Minidoz vs Cerazette

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ธ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
Minidoz vs Cerazette

สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีข้อห้ามใช้ แต่ทนกับอาการคลื่นไส้, อาเจียน, ปวดศีรษะ, บวมน้ำ และฝ้า ซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่ได้ ก็คงต้องเปลี่ยนไปใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมยี่ห้อที่มีปริมาณเอสโตรเจนลดลง หรือใช้ยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวซึ่งจะไม่มีเอสโตรเจนแทนนะคะ

วันนี้จึงขอนำยาคุมยี่ห้อมินิดอซ ซึ่งเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมยี่ห้อที่มีปริมาณเอสโตรเจนต่ำที่สุดในท้องตลาด (เช่นเดียวกับไมนอซที่เป็นสูตรเดียวกัน) มาเปรียบเทียบกับยาคุมยี่ห้อซีราเซท ซึ่งเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวที่ใช้ฮอร์โมนรุ่นใหม่ มาเปรียบเทียบกันเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจได้ลองพิจารณาค่ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

1. รูปแบบและวิธีใช้


ใน 1 แผงของ มินิดอซจะมีเม็ดยา 28 เม็ด

โดยเป็น “เม็ดยาฮอร์โมน” 24 เม็ด + “เม็ดแป้ง” 4 เม็ด

ใน 1 แผงของ ซีราเซทจะมีเม็ดยา 28 เม็ด

ซึ่งเป็น “เม็ดยาฮอร์โมน” ทั้งหมด (ไม่มี “เม็ดแป้ง”)

ทั้งมินิดอซและซีราเซท มีเม็ดยาแผงละ 28 เม็ดเหมือนกันทั้งคู่นะคะ เมื่อใช้หมดแผงแล้วจึงต้องต่อแผงใหม่ในวันถัดมา ไม่ต้องเว้นว่างเพิ่มเติมอีก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

แต่มินิดอซจะมี “เม็ดยาฮอร์โมน” (ซึ่งเป็นเม็ดสีเหลือง) อยู่ 24 เม็ด และมี “เม็ดแป้ง” (ซึ่งเป็นเม็ดสีเขียว) อยู่ 4 เม็ด นั่นก็คือผู้ใช้จะมีทั้ง “ช่วงที่ได้รับฮอร์โมน” และ “ช่วงที่ปลอดฮอร์โมน” ในการใช้ยาคุมแต่ละแผง

ซึ่งประจำเดือนจะมาในช่วงปลอดฮอร์โมน ผู้ที่ใช้มินิดอซจึงมีประจำเดือนมาตามรอบปกติทุก ๆ เดือนนั่นเอง

ส่วนซีราเซท ทั้ง 28 เม็ดเป็น “เม็ดยาฮอร์โมน” ทั้งหมดค่ะ (สังเกตได้ว่าเม็ดยาจะเป็นสีเดียวกัน และมีขนาดเท่ากันทุกเม็ด) การที่ไม่มี “เม็ดแป้ง” นั่นหมายถึงผู้ใช้จะไม่มี “ช่วงปลอดฮอร์โมน” จึงอาจทำให้ผู้ใช้ไม่มีประจำเดือน หรือมีประจำเดือนมาไม่เป็นรอบปกติ

ยาคุมแบบ 28 เม็ดส่วนใหญ่ที่มีใช้ในท้องตลาด มักจะเป็นยาคุมชนิดฮอร์โมนรวม ซึ่งมีสัญลักษณ์กำกับลำดับการใช้เป็นเลข 1 – 28 แม้ว่าจะมีจุดเด่นที่ไม่ต้องเว้นว่างหลังใช้ยาคุมหมดแผง จึงไม่ต้องกังวลว่าจะลืมต่อยาคุมแผงใหม่ตามกำหนด แต่ก็มีจุดอ่อนตรงที่ผู้ใช้จะตรวจสอบได้ยากว่าในแต่ละวันมีการรับประทานยาคุมไปแล้วหรือยัง ทำให้เสี่ยงที่จะรับประทานไม่ครบหรืออาจรับประทานซ้ำซ้อนได้ ต่างจากยาคุมแบบ 21 เม็ดที่ระบุตัวย่อของวันในสัปดาห์ไว้ที่แผง ซึ่งช่วยให้ตรวจสอบการใช้ยาในแต่ละวันในง่ายกว่า

แต่สำหรับยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวอย่างซีราเซท (รวมถึงเอ็กซ์ลูตอนและเดลิตอนที่เป็นยาคุมชนิดเดียวกัน) แม้จะเป็นยาคุมแบบ 28 เม็ด แต่เนื่องจากทุก ๆ เม็ดมีฮอร์โมนเหมือนกันทั้งชนิดและปริมาณ ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลว่าจะรับประทานผิดลำดับ หรือใช้ “เม็ดแป้ง” แทน “เม็ดยาฮอร์โมน” จึงมีการระบุที่แผงยาเป็นตัวย่อของวันในสัปดาห์ เพียงเพื่อให้ตรวจสอบการใช้ประจำวันได้ง่าย (เพราะต่อให้รับประทานสลับเม็ดก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรอยู่แล้ว)

ดังนั้น ถ้าพิจารณาตามนี้จะเห็นว่าซีราเซทใช้ง่ายกว่ามินิดอซนะคะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อย่างไรก็ตาม ในกล่องยาคุมมินิดอซรุ่นใหม่ จะมีแถบสติ๊กเกอร์มาให้ผู้ใช้เลือกมาติดที่ด้านบนของแผงยา เพื่อให้ตรวจสอบการใช้ประจำวันได้ค่ะ

ตามภาพตัวอย่าง ก็คือผู้ใช้เริ่มรับประทานเม็ดแรกของแผงในวันอังคาร ก็จะเลือกแถบสติ๊กเกอร์ที่เริ่มต้นจากวันอังคารมาติดไว้ที่ด้านบนของแผง

เมื่อทำเช่นนี้แล้ว ก็จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบและแกะเม็ดยามาใช้ให้ตรงกับวันที่รับประทานได้สะดวกขึ้น แก้ไขได้ง่ายหากพบว่ารับประทานไม่ครบ รวมไปถึงช่วยป้องกันการรับประทานซ้ำซ้อนได้นั่นเองค่ะ

ดังนั้น จึงถือว่าทั้งมินิดอซและซีราเซทมีรูปแบบของแผงยาที่ใช้ได้สะดวกและเข้าใจได้ง่ายทั้งคู่นะคะ

2. ตัวยาสำคัญ, ประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง

เม็ดยาลำดับที่ 1 – 24 ของ มินิดอซ ประกอบด้วย

  • Ethinylestradiol 0.015 มิลลิกรัม
  • Gestodene 0.060 มิลลิกรัม
  • Desogestrel 0.075 มิลลิกรัม

เม็ดยาลำดับที่ 25 – 28 ของ มินิดอซ เป็น

  • เม็ดแป้ง ไม่มีตัวยาฮอร์โมน

เม็ดยาลำดับที่ 1 – 28 ของ ซีราเซท ประกอบด้วย

การที่มินิดอซมีปริมาณฮอร์โมนน้อยมาก เมื่อเทียบกับยาคุมชนิดฮอร์โมนรวมยี่ห้ออื่น ๆ ในท้องตลาด (ยกเว้นไมนอซซึ่งเป็นยาคุมสูตรเดียวกัน) ทำให้ผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดศีรษะ, บวมน้ำ และฝ้า พบได้น้อยมาก รวมถึงผลข้างเคียงจากฮอร์โมนโปรเจสติน เช่น สิว, หน้ามัน และขนดก ก็พบได้น้อยมากเช่นกันค่ะ

ส่วนซีราเซท เนื่องจากไม่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนเลย จึงไม่พบผลข้างเคียงจากเอสโตรเจนนะคะ ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือทนผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจนไม่ได้เลย

และการที่ซีราเซทใช้ฮอร์โมนโปรเจสตินรุ่นใหม่ ทำให้พบผลข้างเคียงจากโปรเจสตินได้น้อยมาก อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงเด่น ๆ ของยาคุมชนิดฮอร์โมนโปรเจสตินเดี่ยวที่ทำให้ผู้ใช้ไม่พึงพอใจนักก็คือ อาจมีปัญหาเลือดกะปริบกะปรอย, ประจำเดือนไม่ปกติ หรือไม่มีประจำเดือนนั่นเองค่ะ

ดังนั้น สำหรับผู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน เพียงแต่ทนผลข้างเคียงในเรื่องคลื่นไส้, อาเจียน, ปวดศีรษะ, บวมน้ำ หรือฝ้า จากยาคุมเดิมที่มีปริมาณเอสโตรเจนมากกว่าไม่ได้ และต้องการให้มีประจำเดือนมาตามรอบปกติ การใช้มินิดอซน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าค่ะ

แต่ถ้าใช้มินิดอซแล้วยังทนผลข้างเคียงจากยาไม่ได้ หรือมีข้อจำกัดในการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนอยู่แล้ว การใช้ซีราเซทก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่านะคะ

ไม่ว่าจะใช้มินิดอซหรือซีราเซท ถ้ารับประทานถูกต้องและตรงเวลาสม่ำเสมอก็มีประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดไม่แตกต่างกันค่ะ นั่นคือ มีโอกาสตั้งครรภ์น้อยมากเพียงแค่ 0.3% เท่านั้น

แต่ถ้ารับประทานซีราเซทช้ากว่าเวลาปกติเกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป จะไม่มีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องนะคะ ในขณะที่มินิดอซจะไม่มีผลคุมกำเนิดต่อเนื่องถ้าลืมรับประทานเม็ดยาฮอร์โมนติดต่อกันตั้งแต่ 2 วันขึ้นไป ดังนั้น จึงต้องเพิ่มความระมัดระวังและรับประทานยาคุมให้ตรงเวลาสม่ำเสมอค่ะ

สรุปก็คือ ประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ของทั้ง 2 ยี่ห้อไม่ต่างกันถ้าใช้ถูกต้องและตรงเวลาสม่ำเสมอ ส่วนผลข้างเคียงของซีราเซทแม้จะน้อยกว่ามินิดอซ แต่ก็อาจทำให้ผู้ใช้ไม่พึงพอใจมากกว่า ดังนั้น จึงถือว่าเสมอกันนะคะ

2. ราคา

ยาคุม มินิดอซ ราคาแผงละ 170 – 230 บาท

ยาคุม ซีราเซท ราคาแผงละ 230 – 250 บาท

โดยทั่วไป ยาคุมซีราเซทจะมีราคาสูงกว่ายาคุมมินิดอซค่ะ

จากที่กล่าวมาทั้งหมด สิ่งสำคัญอยู่ที่ข้อจำกัดและความต้องการของผู้ใช้แต่ละรายค่ะ จึงไม่สามารถสรุปได้ว่ายาคุมยี่ห้อใด “ดีกว่า” ยี่ห้อใด เพราะทางเลือกที่ดีสำหรับคนหนึ่ง อาจเป็นทางเลือกที่แย่สำหรับอีกคนก็ได้ ดังนั้น แนะนำให้เลือกใช้ยาคุมตาม “ความเหมาะสม” ของตัวเราเองนะคะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
The progestogen-only pill. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/the-pill-progestogen-only/)
Is Cerazette the minipill of choice?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14531209)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)