กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

​ตรวจตับ เช็คให้ชัวร์ว่าตับคุณยังแข็งแรงหรือเปล่า

ตับสำคัญอย่างไร ใครควรตรวจ ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับการตรวจตับ
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 พ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
​ตรวจตับ เช็คให้ชัวร์ว่าตับคุณยังแข็งแรงหรือเปล่า

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่หลากหลาย เช่น ขับของเสียออกจากร่างกาย ป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย
  • ตับยังเป็นอวัยวะมหัศจรรย์ แม้จะใช้งานได้เพียง 30% แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ และมีกลไกซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเองได้
  • พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตับ ไม่ใช่แค่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น แต่กว่า 80% มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราเอง
  • โรคตับมักไม่แสดงอาการให้เห็นจนกว่าอาการจะรุนแรงลุกลามไปมากแล้ว
  • การตรวจสุขภาพตับอย่างสม่ำเสมอในผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเป็นหนึ่งในวิธีป้องกันโรคตับได้ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพตับได้ที่นี่)

“ดื่มเหล้ามากๆ ระวังจะตับแข็ง” เชื่อว่า แทบทุกคนคงเคยได้ยินประโยคนี้กันมาบ้าง แต่รู้ไหมว่าจริงๆ แล้วพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตับ ไม่ใช่แค่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่านั้น 

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคตับได้มาจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานยา วิตามิน หรืออาหารเสริมติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากใครรู้ตัวว่า กำลังอยู่ในกลุ่มเสี่ยง การตรวจตับก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ทำให้คุณรู้ว่า ตอนนี้ตับของคุณยังแข็งแรงอยู่หรือเปล่า

ความสำคัญของตับ

ตับเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเพราะตับมีหน้าที่หลากหลาย ทำงานเชื่อมโยงกับหลายๆ ระบบในร่างกาย ดังนี้

  • เป็นแหล่งผลิตสารสำคัญต่างๆ ในร่างกาย 
  • เป็นแหล่งสะสมอาหาร 
  • เป็นแหล่งสร้างน้ำดี 
  • ขับของเสียออกจากร่างกาย 
  • ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม 
  • เป็นแหล่งรีไซเคิลโปรตีนในร่างกายให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

ทั้งนี้ไม่มีอวัยวะใดมาทำหน้าที่เหล่านี้แทนตับได้เลย แม้แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถผลิตอุปกรณ์ใดๆ มาทำหน้าที่แทนตับได้เช่นกัน

ตับยังเป็นอวัยวะที่มหัศจรรย์อย่างมากเพราะแม้จะถูกทำลายจนเหลือใช้งานได้เพียง 30% แต่ก็ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ ตับยังมีกลไกการซ่อมแซมและฟื้นฟูตัวเองอีกด้วยแตกต่างจากอวัยวะอื่นๆ ที่หากถูกทำลายไปแล้วก็จะไม่สามารถใช้งานได้เลย

ด้วยความมหัศจรรย์นี้เองที่ทำให้เราไม่เคยรับรู้ถึงสัญญาณเตือนใดๆ ว่า "ตับของเรากำลังมีปัญหาอยู่หรือไม่" เราจึงทำพฤติกรรมที่ทำลายตับไปเรื่อยๆ และแม้ว่าตับจะซ่อมแซมตัวเองได้ แต่หากถูกทำลายซ้ำๆโดยไม่ได้หยุดพัก ก็เกิดปัญหาได้เช่นกัน

ผู้ที่เป็นโรคตับส่วนใหญ่จึงมาพบแพทย์เมื่ออาการของโรคลุกลามไปไกลจนเกินเยียวยาและอาจส่งผลให้เป็นอันตรายถึงชีวิต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

การตรวจตับอย่างสม่ำเสมอในผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงจึงมีความสำคัญอย่างมากเพราะหากทราบถึงปัญหาและหยุดยั้งสาเหตุที่ทำลายตับได้ทัน ก็มีโอกาสหายจากโรคนั้นๆ ได้ ตับก็สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติได้อีกครั้ง

ใครที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรตรวจตับบ้าง

  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ แอลกอฮอล์จะทำลายเซลล์ตับทำให้เกิดความเสียหาย นานไปจะทำให้ตับแข็งและเป็นมะเร็งตับได้
  • มีภาวะอ้วนลงพุง อาจทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับและทำให้ตับเกิดการอักเสบตามมา มีโอกาสทำให้ตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
  • รับประทานยา หรือสมุนไพร ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ตับมีหน้าที่แปลงสารต่างๆ ที่เรารับประทานเข้าไปให้อยู่ในรูปที่ร่างกายนำไปใช้งานได้ ยิ่งเรารับประทานยา วิตามิน หรืออาหารเสริมที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย หรือไม่มีข้อบ่งชี้ของโรคเข้าไปมากๆ ตับก็ต้องทำงานหนักขึ้นตามไปด้วย 
  • รับประทานวิตามินและอาหารเสริม ติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หากรับประทานวิตามินเกินความจำเป็นของร่างกาย ตับก็ต้องขับวิตามินออก หากเป็นวิตามินกลุ่มที่ละลายในน้ำมัน (A D E K) ซึ่งตับขับออกไม่ได้ ก็จะเข้าไปสะสมในตับแทน เป็นสาเหตุทำให้ตับอักเสบได้เช่นกัน
  • ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ เชื้อไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปทำลายเซลล์ตับทำให้ตับอักเสบ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็มีโอกาสเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด

อาการบ่งชี้ที่ทำให้รู้ว่า ควรตรวจตับได้แล้ว

ส่วนมากแล้วหากตับเกิดความผิดปกติ ร่างกายแทบจะไม่แสดงอาการใดๆ เลย จะแสดงอาการให้เห็นก็ต่อเมื่อโรคดำเนินมาในระยะที่รุนแรงแล้ว 

ดังนั้นการรอให้เกิดอาการจึงอาจสายเกินไป แต่ควรสังเกตจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตว่า "เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยง หรือไม่" จึงตัดสินใจตรวจตับ จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ตรวจตับต้องตรวจอะไรบ้าง

การตรวจตับในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงแพทย์จะตรวจวัดระดับค่าภายในเลือดดังนี้

  • AST หรือเรียกอีกชื่อว่า SGOT เพื่อตรวจการอักเสบของตับ ค่าปกติคือ น้อยกว่า 40 ยูนิต/ลิตร*
  • ALT หรือเรียกอีกชื่อว่า SGPT เพื่อตรวจการอักเสบของตับ ค่าปกติคือ น้อยกว่า 40 ยูนิต/ลิตร*

หากค่าทั้ง 2 นี้ปกติก็วินิจฉัยได้ว่า ตับของคุณยังแข็งแรง ไม่จำเป็นต้องตรวจใดๆ เพิ่มเติม แต่หากผลออกมาผิดปกติ ร่วมกับอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีอาการท้องบวม ท้องมาน ตัว ตาเหลือง แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

  • Alkaline Phosphatase เพื่อตรวจสอบการอุดตันของท่อน้ำดี ค่าปกติคือ น้อยกว่า 120 ยูนิต/ลิตร*
  • Albumin เพื่อตรวจสอบการสร้างโปรตีนของตับ ค่าปกติคือ 3.5-5.5 กรัม/เดซิลิตร*
  • ตรวจอัลตราซาวน์ช่องท้อง เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในตับ เช่น ก้อนเนื้องอก หรือมะเร็ง

*ค่าปกติ หรือค่ามาตรฐานของแต่ละโรงพยาบาลอาจต่างกัน ขึ้นอยู่กับน้ำยาที่ใช้ในการตรวจ

ตรวจตับได้ที่ไหนบ้าง

ตามปกติโปรแกรมการตรวจการทำงานของตับพื้นฐาน AST และ ALT นั้น ส่วนใหญ่จะมีในโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปีของโรงพยาบาล หรือคลินิกต่างๆ อยู่แล้ว แต่หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และอยากตรวจตับรายการอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกชั้นนำทั่วไป

สำหรับผู้สนใจแพ็กเกจตรวจตับ ตรวจสอบได้ที่นี่


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจไวรัสตับอักเสบบี ตรวจยังไง เตรียมตัวอย่างไร? อ่านที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/hepatitis-b-test).
ตรวจค่าตับ alt และ ast คืออะไร? ตรวจยังไง?, (https://hdmall.co.th/c/liver-function-program).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป