ภาวะหลังโก่ง (Kyphosis)

ภาวะหลังโก่ง หรืออาการหลังค่อม มักเกิดจากการมีท่าทางที่ไม่เหมาะสม และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก หากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดอาการปวดและหายใจไม่ออก
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะหลังโก่ง (Kyphosis)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ภาวะหลังโก่ง ภาวะกระดูกสันหลังโก่งงอ หรืออาการหลังค่อม เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังส่วนบนมีความโค้งมากเกินไป จึงทำให้เห็นส่วนหลังนูนขึ้นมาเป็นก้อน (Hump) หากมองจากด้านข้าง จะเห็นว่าหลังส่วนบนเป็นส่วนที่ยื่นออกมา หรืองออย่างเห็นได้ชัด ผู้ที่มีหลังค่อมมักจะมีไหล่ที่งอและลู่ลงอย่างชัดเจนร่วมด้วย

ภาวะหลังโก่งทำให้เกิดแรงกดต่อกระดูกสันหลังที่ไม่เหมาะสมจึงทำให้เกิดอาการปวด และอาจทำให้หายใจลำบาก เนื่องจากเกิดแรงกดที่ปอดร่วมด้วย

สาเหตุของภาวะหลังโก่ง

ภาวะหลังโก่ง สามารถเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้มากที่สุด

  • มีอายุมากขึ้น ร่วมกับมีอิริยาบถหรือท่าทางที่ไม่เหมาะสม
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณหลังส่วนบน
  • Scheuermann's Disease ซึ่งเกิดขึ้นในเด็กและไม่ทราบสาเหตุ
  • โรคข้อเสื่อม หรือโรคกระดูกเสื่อมอื่นๆ
  • โรคกระดูกพรุน ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูกเมื่ออายุมากขึ้น
  • การบาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง
  • แผ่นรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
  • โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis)

แต่ก็อาจพบภาวะหลังโก่งที่เกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ได้บ้าง

  • การติดเชื้อในกระดูกสันหลัง
  • ความพิการแต่กำเนิด เช่น โรคบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina Bifida)
  • เนื้องอก (Tumor)
  • โรคของระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine Disease)
  • โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Heritable Connective Tissue Disorders)
  • โรคโปลิโอ (Polio)
  • โรคพาเก็ท (Paget’s disease)
  • โรคกล้ามเนื้อฝ่อ (Muscular Dystrophy)

หากเกิดภาวะหลังโก่ง ควรเข้าพบแพทย์เมื่อใด

ควรไปพบแพทย์ทันที หากเกิดอาการหลังโก่ง ร่วมกับการหายใจลำบาก อ่อนแรง และรู้สึกเจ็บปวด เพราะการรักษาเพื่อช่วยแก้ไขความโค้งของกระดูกสันหลัง อาจช่วยให้ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต เช่น โรคข้ออักเสบและอาการปวดหลังเรื้อรัง

การรักษาภาวะหลังโก่ง

ทางเลือกการรักษาภาวะหลังโก่ง จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุที่ทำให้เกิด เช่น

  • Scheuermann’s Disease : ผู้ป่วยเด็กจะได้รับการทำกายภาพบำบัด การดามกระดูก หรือการผ่าตัดแก้ไขบริเวณที่มีปัญหา
  • การติดเชื้อ : มักได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
  • เนื้องอก : จะมีการผ่าตัดนำเนื้องอกออกก็ต่อเมื่อ เนื้องอกนั้นมีโอกาสเจริญเติบโตทับเส้นประสาท แต่การผ่าตัดมักทำให้กระดูกอ่อนแอและไม่มั่นคงเท่าเดิม จึงอาจต้องผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังร่วมกันด้วย
  • โรคกระดูกพรุน: แพทย์จะหาวิธีรักษาป้องกันไม่ให้กระดูกเสื่อมและอ่อนแอไปมากกว่าเดิม
  • ท่าทางไม่เหมาะสม: จะต้องทำกายภาพบำบัด เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงในแกนกลางตัวและกล้ามเนื้อหลัง

ที่มาของข้อมูล

Amber Erickson Gabbey, What Causes Kyphosis? (https://www.healthline.com/symptom/kyphosis), October 26, 2016.


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Kyphosis (Round back): Causes, Symptoms, and Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/back-pain/kyphosis-overview#1)
Jason C. Eck, DO, MS, Kyphosis (https://www.medicinenet.com/kyphosis/article.htm).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป