การใช้ชีวิตกับโรคลมชัก

เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
การใช้ชีวิตกับโรคลมชัก

การออกกำลังกายเป็นประจำและการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ถือเป็นข้อแนะนำสำหรับคนทุกคนไม่เพียงแต่ผู้ป่วยโรคลมชักเท่านั้น เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็งหลายๆ ชนิด

แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ มีความหลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างพอเพียง การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ช่วยผ่อนคลายความเครียดและลดอาการอ่อนเพลียได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการชักได้ รวมถึงอาจเกิดปฏิริยาระหว่างแอลกอฮอล์กับยากันชักที่รับประทานอยู่ได้ ยากันชักสามารถทำให้ฤทธิ์ของแอลกอฮอล์แรงขึ้น ในขณะที่แอลกอฮอล์สามารถทำให้ผลข้างเคียงจากยากันชักแย่ลงและทำให้ยากันชักมีประสิทธิภาพลดลงได้

การดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักจะสัมพันธ์กับการขัดขวางรูปแบบการนอนตามปกติอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจส่งผลเพิ่มโอกาสในการเกิดอาการชักได้ ดังนั้นการดื่มแอลกอฮอล์ไม่มากเกินไปกว่าปริมาณขีดจำกัดที่แนะนำต่อวันอาจช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้

ปริมาณแอลกอฮอล์ที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ ไม่เกิน 3-4 หน่วยสำหรับผู้ชาย และ 2-3 หน่วยสำหรับผู้หญิง โดย 1 หน่วยแอลกอฮอล์เทียบเท่ากับประมาณครึ่งไพน์ของเบียร์ความแรงปกติ

ผู้หญิงกับโรคลมชัก

มีแง่มุมเกี่ยวกับโรคลมชักและการรักษาโรคลมชักที่ผู้ป่วยผู้หญิงจำเป็นต้องตระหนักถึงเป็นพิเศษดังนี้

การคุมกำเนิด

ยากันชักบางชนิดจะส่งผลประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดบางชนิด ได้แก่:

  • ยาฉีดคุมกำเนิด
  • ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง
  • ยาคุมกำเนิดรับประทานชนิดฮอร์โมนรวม (combined oral contraceptive pill)
  • ยาคุมกำเนิดรับประทานชนิดมีแต่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน  (progesterone-only pill)
  • ยาฝังคุมกำเนิด

หากคุณยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์แต่ยังไม่ได้วางแผนที่จะตั้งครรภ์ แนะนำให้สอบถามแพทย์ที่ดูแลรักษาคุณว่ายากันชักที่รับประทานนั้นส่งผลต่อการคุมกำเนิดที่คุณกำลังใช้อย่างไรบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณอาจจำเป็นต้องทำให้แน่ใจว่าคุณหรือคู่ของคุณเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดวิธีการอื่นร่วมด้วย เช่น การใช้ถุงยางอนามัย หรือการใช้ห่วงคุมกำเนิด (intrauterine device (IUD))

นอกจากนี้ประสิทธิภาพของยากันชักที่ชื่อว่า ลาโมไทรจีน (lamotrigine) อาจมีประสิทธิภาพลดลงหากคุณใช้ยาคุมกำเนิดรับประทานชนิดฮอร์โมนรวม (combined oral contraceptive pill)

ยากันชักบางชนิดยังส่งผลลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดฉุกเฉินด้วย หากคุณจำเป็นต้องใช้การคุมกำเนิดฉุกเฉิน คุณอาจจำเป็นต้องใช้ห่วงคุมกำเนิด ซึ่งแพทย์ที่ดูแลคุณ แพทย์ด้านวางแผนครอบครัว หรือเภสัชกร สามารถให้คำแนะนำกับคุณได้

การตั้งครรภ์

ไม่มีเหตุผลว่าทำไมหญิงตั้งครรภ์จะไม่สามารถตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดีได้ อย่างไรก็ตามขอแนะนำให้มีการวางแผนตั้งครรภ์เป็นการล่วงหน้า เพราะหากตั้งครรภ์ขณะเป็นโรคลมชักจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าปกติเล็กน้อย หากคุณมีการวางแผนการตั้งครรภ์ไว้ล่วงหน้า ความเสี่ยงดังกล่าวจะลดลง

ความเสี่ยงสำคัญก็คือยากันชักบางชนิดมีข้อมูลว่าเพิ่มโอกาสของการเกิดความผิดปกติต่อทารกในครรภ์ เช่น กระดูกสันหลังโหว่ (spina bifida), ปากแหว่ง หรือเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด (congenital heart disease) โดยความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับชนิดของยากันชักและขนาดยาที่รับประทาน

หากคุณกำลังวางแผนที่จะตั้งครรภ์ แนะนำให้ขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคลมชัก ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนชนิดของยากันชักที่รับประทานเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การรับประทานกรดโฟลิก 5 มิลลิกรัมต่อวันสามารถลดความเสี่ยงของความผิดปกติของทารกในครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณพบว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ระหว่างเป็นโรคลมชักโดยที่ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ขอแนะนำว่าอย่าหยุดรับประทานยากันชัก เพราะความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากอาการชักที่ควบคุมไม่ได้มีมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากยา

ในกรณีให้นมบุตรพบว่ายากันชักไม่มีความเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการให้นมบุตร

เด็กกับโรคลมชัก

เด็กจำนวนมากที่สามารถควบคุมอาการชักได้เป็นอย่างดีสามารถเข้าเรียนหนังสือและเข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนได้ตามปกติโดยไม่ได้รับผลกระทบจากโรคลมชัก สำหรับเด็กที่ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ดีอาจจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมเป็นพิเศษเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้เวลาอยู่ที่โรงเรียน

คุณต้องมั่นใจว่าคุณครูที่ดูแลบุตรหลานของคุณที่เป็นโรคลมชักมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้และทราบถึงยาที่เด็กจำเป็นต้องใช้เพื่อควบคุมอาการ

โรคลมชักพบได้บ่อยในเด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้และจำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ เด็กเหล่านี้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือพิเศษในการเอาชนะกับความยากลำบากของพวกเขา ในแต่ละโรงเรียนควรมีคุณครูอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบสำหรับเด็กที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลด้านการศึกษาเป็นพิเศษ ซึ่งโรงเรียนควรปฏิบัติอย่างดีที่สุดเพื่อตอบสนองต่อความต้องการด้านการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับเด็กกลุ่มนี้ และบางครั้งอาจต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกโรงเรียนด้วย

การพูดคุยกับผู้อื่น

หากคุณมีคำถามใดๆ เกี่ยวกับโรคลมชัก แพทย์หรือพยาบาลอาจให้คำแนะนำกับคุณได้ คุณอาจพบว่าการพูดคุยกับนักจิตวิทยาหรือผู้ให้คำปรึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมอาจเป็นประโยชน์กับคุณ

บางคนพบว่าการพูดคุยกับคนอื่นที่เป็นโรคลมชักถือว่าเป็นประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสนับสนุนผู้ป่วยทั่วไป หรือแม้กระทั่งในอินเตอร์เน็ต (social network)

การขับรถ

แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าผู้ป่วยโรคลมชักสามารถขับรถได้หรือไม่ เนื่องจากอาการชักขณะขับรถอาจทำให้เกิดอันตรายสูงต่อชีวิตทั้งตนเองและผู้อื่น โดย

  • ผู้ที่ขับขี่รถส่วนบุคคล ที่มีอาการชักแบบไม่รู้สติ หรือสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายต้องหยุดขับรถทันที และจะสามารถกลับมาขับรถได้อีกครั้ง เมื่อสามารถควบคุมอาการชักได้ไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • ผู้ที่ขับรถสาธารณะ ที่มีอาการชักแบบไม่รู้สติ หรือสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายต้องหยุดขับรถทันที และจะสามารถกลับมาขับรถได้อีกครั้ง เมื่อสามารถควบคุมอาการชักได้ไม่น้อยกว่า 10 ปี

ทั้งนี้การจะกลับมาขับรถได้อีกครั้ง ต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณายืนยันว่าคุณสามารถกลับมาขับรถได้อย่างปลอดภัยก่อนเสมอ

การเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุในผู้ป่วยโรคลมชัก (Sudden unexpected death in epilepsy (SUDEP))

เมื่อผู้ป่วยโรคลมชักเสียชีวิตโดยไม่มีสาเหตุ เราเรียกภาวะนี้ว่า sudden unexpected death in epilepsy (SUDEP)

แม้ว่าความเสี่ยงของการเกิดภาวะนี้ในผู้ป่วยโรคลมชักจะอยู่ในระดับต่ำ แต่ในประเทศสหราชอาณาจักรพบการเสียชีวิตจากภาวะนี้อยู่ระหว่าง 500-1,000 รายทุกๆ ปี

สาเหตุที่แน่ชัดของการเสียชีวิตจากภาวะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด และไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้กับใคร ทฤษฎีหนึ่งก็คืออาการชักจะส่งผลกระทบต่อการหายใจและการเต้นของหัวใจของผู้ที่มีอาการชัก

สิ่งที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุในผู้ป่วยโรคลมชัก ได้แก่:

  • มีอาการชักที่ทำให้หมดสติ และร่างกายแข็ง และเริ่มมีอาการกระตุก (อาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว หรือ tonic-clonic seizures)
  • โรคลมชักที่ควบคุมอาการไม่ดี เช่น ไม่ได้รับประทานยากันชักตามที่แพทย์สั่ง
  • มีการเปลี่ยนแปลงยากันชักและความถี่ในการใช้ยากะทันหันและบ่อยครั้ง
  • อยู่ในวัยหนุ่มสาว (โดยเฉพาะผู้ชาย)
  • มีอาการชักขณะนอนหลับ
  • มีอาการชักขณะอยู่คนเดียว
  • ดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก

หากคุณกำลังกังวลว่าอาการชักของคุณไม่สามารถควบคุมได้ดี แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านโรคลมชัก ซึ่งอาจมีการส่งต่อคุณไปรักษายังศูนย์รักษาที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม 

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/epilepsy#living-with


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Epilepsy - Living with. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/epilepsy/living-with/)
Epilepsy: Coping, Support, and Living Well. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/coping-with-epilepsy-1204447)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก
อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) สำหรับโรคลมชัก

คำอธิบายของอาหารคีโตเจนิกและตัวอย่างรายการอาหาร

อ่านเพิ่ม