อาการง่วงซึม เป็นอาการที่ทำให้รู้สึกง่วงนอน เหนื่อยล้าและเฉื่อยชา อาจเกิดจากสาเหตุทางกายหรือทางจิตใจก็ได้ ผู้ป่วยที่มีอาการง่วงซึมมักอยู่ในภาวะมึนงง หรืองุนงงตลอดเวลา บางคนอาจเคลื่อนที่ได้ช้ากว่าปกติอีกด้วย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการของความง่วงซึม
ความง่วงซึมอาจทำให้เกิดอาการต่อไปนี้ได้บางอาการ หรือเกิดทุกอาการรวมกัน ได้แก่
- การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์
- มีความตื่นตัวน้อยลง
- คิดช้าลง
- เมื่อยล้า เฉื่อยชา
- พลังงานต่ำ
- เกียจคร้าน
สาเหตุของภาวะง่วงซึม
ภาวะง่วงซึม สามารถเกิดได้จากโรคหรือภาวะทางการแพทย์ดังต่อไปนี้
- การได้รับพิษจากคาร์บอนมอนออกไซด์ (Carbon Monoxide Poisoning)
- ภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
- เป็นไข้ (Fever)
- โรคฮอร์โมนไทรอยด์น้อยเกิน (Hypothyroidism)
- โรคฮอร์โมนไทรอยด์มากเกิน (Hyperthyroidism)
- โรคสมองบวมน้ำ (Hydrocephalus)
- โรคไตวาย (Kidney Failure)
- โรคไลม์ (Lyme disease)
- โรคไขสันหลังอักเสบ (Myelitis)
- โรคของต่อมใต้สมอง เช่น มะเร็งต่อมใต้สมอง (Pituitary Tumor)
- ภาวะทุพโภชนาการ (Nutritional Deficiency)
- โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea)
- โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
- การได้รับบาดเจ็บที่สมอง (TBI)
และในบางกรณี ก็อาจพบอาการง่วงซึมจากสาเหตุทางจิตใจดังต่อไปนี้
- ภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง (Depression)
- ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression: PPD)
- กลุ่มอาการก่อนเป็นประจำเดือน (Premenstrual syndrome)
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์
หากพบอาการง่วงซึมร่วมกับอาการต่อไปนี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- เจ็บหน้าอก
- ไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม หรือตอบสนองได้ช้าและน้อยลง
- ไม่สามารถขยับแขนหรือขาข้างหนึ่งของร่างกาย
- เกิดอาการสับสน เช่น จำชื่อตนเองไม่ได้ ไม่สามารถนึกวันที่ได้ หรือไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน
- หัวใจเต้นเร็ว
- ใบหน้าเป็นอัมพาตข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างของใบหน้า
- หมดสติ
- เลือดออกทางทวารหนัก
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- หายใจหอบถี่
- อาเจียนเป็นเลือด
- มีความคิดจะทำร้ายตัวเอง
- ความเจ็บและปวดที่ไม่หายไปเมื่อได้รับการรักษาแล้ว
- นอนหลับยาก
- รู้สึกเศร้าหรือว่างเปล่าบ่อยครั้ง
- หงุดหงิด ฉุนเฉียว
- ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม
- น้ำหนักเพิ่ม หรือลดอย่างไม่ทราบสาเหตุ
หากอาการง่วงซึมเกิดขึ้นในทารกหรือเด็กเล็ก แล้วมีอาการดังต่อไปนี้ ก็ควรพาไปพบแพทย์ทันทีเช่นกัน
- ปลุกให้ตื่นยาก
- ไข้สูงมากกว่า 38.9 °C
- อาการของภาวะขาดน้ำ เช่น ร้องไห้แต่ไม่มีน้ำตา ปากแห้ง ไม่ค่อยปัสสาวะ
- เกิดผื่นขึ้นฉับพลัน
- อาเจียนอย่างรุนแรง และอาเจียนนานกว่า 12 ชั่วโมง
การวินิจฉัยอาการง่วงซึม
แพทย์จะซักประวัติทางการแพทย์เต็มรูปแบบ พร้อมกับตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยอาการความง่วง ในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าเกิดจากความผิดปกติของไทรอยด์ ก็อาจมีการพิจารณาให้ตรวจเลือดประกอบ แต่ถ้าแพทย์สงสัยว่าเกิดจากความผิดปกติของสมอง เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ก็อาจพิจารณาให้มีการตรวจด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) หรือการทำเอ็มอาร์ไอ (MRI) เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การรักษาอาการง่วงซึม
การรักษาอาการง่วงซึมจะขึ้นอยู่กับสาเหตุเป็นหลัก หากเกิดจากภาวะทางการแพทย์ ก็จะมีการรักษาไปตามอาการนั้นๆ แต่หากเกิดจากภาวะทางจิตใจ แพทย์ก็อาจจ่ายยาทางจิตเวชให้
ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองที่บ้านเพื่อลดอาการเหนื่อยล้าที่เกี่ยวข้องกับอาการง่วงซึมได้ เช่น ดื่มน้ำให้มาก ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ นอนหลับให้เพียงพอ และจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม
ที่มาของข้อมูล
Rachel Nall, RN, BSN, What causes lethargy? (https://www.healthline.com/symptom/lethargy), January 26, 2018.