ผื่นจากพิษของต้นโอ๊ค

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผื่นจากพิษของต้นโอ๊ค

ผื่นที่เกิดจากต้นโอ๊คที่มีพิษนั้นเป็นปฏิกิริยาแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสใบหรือต้นของต้นโอ๊คที่มีพิษ (Toxicodendron diversilobum) ต้นไม้นี้นั้นมีลักษณะเหมือนพุ่มที่มีแต่ใบและสามารถสูงได้ถึง 6 ฟุต ในบริเวณที่ไม่โดนแดด พืชนี้อาจจะโตเหมือนเถาวัลย์ ใบนั้นมักจะแบ่งเป็น 3 ส่วนย่อยๆ หรืออาจจะมีได้มากถึง 9 ในเล็กๆ และแต่ละใบนั้นมีความยาว 1-4 นิ้ว

ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ใบนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือเขียว พืชจะเริ่มผลิดอกที่มีสีขาว เหลือง หรือเขียว ในระหว่างหน้าร้อน ใบนั้นจะเป็นสีเขียว และจะเริ่มออกผล ในช่วงปลายฤดูร้อนใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดงและส้ม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ต้นโอ๊คที่มีพิษนี้มีการหลั่งน้ำมันที่ชื่อ urushiol เวลาที่ได้รับอันตรายเช่นเดียวกับเถาไอวี่ สารนี้นั้นจะถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังเวลาที่คุณสัมผัสกับต้นไม้

มีเพียง 15-20% ของประชากรเท่านั้นที่ไม่มีการแพ้ต่อพิษนี้ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการสังเกตต้นนั้นและหลีกเลี่ยงการสัมผัสพวกมัน

อาการของการแพ้

หากคุณแพ้พิษจากต้นโอ๊ค คุณจะเริ่มมีอาการหลังจากที่สัมผัสไปแล้ว 1-6 วัน ส่วนมากมักจะเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ 24-48 ชั่วโมงแรก

อาการที่ชัดเจนที่สุดก็คือการมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ในระยะแรกคุณอาจจะรู้สึกแสบๆ คัน และระคายเคืองที่ผิวหนังเล็กน้อย ก่อนที่จะเริ่มมีผื่นแดงที่คันขึ้นเรื่อยๆ ผื่นนั้นอาจจะมีอาการรุนแรงในบริเวณที่สัมผัสกับต้นไม้ ต่อมาจะเกิดตุ่มขึ้นก่อนจะกลายเป็นตุ่มน้ำขนาดใหญ่และเริ่มมีสารคัดหลั่งออกมา หลังจากนั้นไม่กี่วันตุ่มน้ำนั้นจะเริ่มแห้งและกลายเป็นสะเก็ด

ผื่นนี้มักจะเกิดที่รอบๆ ข้อมือ ข้อเท้า และคอ ซึ่งเป็นบริเวณที่ผิวหนังนั้นบาง ผื่นมักจะรุนแรงที่สุดประมาณ 1 สัปดาห์หลังจากที่สัมผัสกับต้นไม้ และมีอาการอยู่ได้ 5-12 วัน ในบางรายอาจจะมีอาการนานถึงหลายเดือนหรือนานกว่านั้นได้

อาการแพ้อย่างรุนแรง

หากคุณมีอาการแพ้ต่อบางอย่าง ปฏิกิริยาที่ตอบสนองนั้นจะมีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นในแต่ละครั้งที่คุณสัมผัสกับสารนั้น อาการของอาการแพ้ที่รุนแรงนั้นประกอบด้วย

  • หายใจลำบาก
  • มีปัญหาในการกลืน
  • บวมที่ใบหน้าหรือตา
  • ผื่นขึ้นที่ใบหน้า ริมฝีปาก ตา หรืออวัยวะเพศ
  • ผื่นที่ขึ้นมากกว่า 25% ของร่างกาย
  • มีการติดเชื้อเช่นมีหนองหรือสารสีเหลืองออกมาจากตุ่มน้ำ หรือตุ่มน้ำที่มีกลิ่น
  • มีไข้
  • ปวดหัว
  • คลื่นไส้
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • อาการเหล่านี้อาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและควรได้รับการรักษาทันที

วิธีการรักษาที่บ้าน

โดยส่วนใหญ่แล้ว ผื่นนี้สามารถรักษาได้ที่บ้าน หากคุณคิดว่าตัวเองสัมผัสกับต้นโอ๊คดังกล่าว คุณควรถอดเสื้อผ้าออก ซักเสื้อผ้าและทุกสิ่งที่อาจจะสัมผัสกับพิษจากต้นโอ๊ต น้ำมันจากพืชนี้สามารถคงอยู่ตามเนื้อผ้าและวัตถอื่นๆ และจะทำให้คุณเกิดผื่นเพิ่มขึ้นได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภูมิแพ้และภาวะแพ้วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,376 บาท ลดสูงสุด 69%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่าลืมล้างทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำสะอาดและสบู่ โดยเฉพาะมือ เล็บและผิวหนังที่อาจจะสัมผัสกับพืช

ผื่นนั้นอาจจะคันและทำให้คุณอยากเกา แต่การเกานั้นจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ การสัมผัสกับตุ่มน้ำนั้นอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ดังนั้นให้อาบน้ำที่ค่อนข้างอุ่นหรือเย็นเพื่อบรรเทาอาการคัน

การใช้โลชั่นคาลามไมน์หรือครีม hydrocortisone นั้นอาจจะช่วยบรรเทาอาการคันได้ชั่วคราว คุณอาจจะลองประคบเย็นที่บริเวณที่มีอาการคัน การรับประทานยาแก้แพ้นั้นอาจจะช่วยลดอาการคันได้ แต่การใช้ครีมแก้แพ้ที่ผิวหนังนั้นอาจจะทำให้อาการแย่ลงได้

ควรไปพบแพทย์หากอาการยังคงไม่ดีขึ้นภายใน 10 วัน แพทย์สามารถวินิจฉัยผื่นนี้ได้จากการตรวจร่างกาย

สิ่งที่ควรใส่ใจ

น้ำมันนั้นอาจจะติดต่อได้ คุณเกิดผื่นจากการที่สัมผัสกับต้นไม้แต่เสื้อผ้าและสิ่งอื่นๆ นั้นก็สัมผัสกับต้นไม้เช่นกัน ผื่นที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นโรคติดต่อ เพราะไม่มีน้ำมันอยู่ในตุ่มน้ำ ดังนั้นคุณจะไม่สามารถแพร่เชื้อจากร่างกายส่วนหนึ่งไปอีกส่วนหนึ่งจากการสัมผัสหรือการเกาได้ (แต่คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสและการเกาอยู่ดี) และผื่นนั้นจะไม่แพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง

ต้นโอ๊คที่ถูกเผานั้นอาจจะทำให้น้ำมันนั้นเข้าไปอยู่ในควันและทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการหายใจที่รุนแรงและมีการระคายเคืองในปอดได้ หากคุณสัมผัสกับควันที่เผาต้นโอ๊คควรไปพบแพทย์ทันที


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Poison oak rash: Photos and treatment options. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/311954)
Poison Oak Rash: Pictures and Remedies. Healthline. (https://www.healthline.com/health/outdoor-health/poison-oak-pictures-remedies)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)