แป้งทานาคา...น่าใช้หรือไม่?

รู้จักสรรพคุณและที่มาของแป้งทานาคา รวมทั้งข้อควรระวังในการใช้
เผยแพร่ครั้งแรก 14 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
แป้งทานาคา...น่าใช้หรือไม่?

บทความนี้เขียนโดย พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์

ในปัจจุบันแป้งพม่า หรือ ทานาคา เป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ด้วยคุณประโยชน์ที่ดีต่อผิวพรรณ มีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความสวยความงามรูปแบบต่าง ๆ ที่ทำมาจากทานาคา หรือมีทานาคาเป็นส่วนประกอบ ทั้งครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด โลชัน และที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ แป้งสำหรับทาหน้า

แป้งทานาคาตามท้องตลาดในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่น แป้งผงบริสุทธิ์บดละเอียด แป้งฝุ่น แป้งอัดแข็ง แป้งสำหรับพอกหน้า เลือกใช้ได้ตามความสะดวกและความชอบของแต่ละบุคคล

ประโยชน์ของแป้งทานาคา

  • บำรุงผิวพรรณ เนื่องจากทานาคามีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถช่วยยับยังการสรางเม็ดสีเมลานิน ป้องกันการเกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ ชะลอริ้วรอยและการเสื่อมสภาพของผิว
  • ปกป้องผิวจากแสงแดด เนื่องจากทานาคามีสารสำคัญชื่อมาร์เมซิน (Marmesin) เป็นสารกรองแสงอัลตราไวโอเลต ซึ่งแสงอัลตราไวโอเลตนี้ก่อให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง และทานาคายังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนัง ช่วยปกป้องการเสื่อมสภาพของผิว ป้องกันการเกิดริ้วรอยและฟื้นฟูสภาพผิว
  • ควบคุมความมันบนใบหน้า ลดการเกิดสิวอุดตัน และนอกจากนี้ยังมีสารเซเบโรซิน (Seberosin) ที่ช่วยต้านการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ป้องกันผิวอักเสบ

แป้งทานาคาเหมาะกับใคร สภาพผิวแบบไหน

แป้งทานาคาเหมาะสำหรับทุกสภาพผิว ทั้งผิวมัน ผิวแห้ง หรือผิวผสม เนื่องจากแป้งทานาคาจะช่วยควบคุมความมัน แต่ไม่ทำให้ผิวแห้ง หรือผู้ที่ต้องออกแดดเป็นประจำก็สามารถใช้แป้งทานาคาเพื่อช่วยป้องกันรังสียูวีทดแทนหรือเสริมจากการทาโลชันกันแดด และแป้งทานานี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีหรือสารสังเคราะห์ต่าง

แป้งทานาคาใช้แล้วปลอดภัยหรือไม่

ในปัจจุบันมีการศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณและความปลอดภัยของการใช้แป้งทานาคา จากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด พบว่าแป้งทานาคามีความปลอดภัย ยังไม่พบโลหะหนัก เช่น ปรอท หรือ สารหนู ที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และยังไม่พบความผิดปกติหรืออันตรายหากใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แป้งทานาคาที่ได้รับการรับรองจาก อย. หรือผ่านมาตรฐานสากลเท่านั้น

หากผู้ใช้มีอาการระคายเคือง หรือมีผื่นแพ้หลังใช้ ควรหยุดใช้ทันทีและปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรโดยเร็ว จึงแนะนำให้ทดสอบการแพ้โดยทาแป้งหรือผลิตภัณฑ์จากทานาคาในปริมาณน้อยๆ ทาบริเวณท้องแขน หากไม่พบความผิดปกติ จึงนำมาใช้บริเวณใบหน้าหรือบริเวณอื่นๆ ตามต้องการ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Amprohealth, แป้งสมุนไพรประทินผิวทานาคาผิวสวยไร้สิวเหมือนสาวพม่า (https://amprohealth.com/thanakha), 17 ธันวาคม 2561.
พร้อมจิต ศรลัมพ์, หน้าสวยด้วย “ทานาคาของเมียนม่าร์หรือกระแจะของไทย” (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/122/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B8%B0-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A2), 26 ตุลาคม 2555.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลผิวให้คงความชุ่มชื้น
ผิวแห้ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษาป้องกันและการดูแลผิวให้คงความชุ่มชื้น

อาการผิวแห้งมีหลายระดับ หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการอักเสบได้ มาเรียนรู้วิธีดูแลรักษา และป้องกันผิวแห้งกันเถอะ

อ่านเพิ่ม
ทานาคา (Thanakha)
ทานาคา (Thanakha)

คุณสมบัติของทานาคา นอกจากรักษาสิวแล้วมีอะไรอีกหรือไม่ ทานาคาผสมมะนาวแล้วใช้ดีขึ้นจริงหรือ?

อ่านเพิ่ม