กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล แพทย์ทั่วไป

วิธีการฉีดอินซูลิน และวิธีอื่นในการรักษาโรคเบาหวาน

เจาะลึกการฉีดอินซูลินทำอย่างไรบ้าง? พร้อมทางเลือกการรักษาแบบอื่น
เผยแพร่ครั้งแรก 22 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 30 มี.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 ธ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
วิธีการฉีดอินซูลิน และวิธีอื่นในการรักษาโรคเบาหวาน

ความเหมาะสมของยารักษาโรคเบาหวาน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานแต่ละคนจะได้รับยารักษาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

  • ชนิดโรคเบาหวานที่ผู้ป่วยเป็น 
  • ความสามารถของยารักษาโรคเบาหวานที่ได้รับก่อนหน้านี้ว่าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีเพียงใด  
  • ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ผู้ป่วยเป็นร่วมด้วย 
  • ราคายา 
  • ตารางกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย

ทุกข้อที่กล่าวมาด้านบนล้วนมีส่วนเกี่ยวกับการเลือกชนิดยารักษาโรคเบาหวานที่เหมาะสมทั้งหมด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 คุณจำเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน เพราะร่างกายของคุณจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ คุณอาจจำเป็นต้องได้รับอินซูลินหลายครั้งต่อวัน รวมถึงฉีดพร้อมกับมื้ออาหารด้วย

โรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 การรักษาหลักคือการคุมอาหาร และออกกำลังกาย ซึ่งบางรายสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อควบคุมโรคได้ด้วยการปรับพฤติกรรมเพียง 2 เรื่องนี้เท่านั้น 

แต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล จำเป็นต้องได้รับยารักษาโรคเบาหวาน โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภท

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน เช่น "เมทฟอร์มิน" (metformin) ซึ่งเป็นยาช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคสที่สร้างจากตับ และช่วยให้ร่างกายนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยายังอาจช่วยลดน้ำหนักของคุณได้เล็กน้อย

    สำหรับยารักษาโรคเบาหวานชนิดรับประทานตัวอื่นๆ จะออกฤทธิ์ด้วยวิธีที่ต่างกัน การใช้ยารักษาโรคเบาหวานร่วมกัน 2 ชนิด หรือ 3 ชนิด จะช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้ดีกว่าการใช้เพียง 1 ชนิด
  • ยาฉีดใต้ผิวหนัง คืออินซูลิน  และในบางครั้งคุณอาจจำเป็นต้องได้รับยารักษาโรคเบาหวานมากกว่า 1 ชนิดเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด และถึงแม้ว่าคุณจะไม่ใช่ผู้ที่ใช้ยาอินซูลินอยู่ แต่ในบางช่วงเวลาพิเศษอาจต้องมีการใช้อินซูลิน เช่น ระหว่างตั้งครรภ์ หรือระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการเจ็บป่วย เป็นต้น

โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

ถ้าคุณเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์  คุณควรเลือกที่จะควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือด โดยสามารถทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกายก่อนเป็นลำดับแรก  

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถ้าหากคุณยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมายอีก แพทย์จะแนะนำให้คุณใช้ยารักษาโรคเบาหวาน เช่น อินซูลิน หรือยาชนิดรับประทานคือ เม็ดฟอร์มินซึ่งเป็นยาที่มีความปลอดภัยหากใช้ระหว่างตั้งครรภ์  แพทย์จะพิจารณาเริ่มยารักษาโรคเบาหวานให้คุณทันที หากระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดของคุณอยู่ในระดับสูงมาก

ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคเบาหวานชนิดใด การใช้ยารักษาโรคเบาหวานทุกวันอาจทำให้รู้สึกเป็นภาระในบางครั้ง และบางครั้งคุณอาจมียารักษาโรคอื่นที่คุณเป็นร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาโรคเบาหวานด้วย  ดังนั้นจึงควรมีการบริหารจัดการเรื่องแผนการรับประทานยาให้ดี

ความแตกต่างของยาฉีดอินซูลินชนิดต่างๆ

ยาฉีดอินซูลินในปัจจุบันมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะออกฤทธิ์แตกต่างกันตามความเร็วในการออกฤทธิ์ (ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มให้ยา จนยาออกฤทธิ์) และความยาวนานของการออกฤทธิ์  ยาอินซูลินส่วนใหญ่เมื่อให้เข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีช่วงระดับยาสูงสุด หรือช่วงที่ยาออกฤทธิ์มากที่สุด หลังจากนั้นฤทธิ์ของยาจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไปในอีกไม่กี่ชั่วโมง

วิธีในการฉีดอินซูลินจะขึ้นกับหลายปัจจัย ได้แก่

  • วิถีการดำเนินชีวิตของคุณ
  • แผนประกันสุขภาพ 
  • สิทธิ์ประกันสุขภาพ

หากคุณไม่ชอบการใช้ยาฉีดอินซูลินผ่านเข็ม และต้องการเลือกเป็นวิธีอื่นแทน ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับคุณ โดยผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่จะฉีดอินซูลินด้วยเข็มและกระบอกฉีดยา หรืออินซูลินชนิดปากกา ให้คุณปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ว่าเมื่อไรจึงควรได้รับยาอินซูลิน และจะใช้ยาอินซูลินได้อย่างไร  

แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาฉีดอินซูลินสูตรผสมก็ได้ ซึ่งเป็นสูตรผสมระหว่างอินซูลิน 2 ชนิดไว้ด้วยกัน  บางชนิดของยาอินซูลินจะมีราคาแพงกว่าชนิดอื่นๆ ดังนั้นให้ปรึกษาแพทย์หากคุณมีข้อกังวลเรื่องราคาที่จะต้องจ่าย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การฉีดอินซูลินด้วยเข็มและกระบอกฉีดยา

วิธีนี้คุณจะฉีดยาอินซูลินด้วยเข็มฉีดยาและกระบอกฉีดยา โดยจะมีการดูดยาออกจากขวดยาเข้าสู่กระบอกฉีดยา  

ยาฉีดอินซูลินจะออกฤทธิ์ได้เร็วที่สุดหากฉีดที่บริเวณหน้าท้อง แต่คุณจะต้องมีการเปลี่ยนตำแหน่งที่มีการฉีดยาไปเรื่อยๆ นอกจากหน้าท้องแล้วยังสามารถฉีดที่อื่น ได้แก่ ต้นขา สะโพก หรือต้นแขน  ผู้ป่วยบางรายที่ใช้ยาฉีดอินซูลินอาจจำเป็นต้องได้รับยา 2 – 4 ครั้งต่อวัน เพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย แต่บางรายก็ต้องการเพียงวันละ  1 ครั้ง

การฉีดอินซูลินด้วยปากกาอินซูลิน

ปากกาอินซูลิน จะมีลักษณะหน้าตาคล้ายปากกาแต่จะมีเข็มอยู่ที่ปลายปากกา ปากกาอินซูลินบางชนิดจะเป็นชนิดใช้แล้วทิ้ง คือเป็นแบบบรรจุหลอดยามาแล้ว เมื่อใช้หมดต้องทิ้งปากกาอินซูลินทั้งด้าม 

ประเภทของปากกาชนิดอื่นๆ จะเป็นปากกาที่มีช่องว่างสำหรับใส่หลอดยาอินซูลินไว้ภายใน และเมื่อใช้หมดสามารถเปลี่ยนเป็นหลอดยาฉีดใหม่ได้ โดยไม่ต้องทิ้งตัวด้ามปากกา อินซูลินชนิดปากกาจะมีราคาแพงกว่าชนิดเข็มและกระบอกฉีดยา แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพบว่าชนิดปากกาใช้ง่ายกว่า

การฉีดอินซูลินด้วยเครื่องอินซูลินปั๊ม

เครื่องอินซูลินปั๊มเป็นเครื่องขนาดเล็ก ที่จะช่วยปลดปล่อยยาอินซูลินเข้าสู่ร่างกายด้วยขนาดยาจำนวนน้อยๆ แต่คงที่ตลอดทั้งวัน ซึ่งคุณจะสวมใส่เครื่องอินซูลินปั๊มไว้ที่ด้านนอกร่างกาย โดยแขวนไปกับเข็มขัด หรือใส่ในกระเป๋าเสื้อ หรือใส่ในกระเป๋า ส่วนตัวเครื่องอินซูลินปั๊มจะเชื่อมต่อกับสายพลาสติกขนาดเล็กและเข็มขนาดเล็กมากๆ โดยเข็มนี้จะถูกใส่เข้าร่างกายทางใต้ผิวหนังและติดไว้กับร่างกายนานหลายๆ วัน 

เครื่องอินซูลินปั๊มจะทำหน้าที่ปั๊มยา (นำส่งยา) ออกจากเครื่อง ผ่านสายพลาสติกขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายของคุณตลอดเวลา 24 ชั่วโมง นอกจากนั้นคุณยังสามารถเพิ่มขนาดยาอินซูลินในช่วงเวลาที่รับประทานอาหารได้

หากลืมฉีดอินซูลิน ต้องทำอย่างไร

การปฏิบัติตัวหากคุณลืมฉีดอินซูลินขึ้นอยู่กับชนิดของอินซูลิน และระยะเวลาว่านานเท่าไหร่ที่คุณลืมฉีดอินซูลิน ถ้าเป็นอินซูลินประเภทออกฤทธิ์ระยะยาวแล้วคุณจำได้ว่าลืมฉีด คุณสามารถฉีดตามทีหลังได้ แต่ต้องภายในเวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมงของเวลาเดิมที่ต้องฉีด อย่างไรก็ตาม การฉีดอินซูลินตามทีหลังมีโอกาสทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณต่ำลงได้ เพราะอินซูลินจะเริ่มทำงานช้ากว่าเวลาทำงานปกติ 

แต่หากเวลาที่คุณลืมฉีดอินซูลินเกินกว่า 2 ชั่วโมงของเวลาเดิมที่คุณต้องฉีด ให้คุณรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที อย่ารีรอเด็ดขาดเพราะหากช้า กลูโคสในเลือดของคุณจะสูงขึ้น และส่งผลอันตรายร้ายแรงได้ 

การลืมฉีดอินซูลินเป็นเรื่องเกิดขึ้นได้ แต่เพื่อเป็นการป้องกันเหตุไม่คาดคิด เมื่อคุณมีโอกาสได้ไปพบแพทย์ประจำตัว ควรสอบถามและบันทึกวิธีการปฏิบัติตัวไว้หากลืมฉีดอินซูลิน 

ผลข้างเคียงของอินซูลิน

อินซูลินสามารถเกิดผลข้างเคียงได้ดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะ
  • น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  • ภาวะในเลือดต่ำ (hypoglycemia)
  • อาการคล้ายไข้หวัด

หากฉีดอินซูลินเกินขนาด ต้องทำอย่างไร

การใช้อินซูลินเกินขนาดสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยคุณอาจเกิดอาการของภาวะน้ำตาลต่ำอย่างรุนแรง ดังต่อไปนี้

  • เกิดภาวะสมองล้า รู้สึกอ่อนเพลีย
  • มีอาการซึมเศร้า หรือเครียดอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย
  • หวาดระแวง วิตกกังวล
  • มึนศีรษะ
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เหงื่อออก รู้สึกหนาวสั่น
  • ตาพร่าเบลอ

การปฏิบัติตัวเมื่อคุณรู้สึกผิดปกติจากการฉีดอินซูลินเกินขนาด ที่สำคัญที่สุดคือต้องมีสติ และทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. รีบตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ถ้าระดับน้ำตาลน้อยกว่า 70 mg/dL (มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร) แสดงว่าคุณมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้รีบรับประทานน้ำหวาน ขนมที่มีน้ำตาลหรือน้ำผึ้งเพื่อปรับระดับน้ำตาลในเลือด หรือหากคุณฉีดอินซูลินเกินขนาดเพราะลืมฉีดก่อนหน้านี้ ให้รีบทานอาหารตามเพื่อปรับระดับน้ำตาลให้คงที่เช่นกัน
  2. อย่าตื่นตระหนก และบางครั้งอาการที่เกิดจากการฉีดอินซูลินเกินขนาดสามารถทำให้คุณสับสนได้ว่าป่วยเป็นโรคอื่นหรือไม่ ให้คุณหยุดพักเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัว
  3. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง หลังจากผ่านไป 15 นาทีหลังการทานอาหารที่มีน้ำตาล หากระดับน้ำตาลของคุณยังไม่ดีขึ้น ให้ติดต่อแพทย์ประจำตัวทันที

นอกจากยาอินซูลินแล้ว ยังมียาฉีดรักษาโรคเบาหวานอื่น ซึ่งยานี้จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของคุณไม่ให้สูงเกินไปหลังจากรับประทานอาหาร ยานี้จะช่วยลดความอยากอาหารและช่วยลดน้ำหนักตัวได้เล็กน้อย แต่ยาฉีดอื่นไม่สามารถทดแทนยาอินซูลินได้ จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

ผลข้างเคียงของยารักษาโรคเบาหวานที่ควรรู้

ผลข้างเคียงคืออาการที่เกิดขึ้นจากการได้รับยา ยารักษาโรคเบาหวานบางชนิดจะทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ได้ ถ้าคุณรับประทานยาแต่ไม่สัมพันธ์กับการรับประทานอาหารและกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

ให้คุณสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรว่า ยารักษาโรคเบาหวานที่คุณได้รับสามารถทำให้เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือผลข้างเคียงอื่นๆ ได้หรือไม่ เช่น อาการปวดท้อง หรือน้ำหนักเพิ่ม เป็นต้น  และให้ใช้ยารักษาโรคเบาหวานตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นหรือปัญหาเกี่ยวกับโรคเบาหวานที่คุณเป็น

การรักษาทางเลือกอื่นสำหรับโรคเบาหวาน

เมื่อการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่เพียงสำหรับการควบคุมโรคเบาหวาน จะมีการรักษาอื่นที่อาจเป็นทางเลือกได้ ได้แก่

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อรักษาโรคอ้วน (bariatic surgery)

การผ่าตัดกระเพาะอาหารนั้นเป็นการรักษาผู้ป่วยโรคอ้วนชนิดรุนแรง (BMI > 40 kg/m2) จากการศึกษาพบว่าการผ่าตัดกระเพาะอาหารช่วยให้สภาวะของโรคเบาหวานดีขึ้น (ประเมินจากค่า HbA1c) ในผู้ป่วยโรคอ้วนชนิดรุนแรงที่มีภาวะเบาหวานร่วมด้วย

การผ่าตัดกระเพาะอาหารนั้นจะเหมาะกับผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยการผ่าตัดนี้อาจเรียกอีกอย่างว่า "การผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก" ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อ้วน สามารถลดน้ำหนักลงได้มาก และทำให้ควบคุมระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดให้อยู่ในช่วงปกติได้ 

ผู้ป่วยบางรายที่ได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารนี้อาจไม่จำเป็นต้องได้รับยารักษาโรคเบาหวานอีกในอนาคต หลังการผ่าตัดความสามารถในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้

  • ตัวผู้ป่วยแต่ละราย 
  • ประเภทของการผ่าตัด 
  • ปริมาณน้ำหนักตัวที่ลดลงของผู้ป่วยรายนั้น 
  • ระยะเวลาในการเป็นโรคเบาหวาน 
  • ผู้ป่วยเคยใช้ยาอินซูลินมาก่อนหรือไม่

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดมีความเสี่ยง ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้แพทย์ประเมินข้อบ่งชี้ของการผ่าตัดรวมถึงประเมินความเสี่ยงของการผ่าตัด

การปลูกถ่ายตับอ่อน

การปลูกถ่ายตับอ่อน เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่ควบคุมโรคได้ไม่ดี 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้จะไปทำลายเบต้าเซลล์ (beta cell) ที่อยู่ในตับอ่อน ซึ่งปกติแล้วเซลล์นี้จะทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ การปลูกถ่ายตับอ่อนจึงเป็นการนำตับอ่อนที่สมบูรณ์จากผู้บริจาค มาสร้างอินซูลินแทนตับอ่อนที่ถูกทำลาย

สำหรับประเทศไทยมีการผ่าตัดปลูกถ่ายตับอ่อนสำเร็จแล้ว 


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ลดน้ำหนักไม่ต้องพึ่งยาทำอย่างไร? จะโยโย่ไหม? ลดน้ำหนักยังไงดี? ตอบครบโดยนักกำหนดอาหาร, (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-how-to-lose-weight-without-drugs-by-eatology).
9 แนวทางลดน้ำหนักโดยไม่ต้องอดอาหาร ตอบโดยนักกำหนดอาหาร , (https://hdmall.co.th/c/hdinsight-9-ways-to-lose-weight-without-dieting-by-eatology).
ปรึกษานักโภชนาการ ลดน้ำหนัก เป็นยังไง? ทำอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/weight-management-by-health-check-up).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)