ยาช่วยย่อย มีอะไรบ้าง ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย?

รู้จักประโยชน์ของยาช่วยย่อย การปรับพฤติกรรมเพื่อบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ตัวอย่างยาช่วยย่อย และวิธีรับประทานที่ถูกต้อง
เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยาช่วยย่อย มีอะไรบ้าง ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย?

ก่อนจะรู้จัก ยาช่วยย่อย ควรทำความรู้จักอาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดท้องส่วนบน ท้องอืด จุกเสียดแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ รู้สึกอึดอัดไม่สบายตัว คลื่นไส้ เรอ อาเจียน บางคนอาจมีอาการแสบร้อนกลางอกหลังรับประทานอาหาร พบได้บ่อยในผู้ที่รับประทานอาหารแล้วนอนทันที หรือกินอาหารไม่เป็นเวลา น้ำย่อยจึงหลั่งไม่เหมาะสม และผู้ที่มีระบบย่อยอาหารผิดปกติ

อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่จะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่ในผู้ป่วยบางรายก็เป็นอยู่นาน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการที่เกิดจากอาหารไม่ย่อยสามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาช่วยย่อย หรือการปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิต

ถ้าไม่กินยาช่วยย่อย จะรักษาอาการอาหารไม่ย่อยเองได้อย่างไร?

เมื่อมีอาการอาหารไม่ย่อยแล้วไปปรึกษาแพทย์ ก่อนสั่ง ยาช่วยย่อย ให้รับประทาน แพทย์มักแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต เช่น

  • ลดการรับประทานอาหารเผ็ดร้อน อาหารรสจัด มีไขมันมาก และอาหารย่อยยาก
  • งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือน้ำอัดลม และการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหากรดหลั่งเกินในกระเพาะอาหาร
  • ไม่นอนทันทีภายหลังการรับประทานอาหาร เปลี่ยนเป็นนั่งพักอย่างน้อย 30 นาทีก่อน

หากลองปรับพฤติกรรมแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อรักษา ซึ่งผู้ที่เคยรับประทานยาช่วยย่อยอาจจำลักษณะยาได้ว่ามีแบบรูปสามเหลี่ยม 3 ชั้น บางครั้งได้เป็นเม็ดยาเคลือบสีขาว หรือยาช่วยย่อยเม็ดสีส้ม ยาเหล่านั้นมีวิธีรับประทานเหมือนกัน แต่ภายในประกอบด้วยสารต่างชนิดกัน

ตัวอย่างยาช่วยย่อย

ยาช่วยย่อยนั้นออกฤทธิ์ช่วยย่อยได้ โดยอาศัยเอนไซม์หลายชนิด เช่น เอนไซม์มามายเลส (Mamylase) เอนไซม์ไดแอสเทส (Diastase) เอนไซม์แพนครีเอทิน (Pancreatin)

ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้

  • ยาช่วยย่อย Magesto-F® ลักษณะเม็ดยาเป็นรูปสามเหลี่ยม 3 ชั้น ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดเนื่องจากอาหารไม่ย่อย โดยมีส่วนประกอบของตัวยาคือ เอนไซม์มามายเลส 37.5 มิลลิกรัม เอนไซม์ไดแอสเทส 25 มิลลิกรัม สารสกัดสโคโปเลีย 2.5 มิลลิกรัม โซเดียมไบคาร์บอเนต 50 มิลลิกรัม แคลเซียมคาร์บอเนต 200 มิลลิกรัม อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์เจล 36.635 มิลลิกรัม น้ำมันอบเชย 0.3 มิลลิกรัม น้ำมันกานพลู 0.3 มิลลิกรัม น้ำมันเมล็ดยี่หร่า 0.3 มิลลิกรัม น้ำมันขิง 0.4 มิลลิกรัม และเมนทอล 1 มิลลิกรัม
  • ยาช่วยย่อย Combizym® ลักษณะเป็นเม็ดยาเคลือบสีขาว ประกอบด้วยตัวยา ดังนี้ เอนไซม์แพนครีเอติน (เอนไซม์ไลเปส (Lipase) 7,400 U, เอนไซม์โพรทีเอส (protease) 420 U, เอนไซม์อะไมเลส (amylase) 7,000 U) และเอนไซม์เข้มข้นจากราชนิด Aspergillus oryzae (เอนไซม์เซลลูเลส (Cellulase) 70 U, เอนไซม์โพรทีเอส (protease) 10 U, เอนไซม์อะไมเลส (amylase) 170 U)
  • ยาช่วยย่อย Gaszym® เม็ดยาสีส้ม ประกอบด้วยตัวยาไซเมติโคน 40 มิลลิกรัม และแพนครีเอติน 200 มิลลิกรัม

วิธีรับประทานยาช่วยย่อยที่ถูกต้อง

ยาช่วยย่อยทั้งหมดในตัวอย่างมีวิธีรับประทานเหมือนกัน คือให้รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3 เวลา หลังอาหาร เวลามีอาการอาหารไม่ย่อย จุกเสียด หรือแน่นท้อง เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย ไม่พบผลข้างเคียง


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mims, Simethicone (https://www.mims.com/thailand/drug/search?q=simethicone). 21 October 2019.
Mims, Omeprazole (https://www.mims.com/thailand/drug/search?q=Omeprazole). 21 October 2019.
Katzung&Trevor’s. Pharmacology Examination & Board Review. 11th Edition. P.438-491.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)