กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ. สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ. สุทธิพงษ์ ตรีรัตน์

ดูดไขมัน...ทางเลือกสำหรับการกระชับส่วนอย่างได้ผล

รู้จักการดูดไขมันวิธีต่างๆ เพื่อการกระชับสัดส่วน ออกแบบรูปร่างได้ดั่งใจ และหลักการปฏิบัติเพื่อให้คงรูปร่างดีไว้ได้นานๆ
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 ต.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ดูดไขมัน...ทางเลือกสำหรับการกระชับส่วนอย่างได้ผล

เทรนด์ของการรักษาสุขภาพทั้งภายในและภายนอกเป็นที่นิยมในปัจจุบัน หลายคนจึงอยากจะมีรูปร่างและสัดส่วนที่ดี แต่ในบางคนอาจมีปัญหาไขมันสะสมจำนวนมาก และไม่ว่าจะออกกำลังกายเท่าไรก็ไม่สามารถลดลง หรือกำจัดไขมันส่วนเกินออกไปได้ แม้จะคุมอาหารแล้วไขมันก็ยังไม่สลายไป การดูดไขมันจึงเข้ามาเป็นอีกทางเลือกที่ตอบโจทย์

การดูดไขมันคืออะไร?

การดูดไขมัน (Liposuction) เป็นเทคนิคการศัลยกรรมรูปร่างเพื่อนำไขมันส่วนเกินในบริเวณที่ไม่ต้องการออก การดูดไขมันนั้นช่วยลดปริมาณไขมันที่เกิดจากการสะสมตามอวัยวะต่างๆ ซึ่งเป็นไขมันที่สลายได้ยาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูดไขมันหน้าเรียวกับหมอบอส - Natchaya Clinic ผลลัพธ์นาน 1 ปี

ประสบการณ์ 2,000+ เคส / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / ดูดทั้งแก้ม กรอบหน้า และเหนียง

แต่สิ่งที่คุณควรทราบคือ การดูดไขมันไม่ได้ช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก เป็นเพียงการปรับรูปร่าง สัดส่วน ให้ออกมาเป็นตามที่ต้องการ เช่น ในกรณีผู้หญิงที่ต้องการมีส่วนเว้า ส่วนโค้ง เห็นเอวคอด บั้นท้ายเล็กลง ก็สามารถดูดไขมันช่วงหน้าท้องหรือต้นขาได้ ในผู้ชายอาจต้องการลดไขมันหน้าท้องเพื่อให้เห็นซิกซ์แพ็ก หรือกล้ามเนื้อท้องที่ชัดเจนขึ้น ก็สามารถใช้การดูดไขมันหน้าท้องช่วยได้เช่นกัน

สามารถดูดไขมันส่วนไหนได้บ้าง?

หลักๆ แล้ว คนส่วนใหญ่นิยมดูดไขมันบริเวณ เหนียง ต้นแขน หน้าท้องบน-ล่าง คาง สะโพก ขา ก้น แต่ที่จริงสามารถดูดไขมันได้ทุกส่วนของร่างกาย ดังภาพประกอบด้านล่าง

บริเวณที่สามารถดูดไขมันได้

การดูดไขมันมีวิธีไหนบ้าง?

ในปัจจุบัน วิธีดูดไขมันที่นิยมกัน ได้แก่ ดูดไขมันแบบ Vaser ดูดไขมันแบบ BodyTite และการดูดไขมันแบบ Water Jet โดยแต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้

1. การดูดไขมันแบบ VASER


การดูดไขมันแบบ Vaser คือการใช้เครื่องมือที่ใช้คลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ในการสลายไขมัน เป็นเครื่องรุ่นแรกที่พัฒนามาก่อนการดูดไขมันแบบอื่นๆ

กระบวนการคือ แพทย์จะทำการฉีดน้ำเกลือที่มีส่วนผสมของยาชาไปยังตำแหน่งที่จะการดูดไขมันส่วนเกินออก จากนั้นกรีดผิวหนังและสอดเครื่องมืออุปกรณ์เล็กๆ โดยจะใส่เข้าไปใต้ผิว แล้วเครื่องมือจะปล่อยคลื่นอัลตราซาวด์จากระบบหัวฉีด Vaser ที่มีหัวฉีดขนาดเล็กมาก ประมาณ 3 มิลลิเมตรเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูดไขมันหน้าเรียวกับหมอบอส - Natchaya Clinic ผลลัพธ์นาน 1 ปี

ประสบการณ์ 2,000+ เคส / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / ดูดทั้งแก้ม กรอบหน้า และเหนียง

คลื่นนี้จะช่วยย่อยไขมันให้อ่อนนิ่มและเหลวมากขึ้น จนละลายออกมาปนอยู่ในน้ำเกลือที่แพทย์ฉีดเข้าไปก่อนหน้านั้น จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการดูดไขมันต่อไป

ข้อดีของการดูดไขมันแบบ Vaser คือ สามารถดูดไขมันได้ปริมาณมาก เหมาะกับคนที่มีไขมันส่วนเกินที่กำจัดยากมาก โดยเฉพาะส่วนหน้าท้อง สะโพก ต้นขา 

อย่างไรก็ตาม ถึงจะดูดได้มาก แต่ไม่ช่วยกระชับผิวหลังทำเสร็จ ควบคุมพลังงานความร้อนยากกว่า และค่อนข้างเจ็บกว่าการดูดไขมันแบบอื่น

2. การดูดไขมันแบบ BodyTite

การดูดไขมันแบบ BodyTite เป็นวิธีที่พัฒนาหลังจาก Vaser ราว 7 ปี การดูดไขมันแบบนี้จะใช้เทคโนโลยีปล่อยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio frequency: RF) ออกมา เพื่อช่วยสลายไขมันให้มีโมเลกุลที่เล็กลง ดูดออกมาได้ง่ายขึ้น

ไขมันที่ถูกดูดออกมามีเลือดปนน้อยมากเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ ทำให้เกิดแผลเพียงเล็กน้อย พร้อมช่วยกระชับผิวได้ในตัว

ข้อดีของการใช้คลื่น RF กำจัดไขมัน คือ ไม่ทำให้ผิวเป็นคลื่นหลังดูดไขมัน ผิวจะยังคงเรียบเนียน ช่วยลดการเกิดรอยฟกช้ำได้อย่างดี แผลหายเร็ว ควบคุมพลังงานและกระจายความร้อนได้ดี ให้พลังงานที่กระจายสม่ำเสมอ

มีผลทำให้ผิวหนังเรียบและไม่บาดเจ็บต่อเนื้อเยื่ออื่นๆ ไม่รู้สึกเจ็บเท่า Vaser ถึงแม้ปริมาณไขมันที่ดูดจะมีปริมาณน้อยกว่า Vaser แต่สามารถใช้อุปกรณ์ระบบสั่น PAL เข้ามาเสริมเพื่อแก้ปัญหานี้ได้ ทำให้ดูดไขมันได้ในปริมาณมากตามความต้องการ และช่วยกระชับผิวไปพร้อมกัน

3. การดูดไขมันแบบ Water Jet หรือ Body Jet

การดูดไขมันแบบ Water Jet เหมาะกับผู้ที่ต้องการนำไขมันไปเติมเต็มส่วนอื่นๆ การดูดไขมันแบบ Water Jet จะแตกต่างจากวิธีอื่นคือ ใช้พลังงานน้ำในการแยกเซลล์ไขมันออกจากเนื้อเยื่อผิวหนัง ทำให้เจ็บน้อย และเซลล์ไขมันมีสภาพสมบูรณ์ ไม่ตาย

ที่สำคัญ มีระบบปลอดเชื้อเป็นแบบระบบปิด คือ ดูดไขมันแล้วเอาไปฉีดส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้เลยทันที นิยมใช้ในการเติมไขมันบริเวณใบหน้าให้ดูอิ่มเอิบ หรือใช้เสริมหน้าอก สะโพก ก็ได้เช่นกัน

การดูดไขมันแบบ Water Jet หรือ Body Jet มีข้อดีที่สามารถดูดไขมันอย่างซอกซอนไปในจุดที่ดูดยากได้ และผิวไม่เป็นคลื่นหลังจากการดูดไขมัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ดูดไขมันหน้าเรียวกับหมอบอส - Natchaya Clinic ผลลัพธ์นาน 1 ปี

ประสบการณ์ 2,000+ เคส / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / ดูดทั้งแก้ม กรอบหน้า และเหนียง

4. การดูดไขมันด้วยเครื่องสั่น หรือ PAL (Power Assisted Liposuction)

การดูดไขมันด้วยเครื่องสั่น เป็นเครื่องที่พัฒนารุ่นหลัง ใช้ระบบสั่นช่วยในการดูดไขมันให้ไหลออกมาได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่พังผืดมีความแข็งแรง เช่น กลางหลัง หรือบริเวณที่เคยดูดไขมันมาก่อนแล้วต้องทำซ้ำ สาเหตุที่เครื่องแบบ PAL ไม่ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากราคาเครื่องค่อนข้างสูง

ตอบคำถามถามบ่อย การดูดไขมัน เป็นการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ถาวรหรือไม่?

การดูดไขมัน อาจช่วยให้ไขมันออกไปจากร่างกายประมาณ 60% ของไขมันทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เซลล์ไขมันนี้สามารถกลับมาได้อีก แต่ไม่กลับมาถึง 100% เท่าเดิม

ดังนั้นการดูดไขมันจึงไม่ใช่การกำจัดไขมันถาวร แต่ช่วยควบคุมหรือทำให้เซลล์ไขมันกลับมาได้ยากขึ้น หรือดูอ้วนขึ้นได้ยากกว่าปกติ

สิ่งที่สำคัญที่สุดหลังจากดูดไขมันคือ ยังต้องเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม และออกกำลังกายร่วมด้วย

หากดูแลไม่ดี หรือในบุคคลที่เซลล์ไขมันพอกพูนได้เร็ว ไขมันก็อาจจะกลับมาได้ภายในระยะเวลาประมาณ 2 ปี แต่หากคนไข้ดูแลตัวเองดี ผลลัพธ์ของการดูดไขมันก็จะอยู่ได้นานกว่านั้น

การดูแลตัวเองหลังดูดไขมัน

เพื่อให้การดูดไขมันได้ผลดีและปลอดภัย คุณควรดูแลตัวเองหลังรับบริการดังนี้

  • งดออกกำลังกายหนักๆ 1 เดือน และสวมใส่ชุดกระชับสัดส่วนไว้ตลอดระยะเวลานั้นด้วย
  • รับประทานอาหารตามที่แพทย์แนะนำอย่างครบถ้วน
  • หลีกเลี่ยงการโดนน้ำหรือความเปียกชื้น จนกว่าแผลจะสมานตัวเรียบร้อย
  • เมื่อแผลหายสนิทและอาการคงที่แล้ว ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันการเกิดไขมันสะสม
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลอรีต่ำ อาหารที่แนะนำ ได้แก่ ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี สลัดไก่ สลัดผัก สลัดทูน่า แกงจืดหมู ส้มตำ ยำต่างๆ ไข่ต้ม หรือควบคุมอาหารที่ให้พลังงานแคลอรีที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล สามารถคำนวณได้ตามลิงก์นี้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารมื้อหนัก อาหารที่มีแป้งสูง เช่น หมูสามชั้น ปิ้งย่าง บุฟเฟ่ต์ต่างๆ รวมถึงขนมหวาน ของทอด ของมัน
  • เลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีแร่ธาตุและไฟเบอร์

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นหลังดูดไขมัน

เนื่องจากการดูดไขมันนั้นคือการนำไขมันจำนวนมากออกไปภายในเวลารวดเร็ว ดังนั้นการเกิดอาการบวม ช้ำ เขียว จึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่จะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

สิ่งที่ช่วยได้คือการสวมใส่สเตย์หรือชุดรัดกระชับ จะช่วยให้อาการบวมยุบเร็วขึ้น และยังช่วยพยุงร่างกายไว้ไม่ให้กระทบกระเทือนบริเวณที่เป็นแผล นอกจากจะช่วยลดการบวมแล้ว ยังช่วยให้เจ็บน้อยลงเวลาเคลื่อนไหว

ในผู้รับบริการบางราย เมื่อดูดไขมันไปแล้วอาจทำให้ผิวหนังบริเวณที่ถูกดูดไขมันออกไปไม่เรียบ เหลือเป็นรอยลักษณะเป็นคลื่นอยู่ สาเหตุเกิดจากดูดไขมันในชั้นผิวที่ไม่ลึกมากพอ หรือบางรายผิวอาจแข็ง เนื่องจากเนื้อเยื่อแข็งขึ้น แต่สามารถรักษาได้โดยการนวด ไม่ว่าจะเป็นนวดแผนไทยหรือนวดน้ำมัน หรือใช้เครื่อง RF รักษาร่วมด้วย

สิ่งที่ควรระวังอีกข้อคือ การติดเชื้อของแผลผ่าตัด ควรรักษาแผลผ่าตัดให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ

ในกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ ควรหลีกเลี่ยงการดูดไขมัน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่แผลจะหายช้า หรือติดเชื้อหรือโรคแทรกซ้อนได้สูงกว่าคนทั่วไป

หากต้องการดูดไขมันจริงๆ จำเป็นต้องแจ้งแพทย์ให้ทราบและพิจารณาความเหมาะสมเสียก่อน

การจะดูดไขมันเป็นการศัลยกรรมใหญ่และทุกการผ่าตัดมีความเสี่ยง จึงต้องเลือกทำการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ได้รับมาตรฐาน

อ่านเพิ่มเติม: ตัวอย่างรายละเอียดและราคาแพ็กเกจดูดไขมันส่วนต่างๆ ของร่างกาย


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
การดูดไขมันหน้าท้อง ปลอดภัยหรือไม่ เจ็บแค่ไหน เห็นผลทันทีหรือไม่ ต้องดูแลอย่างไร, (https://hdmall.co.th/c/abdominal-liposuction).
Medi Star, 5 วิธีดูดไขมัน ต้นแขน ต้นขา หน้าท้องที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุด (https://www.medistar.xyz/liposuction/), 18 กุมภาพันธ์ 2019.
Elegance Slimup, การนวดด้วย RF ช่วยเรื่องอะไรบ้าง (http://www.elegance-slimup.com/การนวดสลายไขมันด้วย-rf-หรือ-radio-frequency.html).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป