กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

กระดาษเมา อีกรูปแบบของสารเสพติด LSD

รู้จักสาร LSD สารเสพติดที่มีหลายรูปแบบ ทั้งกระดาษเมา เจลาติน รูปอม ยาแคปซูล
เผยแพร่ครั้งแรก 20 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
กระดาษเมา อีกรูปแบบของสารเสพติด LSD

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • กระดาษเมา เป็นรูปแบบหนึ่งของสารเสพติดประเภทสารแอลเอสดี ซึ่งเป็นสารเสพติดที่มีอยู่หลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด ก้อนน้ำตาล เจลาติน ลูกอม
  • ฤทธิ์ของกระดาษเมาโดยหลักๆ จะออกฤทธิ์ทางระบบประสาท ทำให้ผู้เสพมีอาการเพ้อฝัน รู้สึกว่า ตนเองยิ่งใหญ่ ร่าเริงผิดปกติ
  • สารแอลเอสดีมีผลระยะยาวไปจนถึงแม้ผู้เสพจะเลิกยาได้แล้วก็ตาม แต่ก็จะยังมีอาการทางประสาทเกิดขึ้นอยู่ เช่น เป็นโรคซึมเศร้า คิดถึงอดีตที่เลวร้าย มีปัญหาด้านการรับรู้
  • นอกจากผลข้างเคียงด้านจิตใจ สารแอลเอสดียังส่งผลกระทบต่อร่างกายด้วย เช่น ปากแห้ง มีไข้ ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด

สารเสพติดนอกจากจะอยู่ในรูปของยาเม็ด ผงยา หรือสารระเหยแล้ว สารเสพติดยังอยู่ในรูปกระดาษได้ด้วย โดยเรียกได้ในชื่อ "กระดาษเมา" หรือ "แสตมป์มรณะ"

ความหมายของกระดาษเมา หรือแอลเอสดี 

กระดาษเมา เป็นหนึ่งในรูปแบบของสารเสพติดแอลเอสดี (Lysergic acid diethylamide: LSD) ซึ่งเป็นสารเสพติดเหลวใสที่ขึ้นตามเมล็ดข้าว ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีรสขมเล็กน้อย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สารเสพติดแอลเอสดีสามารถพบได้ในรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น ยาเม็ด ยาแคปซูล เป็นยาผสมกับลูกอม เจลาตินรสหวาน ก้อนน้ำตาล แต่ลักษณะของสารแอลเอสดีที่พบได้มาก จะเป็นแผ่นกระดาษเคลือบสารแอลเอสดีเอาไว้ เวลาเสพจะใช้วิธีเคี้ยวกระดาษ อมไว้ หรือวางไว้บนลิ้นเหมือนลูกอม 

ลักษณะกระดาษเมาอาจเป็นกระดาษสีขาว กระดาษสี หรืออาจเป็นกระดาษพิมพ์รูปภาพ ลายการ์ตูนเพื่ออำพรางว่า เป็นยาเสพติด

การออกฤทธิ์ของสารแอลเอสดี

สารแอลเอสดีในกระดาษเมาจะส่งผลต่อสารเซโรโทนินในสมองซึ่งส่งผลถึงกระบวนการรับรู้ และพฤติกรรม ซึ่งสารแอลเอสดีจะไปรบกวนสารดังกล่าวทำให้ไม่สามารถทำงานตามปกติได้ 

ยาอาจออกฤทธิ์ภายในครึ่งชัวโมงและอยู่ได้นานถึง 12 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น

ผู้เสพจะมีอาการมึนเมาหลังจากการเสพกระดาษเมาไปแล้วประมาณ 30-90 นาที นอกจากนี้ยังมองเห็นภาพลวงตา เพ้อฝัน รู้สึกเหมือนตนเองเป็นผู้ยิ่งใหญ่ มีอำนาจ และพละกำลังมหาศาล หลงคิดว่า ตนเองเหาะเหินเดินอากาศได้

นอกจากนี้ผู้เสพยังจะมีอารมณ์ร่าเริง สนุกสนานมากกว่าปกติ ผู้เสพสารแอลเอสดีหลายรายเลือกเสพสารชนิดนี้เพื่อหลีกหนีความเครียด และภาวะซึมเศร้าต่างๆ จากสิ่งรอบตัว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผลข้างเคียงระยะสั้น

ผู้เสพบางรายอาจมีอาการข้างเคียงออกมาเป็นอาการมึนเมา แต่อาจมีอาการไม่รุนแรงมากนัก แต่จะมีอารมณ์แปรปรวนอย่างรวดเร็วแทน ส่วนผู้เสพที่มีอาการมึนเมาหนัก ยังจะมีอาการประสาทหลอน หูฝาด เกิดภาพลวงตา ระบบการรับรู้ของสมองผิดปกติ เกิดอาการสับสน และหลงผิดร่วมด้วย

อาการข้างเคียงการเสพกระดาษเมาสามารถทำให้ผู้เสพเกิดอาการหวาดกลัว ซึมเศร้า สับสน ควบคุมตนเองไม่ได้ ขาดสติ และร่างกายผู้เสพจะไม่สามารถควบคุมอาการที่เกิดขึ้นได้จนกว่าฤทธิ์ยาจะหมดลงไปเอง 

และเมื่อเวลาผ่านไป เมื่อผู้เสพเสพติดกระดาษเมาหนักขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มมีปัญหาทางจิตจนไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ แม้จะไม่ได้เสพยาอยู่ก็ตาม

นอกจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับสภาพทางจิตแล้ว การเสพกระดาษเมายังทำให้เกิดผลข้างเคียงทางด้านร่างกายด้วยเช่นกัน ดังนี้

ในบางกรณี การเสพแอลเอสดีเกินขนาดจะทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายจนทำให้เกิดอาการชัก หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด 

ผลข้างเคียงระยะยาว

ผู้ที่เสพกระดาษเมาอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานจะยังคงมีอาการข้างเคียงอยู่แม้ขณะนั้นจะไม่ได้เสพยา หรือเมายาก็ตาม 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสารพิษ สารเสพติดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 194 บาท ลดสูงสุด 68% บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า "Hallucinogen persisting perception disorder" โดยจะมีอาการประสาทหลอนเกิดขึ้น

อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะไม่แสดงสัญญาณเตือนใดๆ ออกมาก่อน และจะยังเกิดขึ้นอยู่ 2-3 วัน หรืออาจนานเป็นปี หลังจากการเสพกระดาษเมา หรือสารแอลเอสดีรูปแบบอื่น 

นอกจากนี้ถึงแม้จะเลิกยาไปแล้ว แต่อาการข้างเคียงจากการเสพสารชนิดนี้ก็ยังอาจเกิดขึ้นได้อยู่ ผู้ที่เสพแอลเอสดีมากเกินขนาดยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้มีปัญหาทางจิตเรื้อรัง เช่น มองเห็นภาพความทรงจำในอดีตที่เลวร้ายซ้ำๆ เป็นโรคประสาท โรคจิตเภท โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล

ปัญหาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น

การเสพแอลเอสดีจะทำให้ผู้เสพมีปัญหาด้านการรับรู้และการคิดตัดสินใจของสมอง หากมีการเสพเกินขนาดอาจนำมาซึ่งเหตุรุนแรงที่กระทบต่อทั้งตนเองและผู้อื่นได้ เช่น เกิดอุบัติเหตุทางถนน หรือการทำร้ายตนเอง และผู้อื่นเนื่องจากเกิดภาพหลอนจากการเสพยา

การบำบัดผู้เสพกระดาษเมา และสารแอลเอสดีรูปแบบอื่นๆ

ผู้เสพติดสารแอลเอสดีจะต้องเข้ารับการบำบัดให้หายจากอาการเสพติดยา รูปแบบการบำบัดจะมีทั้งการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ การทำจิตบำบัด เพื่อให้ผู้เสพเข้าใจถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นขณะยาออกฤทธิ์และหาทางแก้ไข รวมถึงลดการเสพยาลง 

ในระหว่างการบำบัด ญาติผู้เสพควรจะมีส่วนร่วมในการช่วยให้ผู้เสพสามารถข้ามผ่านช่วงเวลาทุกข์ทรมาน หรือลงแดงจากการขาดยาได้ อีกทั้งต้องสนับสนุนให้ผู้เสพมีทำกิจวัตรประจำวันอื่นๆ ที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงด้วย เช่น

  • ออกกำลังกาย
  • ลดความเครียด
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

แพทย์อาจจ่ายยาบางประเภทเพื่อบรรเทาอาการที่เป็นผลข้างเคียงจากการเสพยาด้วย เช่น ยาแก้โรคซึมเศร้า ยาแก้โรควิตกกังวล

สารแอลเอสดีถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาเสพติดให้โทษประเภท 1 โดยเป็นยาเสพติดที่ให้โทษ และผลข้างเคียงรุนแรง 

ผู้ผลิต นำเข้า หรือส่งออกสารแอลเอสดีมีโทษจำคุกตลอดชีวิต ปรับเป็นเงินสูงสุด 5,000,000 บาท ส่วนผู้ที่ครอบครองสารแอลเอสดีมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 10 ปี ปรับสูงสุด 200,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ 

นอกจากนี้ผู้เสพสารแอลเอสดียังมีโทษจำคุก 6 เดือนถึง 3 ปี หรือปรับสูงสุด 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วย

สารแอลเอสดีเป็นสารเสพติดที่ส่งผลกระทบมากมายต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต อีกทั้งทำให้เกิดผลข้างเคียงระยะยาวแม้จะเลิกยาไปแล้ว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทำให้เสียบุคลิกภาพ ไม่สามารถจดจ่อมีสมาธิกับสิ่งที่ทำได้ 

ทางที่ดีคุณควรอยู่ในห่างยาเสพติดทุกประเภท เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบจากผลข้างเคียงของมันทั้งในแง่ร่างกาย และจิตใจ

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสารเสพติด จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Passie T, Halpern JH, Stichtenoth DO, Emrich HM, Hintzen A (2008). "The pharmacology of lysergic acid diethylamide: a review". CNS Neuroscience & Therapeutics. 14 (4): 295–314. doi:10.1111/j.1755-5949.2008.00059.x. PMC 6494066. PMID 19040555.
National Center for Biotechnology Information, Lysergic acid diethylamide: a drug of ‘use’? (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4910402/), 31 July 2020.
Drugs.com, LSD: Effects, Hazards & Extent of Use (https://www.drugs.com/illicit/lsd.html), 31 July 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)