ความคลาดเคลื่อนทางยา

ความคลาดเคลื่อนทางยามีอะไรบ้าง และจะป้องกันได้อย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 8 นาที
ความคลาดเคลื่อนทางยา

หลังจากนินทาผู้ป่วยมาหลายครั้งแล้ว วันนี้ขอเปลี่ยนบรรยากาศมานินทาคุณหมอบ้างดีกว่า (ฮ่า…) แต่เพื่อสวัสดิภาพอันดีในชีวิต
ของดิฉัน ต้องขออภัยที่ไม่สามารถจะเอ่ยนามผู้ถูกนินทาได้ว่าลายมืออ่านยากมากกกกก..ก…ก….. (คงเพราะกรรมเก่าสมัยเรียนที่เราก็เขียนลายมือไก่เขี่ยให้ครูบาอาจารย์อ่าน ฮ่า…) ตะแคงซ้ายก็แล้ว ตะแคงขวาก็แล้ว ยังได้แต่งงงวยว่า “เพิ่นเขียนอิหยังมาน้อ…” อยู่ดี ^_^

แถมคุณหมอบางท่านก็เขียนด้วยปากกาเส้นเล็ก ถ้าใช้แรงกดน้อย เภสัชกร (บางแห่ง) ที่ต้องอ่านคำสั่งจากกระดาษก็อบปี้ก็รู้สึกเหมือนว่าได้เจอ ‘มดย่องบนใบสั่งยา’ ยังไงยังงั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 

ในขณะที่บางท่าน น่าจะแอบกะอายุเภสัชกรจากรอยตีนกาไว้แล้ว ตัวหนังสือที่เขียนมาเลยโตเท่าหม้อแกง อาจจะดูเปลืองพื้นที่ใบสั่งยา แต่ยอมรับเลยค่ะว่าอ่านง่ายดีเหลือเกิน (ยอมรับแค่ว่าอ่านง่าย ไม่ได้ยอมรับว่าแก่แล้วสายตาฝ้าฟางนะคะ ฮ่า…)

 

นอกจากจะงงกับการแกะลายมือแล้ว บางทีก็งงกับการตีความหมายของคำค่ะ เช่น ใบสั่งยาใบหนึ่ง คุณหมอหนุ่มรูปหล่อเขียนกำชับให้แนะนำผู้ป่วยว่า ‘ห้ามย่าง

 

rx04เอ๊ะ! ห้ามย่างอะไรอ่ะ? คุณพี่คนสวยคิดว่าคุณหมอหมายถึงห้ามย่างไฟ หรือห้ามเดินกันแน่คะ (หมายเหตุ ภาษาอีสานวันละคำ ย่าง = เดิน)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

rx15โถ… คุณน้องคนงาม คุณพี่ว่าน่าจะหมายถึงห้ามย่างไฟนะ เพราะผู้ป่วยรายนี้ขี่รถล้มมา เวลาเกิดอุบัติเหตุ บางทีชาวบ้านเค้าก็มีความเชื่อว่าให้ย่างไฟไม่ให้เลือดคั่งน่ะ อีกอย่าง…. แม้หน้าตาจะออกแนว ‘ไทบ้าน’ แต่แท้จริงแล้วคุณหมอเค้าเป็นหนุ่มเมืองกรุง คงไม่รู้ภาษาอีสานวันละคำนั่นหรอก

rx04เอ๊า… ก็ได้ยินข่าวซุบซิบมาว่าคุณหมอเค้าอยากจะเป็นเขยอีสาน เลยนึกว่าจะหัดพูดให้คล่องปากนี่นา

 

หมายเหตุ…. ภาพเบื้องหลังการสนทนานี้ มีอาซิ้มหน้าโทรม ๆ สองคนกำลังนั่งคุยกันอยู่ ฮ่า…

 

นอกจากใบสั่งยาบางใบจะทำให้เภสัชกรปวดตา+ปวดหัวแล้ว ใบสั่งยาบางใบก็ทำให้เภสัชกรบางคนปวดใจได้ด้วย เช่นใบสั่งยาใบหนึ่ง เขียนว่า…

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ฝากเภสัชกรตรวจสอบยาที่ผู้ป่วยนำมาจากที่อื่น แล้วแจ้งชื่อยาให้แพทย์ทราบด้วย

(ผู้ป่วยบอกว่านำมาให้เภสัชกรผู้หญิงตัวอ้วน ๆ ไว้ก่อนแล้ว)

 กรี๊ดดดด….เคลียร์ด่วนเลยนะคุณหมอ! ใครกันที่ ‘อ้วน’ น่ะ

rx18 rx13

จากที่เกริ่นนำมาซะยาว จะเห็นได้ว่า ความไม่ชัดเจนในใบสั่งยา ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษรที่อ่านยาก หรือการใช้คำที่มีความหมายกำกวม ไม่ชัดเจน อาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน

และหากความคลาดเคลื่อนนั้น อยู่ในกระบวนการรักษาด้วยยา ก็อาจเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการใช้ยาตามมาได้

เพราะฉะนั้น ในวันนี้ ดิฉันขอนำเรื่องของ “ความคลาดเคลื่อนทางยา” มาเล่าสู่กันฟังค่ะ

 

 

Medication Error หรือ ความคลาดเคลื่อนทางยา หมายถึง เหตุการณ์ที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุหรือนำไปสู่การใช้ยาที่ไม่เหมาะสมหรือเกิดอันตรายแก่ผู้ป่วย

 

ความคลาดเคลื่อนทางยา แบ่งออกเป็น

1. ความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยา (Prescribing error) เกิดขึ้นในขั้นตอนของการสั่งใช้ยาของแพทย์ ยกตัวอย่างเช่น สั่งใช้ยาในขนาดหรือวิธีการใช้ที่ผิด, สั่งยาที่ไม่เหมาะสมหรือมีข้อห้ามใช้ เช่น ยาที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้ หรือคู่ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกันเพราะอาจทำให้เกิดผลเสียที่ร้ายแรงแก่ผู้ป่วยได้, สั่งยาซ้ำซ้อน, สั่งยาผิดคน หรือแม้แต่การ ‘ไม่ได้สั่ง’ ยาที่ผู้ป่วยควรได้รับ

 

2. ความคลาดเคลื่อนจากการถ่ายทอดคำสั่ง (Transcribing error) เช่น พยาบาลรับคำสั่งของแพทย์ทางโทรศัพท์ แล้วคัดลอกคำสั่งนั้นลงในใบสั่งยาโดยเขียนไม่ถูกต้องตามที่แพทย์สั่ง

 

3. ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา (Dispensing error) ซึ่งมีทั้ง…

ความคลาดเคลื่อนก่อนจ่ายยา (Pre-Dispensing error) เช่น ในขั้นตอนการเขียนหรือพิมพ์ฉลากยา มีการพิมพ์ผิดชื่อยา พิมพ์ผิดวิธีใช้ หรือเขียนฉลากยาผิดคน และขั้นตอนการจัดยา เช่น จัดยาผิดจำนวน จัดยาผิดรูปแบบ จัดยาผิดคน ในบางครั้งอาจเรียกความคลาดเคลื่อนนี้ได้อีกว่าเป็นความคลาดเคลื่อนในกระบวนการจัดยา (Processing error)

ความคลาดเคลื่อนหลังการจ่ายยา (Post-Dispensing error) ซึ่งได้ขึ้นในขึ้นตอนที่ยานั้นถูกจ่ายออกไปจากห้องจ่ายยา ได้แก่ ยาถูกส่งมอบให้ผู้ป่วยไปแล้วในกรณีของผู้ป่วยนอก หรือยาถูกส่งไปยังหอผู้ป่วยแล้วในกรณีของผู้ป่วยใน ซึ่งก็มีทั้งการจ่ายยาผิดชนิด, วิธีใช้ยาผิด, จ่ายยาที่ผู้ป่วยมีประวัติแพ้โดยไม่ได้ตรวจสอบ, จ่ายยาไม่ครบ, จ่ายยาให้ผู้ป่วยผิดคน, จ่ายยาหมดอายุหรือเสื่อมสภาพ เป็นต้น

 

4. ความคลาดเคลื่อนในการให้ยาแก่ผู้ป่วย (Administration error) เกิดขึ้นในกระบวนการให้ยาของพยาบาล ตัวอย่างเช่น ลืมให้ยา, ให้ยาผิดคน, ให้ยาผิดชนิด, ให้ยาผิดเวลา, ให้ยาผิดขนาด, ให้น้ำเกลือในอัตราเร็วที่ผิด เป็นต้น

 

5. ความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาของผู้ป่วย (Compliance error) เช่น ผู้ป่วยใช้ยาไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามคำสั่งแพทย์

 

จะเห็นได้ว่าความผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนในการใช้ยา สามารถเกิดได้ตั้งแต่ต้นทาง ที่แพทย์สั่งใช้ยา ผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ไปจนถึงปลายทางที่ผู้ป่วยนำยาไปใช้ ซึ่งสามารถป้องกันได้ในแต่ละกระบวนการ เช่น…

 

ลายมือที่อ่านยากของคุณหมอ (…แหะ ๆ) ที่อาจทำให้อ่านชื่อยาผิดไป ดังนั้น การเขียนด้วยลายมือที่อ่านได้ง่ายและชัดเจน ใช้ตัวย่อที่เหมาะสมและเป็นสากลก็น่าจะช่วยลดความผิดพลาดในการอ่านชื่อยาได้

 

dr01คนไข้รออยู่หน้าห้องตรวจแบบมืดฟ้ามัวดิน มามัวนั่งคัดไทยใส่ใบสั่งยาจะไหวมั้ย?!?

 

หรือถ้าเภสัชกรมัวแต่เม้าท์มอยกันเรื่องข่าวซุบซิบดารา สมาธิกระเจิดกระเจิงไปกับการนับเดือนหลังแต่งจนถึงวันคลอดของดาราสาว จนไม่ได้ดูยาที่จ่ายให้ละเอียด อ้าว…สีคล้าย ๆ กัน จ่ายยาไปผิดตัวซะงั้น! ผู้ป่วยควรได้รับยาแก้วิงเวียน กลับได้ยานอนหลับไปแทน

 

rx11เอาเป็นว่าหลับไปเลยนะป้านะ จะได้ไม่ต้องทนวิงเวียนไง!

 

…อย่างนี้ ก็น่าจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการทำงานให้มากขึ้น ใช้สมาธิจดจ่อกับงานให้เต็มที่ แยกคู่ยาที่มีลักษณะคล้ายกัน หรือมีชื่อคล้ายกันให้อยู่ต่างที่กัน หรือมีระบบตรวจสอบซ้ำก่อนจ่ายก็น่าจะดีใช่ไหมคะ

ส่วนคุณพยาบาลที่จะฉีดยาให้ผู้ป่วย ก็จะมีการถามและทวนชื่อของผู้ป่วยเพื่อป้องกันการให้ยาผิดคนค่ะ แต่ถ้าผู้ป่วยมัวแต่ตะลึงในความสวย (ฮิ้วววววว) จนไม่ยอมตอบ เอาแต่พยักหน้าส่ง ๆ ไป ก็อาจจะได้ยาผิดส่ง ๆ มาได้นะคะ ฮ่า…

 

pt02โรงพยาบาลอะไร ทำไมน่ากลัวอย่างนี้ ป่วยไข้ก็แย่แล้ว ยังต้องมาคอยระแวงว่าจะได้ยาผิด ๆ อีกเหรอ

 

ไม่มีใครต้องการให้เกิดความผิดพลาดหรอกนะคะ จะเป็นแพทย์ พยาบาล หรือเภสัชกร ก็อยากให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ถูกต้อง เหมาะสม รักษาโรคได้ผลดี และไม่เกิดอันตรายอะไรด้วยกันทั้งนั้น แต่อาจจะด้วยภาระงานที่มากมาย, ระบบในการทำงานที่ยังไม่ดีพอ, รวมไปจนถึงความผิดพลาดส่วนบุคคลที่ขาดความรอบคอบ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานในการป้องกันความผิดพลาดที่วางไว้ ก็ส่งผลให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาได้ทั้งสิ้น

 


rx04แล้วคุณ ๆ ผู้อ่าน ควรทำอย่างไร

หากอยู่ในฐานะผู้ป่วย หรือญาติที่ดูแลผู้ป่วย???

 

 

อย่างแรก... เวลาพบแพทย์ก็ควรบอกข้อมูลการเจ็บป่วยให้ละเอียดค่ะ

 

pt03หมอไม่ถามเองนี่นา… เรื่องอะไรจะบอกก่อนละ ช่วยไม่ได้!

rx05เอ่อ… ที่ช่วยไม่ได้น่ะ….ก็คือคุณผู้ป่วยที่น่ารักเองหรอกนะคะ ที่อาจแพ้ยาชักตาตั้ง

 

ข้อมูลที่จำเป็น เช่นประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัวหรือสภาวะอื่น ๆ เช่น กำลังตั้งครรภ์อยู่ บอกไปเลยค่ะ คุณหมอจะได้เลือกสั่งยาที่ปลอดภัยกับลูกน้อยในครรภ์ให้

 

pt03เป็นถึงหมอ… ก็ควรรู้เองซิ ทำไมต้องรอให้บอก!

rx13แหม่… ถ้าไม่มีระบุไว้ในประวัติการรักษาหรือไม่เคยแจ้งให้ทราบมาก่อน แล้วจะรู้ได้ไงเล่า… ไม่ใช่ ‘หมอดู’ ที่มองหน้าแล้วสแกนกรรมนะคะ …ฮึ่ย!

 

ต่อมา เมื่อไปรับยากับเภสัชกร กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยเช่นกันค่ะว่าเคยแพ้ยาอะไรไหม มีโรคประจำตัวอะไรหรือเปล่า มีข้อจำกัดอะไรหรือไม่ เช่น สายตาฝ้าฟาง อ่านตัวอักษรบนซองยาไม่ค่อยเห็น …ก็บอกไปเลยค่ะ เภสัชกรจะได้เขียนตัวอักษรบนฉลากยาในขนาดใหญ่ขึ้น หรือใช้ฉลากภาพมาช่วย ^_^

 

และเมื่อได้รับยามาแล้ว ก็ตรวจสอบยาที่ได้รับด้วยนะคะว่า…

  • ชื่อและสกุลบนซองยาเป็นชื่อของเราแน่หรือเปล่า
  • แล้วชื่อยาล่ะ…เป็นยาที่เราเคยแพ้หรือไม่
  • ดูสรรพคุณยาซิ…ตรงกับอาการเจ็บป่วยของเราแน่ไหม
  • วันหมดอายุของยาเป็นเมื่อไหร่ เลยมาแล้วหรือยัง
  • มีข้อควรระวังหรือคำเตือนอะไรบ้างบนซองยา ห้ามใช้ในคนที่มีโรคประจำตัวเดียวกันกับหรือเปล่า

แล้วบนซองยาบอกวิธีการใช้และจำนวนที่ใช้ว่ายังไงบ้าง อ่านให้เข้าใจและปฏิบัติตามให้ถูกต้องและครบถ้วนด้วยนะเออ ไม่ใช่ได้ยาไปแล้วก็แขวนถุงยาไว้ที่เสาบ้าน ไม่เคยเอามาใช้ หรือใช้บ้างไม่ใช้บ้าง อย่างนี้rx03…อย่ามาบ่นให้ได้ยินเชียวว่าหมอให้ยาไม่ดี ไม่เห็นจะหายป่วยซักที (ธ่อ…)

 
ซึ่งหากคุณ ๆ ผู้อ่านทำได้ดังที่กล่าวมา นอกจากจะป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากความเคลื่อนทางยาที่หมอ, พยาบาล และเภสัชกรก่อขึ้น (โดยไม่ตั้งใจนะตัว…) ได้แล้ว ยังเป็นการลด ‘ความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาของผู้ป่วย’ ที่เกิดจากการใช้ยาไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามคำสั่งแพทย์อีกด้วยไงคะ ^_^

 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Working to Reduce Medication Errors. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/drugs/drug-information-consumers/working-reduce-medication-errors)
Medication Errors. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK519065/)
Medication errors: Cut your risk with these tips. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/consumer-health/in-depth/medication-errors/art-20048035)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม