร

เด็กหลายคนเวลานอนหลับ มักจะรู้สึกตัวตื่นได้ง่าย บางคนนอนหลับไปได้สักครู่ก็จะตื่นขึ้นมาร้องกวนใจคุณพ่อคุณแม่ หากเป็นเวลากลางวันที่คุณพ่อคุณแม่ยังพอมีแรงก็ไม่ค่อยจะเป็นปัญหาเท่าไรนัก แต่หากเป็นกลางคืน หากลูกน้อยของคุณนอนหลับเพียงไม่นานแล้วก็ต้องตื่น ร้องเรียกหาคุณตลอดคืนคงจะไม่ดีแน่ วันนี้เรามีเทคนิคที่จะช่วยให้ลูกน้อยของคุณนอนหลับได้มากและนานขึ้น

1. ควบคุมแสงสว่างในห้อง

แสงอาทิตย์ที่ส่องเข้ามาจากทางหน้าต่างห้อง แสงสว่างจากหลอดไฟในห้อง รวมไปถึงแสงไฟอื่นๆ ที่อาจจะลอดเข้ามาในห้อง ล้วนมีผลต่อการนอนหลับของลูก คุณควรที่จะควบคุมแสงสว่างให้ดี อย่าให้แสงเหล่านี้เข้ามารบกวนการนอนของลูกคุณเป็นอันขาด 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ดังนั้นหากจะให้ลูกหลับในเวลากลางคืน อาจจะเปิดไฟสลัวๆ ไว้ให้พอมองเห็น จากนั้นค่อยกล่อมเขาให้หลับ และเปิดไฟนั้นทิ้งไว้ตลอดคืนค่ะ เพราะบ่อยครั้งที่เด็กรู้สึกตัวขึ้นมากลางดึก เขาจะสามารถหลับต่อได้เองหากเขาคุ้นเคยกับสภาวะห้องนอนของเขา แต่การนอนในห้องที่มืดสนิทตั้งแต่เด็กจะลดอาการกลัวการนอนในที่มืดของเด็กเมื่อโตขึ้นได้ และความมืดยังช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งเป็นยานอนหลับตามธรรมชาติ ทำให้ลูกนอนหลับได้เร็วขึ้น

2. ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องนอนลูก

หากลูกน้อยของคุณรู้สึกหนาวหรือร้อนเกินไป ร่างกายของเขาจะรู้สึกไม่สบายตัวทำให้ตื่นได้ง่าย รวมไปถึงหากคุณตั้งเวลาให้ปิดแอร์ในตอนเช้ามืด เมื่ออากาศเปลี่ยนหลังปิดแอร์ ลูกน้อยของคุณจะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ บ่อยครั้งเด็กจึงตื่นขึ้นมาหลังจากปิดแอร์ได้ไม่นาน นอกจากนั้นหากอุณหภูมิของห้องหนาวหรือร้อนเกินไป ก็จะทำให้เด็กนอนไม่สบายตัว อุณหภูมิที่เหมาะในการนอนคือประมาณ 24-26 องศาเซลเซียส ดังนั้นหากอยากให้ลูกนอนหลับได้นานขึ้น ก็อาจจะตั้งเวลาปิดแอร์ให้ช้าลงกว่าเดิมเพื่อให้เด็กนอนได้นานขึ้น

3. ควบคุมเรื่องเสียง

บ่อยครั้งที่เด็กตกใจตื่นเพราะเสียงที่ดังมาจากรอบบ้าน เช่น เสียงเห่าจากสุนัขในบ้าน เสียงรถยนต์วิ่ง เสียงแตร หรือเสียงกริ่งหน้าบ้านของคุณเอง มีการศึกษาว่าเพียงแค่เสียงการจราจรธรรมดา หรือเสียงเพลงเบาๆก็ยังสามารถรบกวนการนอนได้ ลองแก้ไขด้วยการย้ายที่นอนหรือห้องนอนของลูกไปอยู่ในโซนที่เงียบสงบกว่าของบ้าน 

4. สร้างบรรยากาศ และจุดสนใจให้ลูก

เด็กๆ มักจะตื่นง่าย แต่ส่วนใหญ่ก็จะสามารถนอนหลับต่อได้เอง และหากเขามองเห็นสิ่งอื่นๆ ที่น่าสนใจ เขาก็ไม่ค่อยร้องออกมาหลังตื่นนอนทันที ยกเว้นว่าเขารู้สึกไม่สบายตัว ดังนั้นหากเราลองแขวนโมบายล์เล็กๆ ไว้เหนือเปล หรือเตียงของลูกในระดับที่ลูกสามารถมองเห็นได้ คือประมาณ 1-3 ฟุตจากระยะสายตา เวลาที่ลูกตื่น เขาก็จะจ้องมองโมบายล์และสุดท้ายก็จะหลับต่อได้เอง นอกจากนั้นคุณอาจจะเล่นกับลูกในห้องนอนตอนกลางวัน เพื่อให้ลูกคุ้นเคยกับสภาวะแวดล้อมของห้องมากขึ้น เพื่อที่เวลาเขาตื่นมา เขาจะไม่ตกใจมาก

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android



2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Xie H, Kang J, Mills GH. Clinical review: The impact of noise on patients' sleep and the effectiveness of noise reduction strategies in intensive care units. Crit Care. 2009;13(2):208.
Irish LA, Kline CE, Gunn HE, Buysse DJ, Hall MH. The role of sleep hygiene in promoting public health: A review of empirical evidence. Sleep Med Rev. 2014;22:23-36.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป