โรคลายม์ (Lyme disease) หรือ Lyme borreliosis เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เห็บนำเข้าสู่ร่างกายมนุษย์
เห็บเป็นแมงจำพวกแมงมุมที่มีขนาดเล็ก พบได้ตามพื้นที่ป่าและที่รกชัฏต่าง ๆ เห็บกินเลือดของนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอาหาร นั่นรวมไปถึงมนุษย์ด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคลายม์จะสามารถรักษาให้หายได้ง่ายหากมีการตรวจพบโรคเร็ว แต่หากดำเนินการรักษาล่าช้าจะทำให้คุณเสี่ยงต่ออาการที่รุนแรงและกินเวลายาวนานได้
สัญญาณและอาการของโรคลายม์
อาการเริ่มต้นของโรคลายม์
ผู้ป่วยโรคลายม์ระยะเริ่มต้นหลายรายจะมีผื่นกลมที่ไม่เหมือนใครบนผิวหนังตำแหน่งที่โดนเห็บกัด และมักจะปรากฏผื่นหลังจากถูกกัดสามถึง 30 วัน ผื่นเช่นนี้จะเรียกว่า erythema migrans
ผิวหนังรอบผื่นมักจะมีสีแดงและที่ขอบของผื่นอาจมีอาการเห่อขึ้นมาเล็กน้อย
ขนาดของผื่นจะแตกต่างกันออกไป และอาจขยายขึ้นภายในช่วงหลายวันหรือหลายสัปดาห์ โดยทั่วไปแล้วผื่นจะมีขนาดประมาณ 15 cm แต่ก็อาจจะขนาดใหญ่หรือเล็กกว่านั้นก็ได้ ผู้ป่วยบางคนอาจมีผื่นขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคลายม์ประมาณหนึ่งในสามที่ไม่ประสบกับผื่นเช่นนี้
บางคนอาจประสบกับอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในช่วงระยะแรกของโรคลายม์ เช่นเหน็ดเหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อกับข้อต่อ ปวดศีรษะ มีไข้สูง หนาวสั่น และเจ็บคอ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการระยะหลังของโรคลายม์
อาการที่รุนแรงของโรคลายม์จะเริ่มขึ้นหลังป่วยระยะแรกหลายสัปดาห์ หลายเดือน หรือแม้แต่หลายปีหากปล่อยให้เป็นโรคลายม์โดยไม่ทำการรักษา ซึ่งมีอาการดังนี้:
ปวดและข้อต่อบวม (ข้ออักเสบ)
ปัญหาที่ระบบประสาท เช่นแขนขาชาหรือเจ็บปวด กล้ามเนื้อใบหน้าเป็นอัมพาต ปัญหาความทรงจำ และทำสมาธิยาก เป็นต้น
ปัญหาหัวใจ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเกิดถุงรอบหัวใจ หัวใจล้มเหลว
การอักเสบของเยื่อหุ้มรอบสมองและไขสันหลัง จนทำให้เกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง เจ็บคอ และอ่อนไหวต่อแสงมากขึ้น
ปัญหาบางประการอาจจะค่อย ๆ ดีขึ้นตามการรักษา แต่ก็สามารถกลายเป็นปัญหาเรื้อรังได้หากเริ่มการรักษาช้าเกินไป
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผู้ป่วยโรคลายม์บางรายอาจมีอาการระยะยาวคล้ายกับผู้ป่วยโรคปวดกล้ามเนื้อ (fibromyalgia) หรือกลุ่มอาการเหน็ดเหนื่อยเรื้อรัง ภาวะเหล่านี้จะเรียกว่าการติดเชื้อหลังป่วยเป็นโรคลายม์ ซึ่งยังไม่มีหลักฐานว่าเหตุใดจึงเกิดภาวะเช่นนี้ขึ้น แต่ก็คาดกันว่าเกี่ยวข้องกับการทำงานเกินไปของระบบภูมิคุ้มกัน
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?
คุณควรไปพบแพทย์ทันทีที่คุณมีอาการดังที่กล่าวไปหลังจากที่โดนเห็บกัด หรือหลังจากที่คุณคาดว่าถูกเห็บกัด ควรแจ้งแพทย์หากว่าคุณเข้าไปในพื้นที่ป่าหรือที่รกชัฏมาก่อน
การวินิจฉัยโรคลายม์มักจะทำได้ยากเนื่องจากหลาย ๆ อาการจะคล้ายกับภาวะสุขภาพอื่น ๆ ผื่นที่แพร่กระจายในช่วงหลายวันหลังเห็บกัดก็สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะโดยไม่ต้องอ้างอิงจากผลตรวจเลือด
การตรวจเลือดจะดำเนินการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ซึ่งหากอยู่ในช่วงระยะแรกของโรคลายม์ผลที่ได้อาจจะออกมาเป็นลบได้ คุณอาจจำต้องเข้ารับการตรวจใหม่ในวันหลังหากแพทย์ยังคงคาดการณ์ว่าคุณป่วยเป็นโรคลายม์
หากคุณมีภาวะติดเชื้อหลังจากเป็นโรคลายม์หรือมีอาการระยะยาวคุณอาจต้องเข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาหรือด้านโรคติดเชื้อเพื่อจัดการเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อจากเห็บต่อไป
ควรติดเชื้อโรคลายม์ได้อย่างไร?
หากเห็บกัดสัตว์ที่มีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคลายม์ (Borrelia burgdorferi) เห็บตัวนั้นจะติดเชื้อไปด้วย และเมื่อเห็บติดเชื้อกัดมนุษย์ แบคทีเรียจากเห็บจะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์คนนั้น
เห็บอาศัยอยู่ในพื้นที่รกหรือพื้นที่ที่สัตว์เข้ากินหญ้า มักพบได้มากตามพื้นที่ป่า แต่ก็สามารถพบได้ตามสวนหลังบ้านหรือสวนสาธารณะเช่นกัน
เห็บไม่สามารถกระโดดหรือบินได้ แต่เห็บจะใช้วิธีปีนเข้าไปในเสื้อผ้าหรือผิวหนังของคุณหากคุณเดินเฉียดตำแหน่งที่เห็บอยู่ เห็บจะกัดเข้าไปในผิวหนังและเริ่มดูดเลือดของสิ่งมีชีวิต
โดยทั่วไปแล้วคุณมักจะติดเชื้อหากเห็บเจาะผิวหนังของคุณนานกว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งหากคุณถูกเห็บขนาดเล็กกัดอาจทำให้ไม่รู้สึกตัวได้เลย ทำให้คุณอาจไม่รู้ว่ามีเห็บอยู่บนผิวหนังของคุณ
ใครมีความเสี่ยงที่สุด?
ผู้ที่ใช้เวลามากในพื้นที่ป่าหรือที่รกชัฏจะมีความเสี่ยงต่อโรคลายม์มากที่สุด
เชื่อกันว่ามีเห็บจำนวนเล็กน้อยที่มีเชื้อแบคทีเรียต้นเหตุของโรคลายม์อยู่ ทำให้การกัดของเห็บส่วนน้อยเท่านั้นที่จะก่อให้เกิดการติดเชื้อขึ้น กระนั้นคุณก็ควรเข้าใจและระมัดระวังด้วยการเข้าพบแพทย์ทันทีที่คุณป่วยหลังจากที่โดนเห็บกัด
การรักษาโรคลายม์
หากคุณเริ่มมีอาการของโรคลายม์ คุณจะถูกรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดเม็ด แคปซูล หรือน้ำก่อน ผู้ป่วยส่วนมากต้องได้รับยาประเภทนี้ต่อเนื่องสองถึงสี่สัปดาห์ขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็นอยู่
หากแพทย์จ่ายยาปฏิชีวนะให้คุณใช้ สิ่งสำคัญคือต้องใช้ยาให้ครบตามกำหนดแม้จะมีอาการดีขึ้นก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อกำจัดแบคทีเรียตกค้างทั้งหมดนั่นเอง
หากอาการของคุณมีความรุนแรงมาก คุณอาจต้องเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการฉีดปฏิชีวนะเข้าเส้นเลือดแทน
ยาปฏิชีวนะบางตัวที่ใช้รักษาโรคลายม์สามารถทำให้ผิวหนังคุณอ่อนไหวต่อแสงอาทิตย์มากขึ้นได้ ในกรณีเช่นนี้คุณควรเลี่ยงการออกแดดและไม่ใช้เตียงอบผิวไปจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษา
ยังไม่มีวิธีรักษาภาวะติดเชื้อหลังป่วยเป็นโรคลายม์ที่ดีที่สุดเนื่องจากสาเหตุของภาวะยังไม่เป็นที่แน่ชัด คุณไม่ควรมองหาการทดสอบหรือการรักษาใด ๆ บนอินเตอร์เน็ตที่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันประสิทธิภาพทั้งนั้น
การป้องกันโรคลายม์
ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคลายม์ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคลายม์คือการเข้าใจถึงความเสี่ยงก่อนเข้าพื้นที่ที่มีเห็บชุกชุมและเตรียมตัวป้องกันการถูกเห็บกัด
คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ด้วย:
- พยายามเลี่ยงการเดินเข้าจุดที่มีหญ้าขึ้นสูง
- สวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสถานที่รกชัฏ (เช่นสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาวที่ยัดขอบขากางเกงเข้าไปในถุงเท้า)
- สวมเสื้อผ้าสีสว่างเพื่อให้สามารถมองเห็นเห็บที่เกาะตามเสื้อผ้าได้ง่ายขึ้น
- ใช้ยากันแมลงบนผิวหนังที่เปิดโล่ง
- ตรวจสอบผิวหนังของคุณโดยเฉพาะช่วงท้ายวัน รวมไปถึงส่วนศีรษะ คอ และรอยพับของร่างกาย (เช่นรักแร้ ขาหนีบ และข้อเอว) และทำการดึงเห็บออกทันทีที่พบเจอ
- ตรวจสอบศีรษะกับคอของลูกคุณรวมไปถึงหนังศีรษะ
- พยายามไม่ให้เห็บเกาะเสื้อผ้ากลับไปยังบ้านของคุณ
- ตรวจสอบขนของสัตว์เลี้ยงว่าไม่มีเห็บก่อนพาเข้ามาในบ้าน
สามารถกำจัดเห็บได้อย่างไร?
หากคุณพบเจอเห็บอยู่บนผิวหนังของตนเองหรือลูกคุณ คุณสามารถกำจัดเห็บนั้น ๆ ได้ด้วยการหนีบตัวเห็บอย่างอ่อนเบา ณ บริเวณที่ใกล้กับผิวหนังที่สุด (จะดีที่สุดคือการใช้แหนบ) ดึงออกผิวหนังตรง ๆ โดยไม่บิดหรือขยี้ตัวเห็บ
ล้างผิวหนังที่โดนกัดด้วยน้ำและสบู่หลังจากนำเห็บออก และทาครีมฆ่าเชื้อต่อ
ห้ามใช้บุหรี่จี้ หัวไม้ขีดไฟ หรือสารต่าง ๆ อย่างแอลกอฮอล์หรือเจลปิโตเลียมในการกำจัดเห็บออกจากผิวหนัง
ร้านขายของเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงบางแห่งอาจมีอุปกรณ์ที่ใช้กำจัดเห็บโดยเฉพาะอยู่ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านั้นจะมีประโยชน์อย่างมากหากคุณต้องเข้าพื้นที่ที่มีเห็บชุกชุมบ่อย ๆ
“โรคลายม์เรื้อรัง”
คำว่าโรคลายม์เรื้อรังเป็นที่กล่าวถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามสื่อต่าง ๆ คำนี้ถูกใช้โดยคนบางกลุ่มที่ต้องการบรรยายอาการเรื้อรังต่าง ๆ ของโรคลายม์เช่นอาการเหน็ดเหนื่อย ปวด และเจ็บที่ไม่เกิดขึ้นระหว่างการยืนยันการติดเชื้อโรคลายม์ และต่างจากคำว่า “การติดเชื้อหลังจากเป็นโรคลายม์” ที่ใช้อธิบายถึงอาการเรื้อรังต่าง ๆ ภายหลังการยืนยันและรักษาการติดเชื้อลายม์แล้ว
อาจจะแปลได้ว่าคำว่า “โรคลายม์เรื้อรัง”เป็นเพียงคำพูดปากต่อปากเท่านั้น ผู้เชี่ยวชาญต่างไม่เห็นด้วยว่าภาวะนี้จะมีอยู่จริง มีอาการเช่นไร เกิดมาจากสาเหตุอะไร หรือมาจากปัญหาที่ไม่สามารถวินิจฉัยได้จริงหรือไม่
แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ก็ยังไม่มีหลักฐานที่กล่าวว่าผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็น “โรคลายม์เรื้อรัง” จะสามารถแพร่เชื้อแก่ผู้อื่นได้ และยังไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวกับวิธีรักษาที่แน่นอนอีกด้วย