โรคมะเร็งคือ โรคที่เกิดจากเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายมีการเจริญเติบโตผิดปกติ เกิดเป็นก้อนเนื้อที่และลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง หรือกระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย โรคมะเร็งมีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดของโรค และชนิดของเซลล์มะเร็ง ปัจจุบันโรคมะเร็งพบได้บ่อยและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของโลก เนื่องจากเป็นโรคที่มีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงด้วยเป็นอันดับต้นๆ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
แพทย์แผนปัจจุบันเองยอมรับว่ายังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้ชัดเจน และยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยยังคงแสวงหาการรักษาอื่นเพิ่มเติมมาดูแลสุขภาพ หรือหาทางเลือกอื่นที่จะช่วยให้รักษามะเร็งให้หาย “สมุนไพร” ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ป่วยหันมานิยมและให้ความสนใจ แต่ก็ยังมีประเด็นถกเถียงกัน เช่น แท้จริงแล้วสมุนไพรใช้รักษามะเร็งได้หรือไม่?
สมุนไพรบางชนิดนำมาสกัดเพื่อใช้เป็นยารักษามะเร็งแล้ว
มียาเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็งบางชนิดสกัดมาจากสมุนไพร เช่น ยา Vincristine และ Vinblastine ซึ่งมีสารตั้งต้นมาจากต้นแพงพวยฝรั่ง ยานี้ใช้ในการรักษามะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งต้องทำความเข้าใจด้วยว่า กว่าสมุนไพรเหล่านี้จะได้รับการพัฒนาจนเป็นยา ต้องผ่านกระบวนการศึกษาตามขั้นตอน ทั้งในระดับหลอดทดลอง สัตว์ทดลอง และในคน เพื่อให้ทราบถึงวิธีการใช้และข้อบ่งชี้อย่างชัดเจน นอกจากต้นแพงพวยฝรั่งแล้ว ยังมีสมุนไพรอีกหลากหลายชนิดที่นำมาศึกษาเกี่ยวกับการรักษามะเร็ง แต่ข้อมูลที่นำมาสนับสนุนนั้นยังคงเป็นเพียงข้อมูลการศึกษาในสัตว์ทดลอง หรือหลอดทดลองเท่านั้น ซึ่งถือว่ายังมีความน่าเชื่อถือไม่มากพอที่จะนำมารักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งในทางเวชปฏิบัติจริง
สมุนไพรหลายอย่างช่วยบรรเทาผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัดได้
ภายหลังการให้ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง เยื่อบุช่องปากอักเสบ ถ่ายอุจจาระเหลว เป็นต้น ซึ่งอาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของยา ผลข้างเคียงดังกล่าวมักจะดีขึ้นในเวลาไม่นานนัก ซึ่งในทางเวชปฏิบัติ ก็มีการนำสมุนไพรหลายชนิดมาใช้ในผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อบรรเทาอาการข้างเคียงของยาเคมีบำบัด เช่น
- น้ำขิง สามารถช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังจากผู้ป่วยได้รับยาเคมี
- บอระเพ็ด หรือ สะเดา ช่วยให้ผู้ป่วยที่เบื่ออาหารรู้สึกเจริญอาหารมากขึ้นได้
- น้ำมะตูม ช่วยบรรเทาอาการอ่อนเพลียได้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรรักษามะเร็ง
ผู้ป่วยหลายคนสงสัยว่า เป็นมะเร็งแล้วจะกินยาสมุนไพรด้วยได้หรือไม่ คำตอบคือ การใช้ยาสมุนไพรอาจไม่ส่งผลต่อมะเร็งโดยตรง และบางครั้งถ้าผู้ป่วยอาจไม่มีความเข้าใจในการรับประทานยาสมุนไพรเพียงพอ ก็อาจส่งผลเสียได้
การเลือกใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของสมุนไพรก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากสารออกฤทธิ์ของสมุนไพรแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน บางขนิดอยู่ที่ใบ บางชนิดอยู่ที่ราก บางชนิดอยู่ที่ดอก นอกจากนี้ผู้ปริมาณที่รับประทานก็มีผลต่อสุขภาพ เช่น ถ้ารับประทานสมุนไพรมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อตับและไต
ฉะนั้น จึงควรรับประทานสมุนไพรเหล่านี้ให้เป็นอาหาร มากกว่ารับประทานเพื่อเป็นยาเดี่ยวๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน
อีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ การรับประทานสมุนไพรควบคู่กับยาที่แพทย์แผนปัจจุบันสั่งจ่าย เนื่องจากสมุนไพรบางชนิดอาจส่งผลรบกวนการออกฤทธิ์ของยา ทำให้ยาไม่สามารถออกฤทธิ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถส่งผลทางอ้อมให้ผู้ป่วยอาการทรุดลงได้ เช่น “รางจืด” รางจืด เป็นสมุนไพรยอดนิยมที่นำมาใช้รับประทานเพื่อขับสารพิษ หากรับประทานร่วมกับยาตัวอื่นๆ อาจทำให้ยานั้นไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ เพราะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ
“อังกาบหนู” สมุนไพรที่ใช้รักษามะเร็งในกระแสโซเชียล
“อังกาบหนู” เกิดเป็นกระแสโด่งดัง หลังจากมีข่าวว่าชาวบ้านคนหนึ่งนำมาต้มแล้วรับประทานทุกวันจนหายจากโรคมะเร็ง ส่งผลให้ชาวบ้านคนอื่นนำต้นอังกาบหนูมาใช้บ้าง
เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ปัจจุบันยังไม่พบข้อมูลว่าอังกาบหนูสามารถรักษามะเร็งได้จริง ส่วนชาวบ้านในข่าวนั้น ต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม และต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ยืนยันชัดเจนว่าเป็นมะเร็งจริง และต้องสืบหาว่าเป็นมะเร็งส่วนไหน ลุกลามมากน้อยแค่ไหนด้วย
ตามศาสตร์องค์ความรู้แพทย์แผนไทย “อังกาบหนู” มีสรรพคุณช่วยในเรื่องแผลเปื่อยเน่า พุพอง คนโบราณนำมาต้มแล้วใช้น้ำต้มอาบบริเวณที่เป็นแผล และไม่มีตำราใดอ้างว่าอังกาบหนูรักษามะเร็งได้ ส่วนประเด็นว่าขณะป่วยเป็นมะเร็ง สามารถรับประทานอังกาบหนูได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าอังกาบหนูทำให้อาการของโรคทรุดลงหรือไม่ ทั้งนี้ทั้งนั้นควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันร่วมด้วยเสมอ และต้องคำนึงถึงข้อพิจารณาต่างๆ ที่กล่าวไว้ข้างต้นด้วย