กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

สาเหตุของสิวอักเสบและการรักษาที่ได้ผล

สาเหตุของการเกิดสิวอักเสบตามส่วนต่างๆ ของใบหน้า พร้อมวิธีรักษาที่มีทั้งการรับประทานยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
เผยแพร่ครั้งแรก 16 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 26 เม.ย. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 13 ส.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สาเหตุของสิวอักเสบและการรักษาที่ได้ผล

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สิวอักเสบ คือสิวอุดตันที่มีแบคทีเรียทำให้รูขุมขนอักเสบ เกิดได้ตามร่างกายโดยเฉพาะใบหน้า
  • พฤติกรรมบางอย่างส่งผลให้เกิดสิวได้โดยตรง เช่น การทานอาหาร แพ้สารบางอย่าง ความเครียด
  • การดูแลความสะอาดใบหน้า การรับประทานอาหารมีผลต่อการเกิดและลดของสิว
  • ยาแต้มสิวคือทางออกเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีสิวอักเสบระดับน้อยถึงปานกลาง
  • ดูและเทียบราคาแพ็กเกจรักษาสิว ลดรอยสิวได้ที่นี่

สิวอักเสบ คือสิวอุดตันที่มีแบคทีเรียเข้ามาก่อให้เกิดการอักเสบของรูขุมขนและต่อมไขมัน สามารถเกิดได้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะใบหน้า สิวอักเสบสามารถแบ่งย่อยออกได้ตามลักษณะการอักเสบและความรุนแรง ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาหลุมสิว ลดรอยสิว วันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 74%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  1. สิวแดงเป็นไต (Papule) มีลักษณะเป็นหัวไตค่อนข้างแข็ง มีอาการแดงและเจ็บเล็กน้อย เกิดจากการอักเสบใกล้ชั้นผิวหนังด้านบน
  2. สิวหัวหนองขนาดเล็ก (Pustule) มีลักษณะเป็นไตสีแดง และมีหัวหนองขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง มีอาการเจ็บได้ แต่ไม่มาก เกิดจากการอักเสบใกล้ชั้นผิวด้านบน และมีเม็ดเลือดขาวมาเป็นจำนวนมากทำให้เกิดเป็นหัวหนองขึ้น
  3. สิวหัวหนองขนาดใหญ่ (Nodule) มีลักษณะเป็นก้อนหนองลึกลงไปในชั้นผิว ก้อนหนองจะนิ่ม และมีอาการ แดงร่วมกับปวดได้มาก เกิดจากการอักเสบลึกลงไปในชั้นผิวหนังด้านล่าง มีการส่งเม็ดเลือดขาวมาเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นก้อนหนองอยู่ใต้ผิวหนัง
  4. สิวถุงหนอง (Cyst) เป็นก้อนหนองขนาดใหญ่ บวมแดงและเจ็บมาก โดยก้อนหนองนี้จะไม่นิ่มมากแบบ nodule เนื่องจากมีการสร้างชั้นผิวหนังมาหุ้มหนองไว้ทำให้กลายเป็นถุงน้ำ (Cyst) เกิดจากการอักเสบภายในชั้นผิวหนัง ด้านล่างเช่นเดียวกับ nodule แต่มีการอักเสบที่แย่กว่า และเมื่อสิวหายอาจจะเหลือร่องรอยได้หลายแบบ ได้แก่ รอยแดง รอยดำ หลุมแผลเป็น แผลเป็นนูน

สิวอักเสบที่เกิดขึ้นแต่ละตำแหน่งเกิดจากอะไร?

สิวแต่ละตำแหน่งบนใบหน้าเกิดขึ้นได้จากสาเหตุที่แตกต่างกัน ซึ่งหากจัดการแก้ปัญหาต้นเหตุได้อย่างถูกต้อง สิวก็จะหายไปได้อย่างรวดเร็ว ดังนี้

  1. สิวบริเวณโคนผม หากมีสิวอักเสบขึ้นเฉพาะตำแหน่งนี้ แสดงว่าเกิดจากผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับผมอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นแชมพู ครีมนวดผม เซรัมบำรุงผม หากมีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้วสิวขึ้น แนะนำให้หยุดใช้ทันที
  2. สิวบริเวณหน้าผาก สิวอักเสบบริเวณนี้มักเกิดจากอากาศร้อน ความเครียดสะสม นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ระบบย่อยอาหารไม่ดี รับประทานอาหารไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป หรืออาจเกิดจากผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม และการสัมผัสบริเวณหน้าผากด้วยมือที่สกปรก
  3. สิวบริเวณคิ้ว เกิดจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้แต่งคิ้ว ขนคุดบริเวณคิ้ว และดื่มน้ำไม่เพียงพอ
  4. สิวบริเวณหู เกิดจากแบคทีเรียรวมถึงสิ่งสกปรกสะสม ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง และการแพ้ผลิตภัณฑ์ดูแล เส้นผม รวมถึงการอักเสบบริเวณหนังศรีษะ
  5. สิวบริเวณแก้ม สิวอักเสบบริเวณนี้เกิดจากเครื่องสำอาง ปลอกหมอน และการใช้หน้าแนบโทรศัพท์มือถือที่สกปรก
  6. สิวบริเวณคาง รอบปาก และกรอบหน้า เกิดจากการทานอาหารที่ก่อให้เกิดสิว อาการแพ้ยาสีฟัน และฮอร์โมนที่ผิดปกติ

วิธีป้องกันและรักษาสิวอักเสบ

เนื่องจากสิวอักเสบเกิดจากการอุดตันและเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นการป้องกันและรักษาส่วนมากจึงเน้นที่การรักษาความสะอาด ดังนี้

  • กำจัดสาเหตุของการเกิดสิวในบริเวณนั้นๆ ออกไป เช่น ทำความสะอาดปลอกหมอน ที่นอน โทรศัพท์ แปรงแต่งหน้า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้าโดยไม่จำเป็น
  • รักษาความสะอาดสิ่งของรอบตัวอยู่เสมอ และล้างมือเป็นประจำ
  • ล้างเครื่องสำอางออกให้สะอาด เพื่อช่วยลดความอุดตันของผิวหนัง
  • หากเป็นสิวอักเสบระดับน้อยถึงปานกลาง มีการอักเสบไม่กี่จุด ขนาดไม่ใหญ่นัก สามารถรักษาด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าสำหรับคนเป็นสิว ที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
  • หากเป็นสิวอักเสบระดับปานกลางถึงมาก การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าสำหรับสิวเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถช่วยให้สิวดีขึ้นได้มากนัก เนื่องจากจำเป็นต้องใช้ยารักษาสิวควบคู่ไปด้วย หรืออาจจำเป็นต้องรับยาแบบรับประทาน จึงควรไปพบแพทย์เพื่อรักษา
  • ตัวยารักษาสิวที่จำเป็นต้องใช้อย่างระมัดระวัง ได้แก่ เบนโซอิล เปอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ยานี้ช่วยลดอาการอุดตันและลดอาการอักเสบได้ค่อนข้างดี ส่วนคลินดาไมซิน (Clindamycin) และเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) เป็นตัวยาช่วยฆ่าเชื้อสิวที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน รวมถึงอนุภัณฑ์ของวิตามินเอในรูปแบบต่างๆ ก็สามารถช่วยลดอาการอุดตัน และลดความมันบนใบหน้าได้เช่นกัน
  • หากเป็นสิวอักเสบแบบมีหนอง จำเป็นต้องนำหนองออกเพื่อลดอาการอักเสบลง โดยแนะนำให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยนำหนองออกให้ เนื่องจากการทำเองอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อนเพิ่มขึ้นได้
  • การฉีดสารสเตียรอยด์เข้าไปในสิวเพื่อลดการอักเสบ สามารถทำได้โดยแพทย์ และได้ผลดีหากเป็นสิวอักเสบขนาดใหญ่ โดยจะช่วยทำให้สิวยุบอย่างรวดเร็ว แต่ต้องระมัดระวังการเกิดชั้นไขมันที่ผิวหนังยุบตัวได้ หากฉีดด้วยความเข้มข้นที่มากเกินไป
  • สำหรับผู้หญิง หากมีสิวอักเสบมาก มีใบหน้ามัน และมีขนขึ้นตามบริเวณต่างๆ ของร่างกายมาก อาจสงสัยว่าเป็นภาวะถุงน้ำในรังไข่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติมด้านสูตินารี การรักษาอาจใช้ยาคุมเพื่อช่วยปรับฮอร์โมนให้ดีขึ้นได้ โดยจำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 สูง และโอเมก้า 6 เช่น ปลาแมคเคอเรล แซลมอน เมล็ดแฟลก ถั่วเหลือง เป็นต้น สามารถช่วยลดการเกิดสิวอักเสบลงได้

6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
รองศาสตราจารย์นายแพทย์นภดล นพคุณ, Clinical Practice Guideline Acne
Haider A, Shaw JC. Treatment of acne vulgaris. JAMA 2004
O'Brien SC, Lewis JB, Cunliffe WJ. The Leeds Revised Acne Grading System. Dermatol Treat 1998

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีบีบสิว หรือเจาะสิวด้วยตัวเอง ผลข้างเคียง ข้อควรระวัง วิธีการเตรียมตัวก่อน และวิธีการดูแลตัวเอง
วิธีบีบสิว หรือเจาะสิวด้วยตัวเอง ผลข้างเคียง ข้อควรระวัง วิธีการเตรียมตัวก่อน และวิธีการดูแลตัวเอง

บีบสิวอย่างถูกวิธี ไม่เพียงแต่กำจัดสิวให้พ้นสายตาได้แล้ว แต่ยังหยุดรอยดำคล้ำจากสิวได้ด้วย

อ่านเพิ่ม
การรักษาสิวที่เหมาะสำหรับสิวแต่ละแบบ
การรักษาสิวที่เหมาะสำหรับสิวแต่ละแบบ

รวมสาเหตุการเกิดสิว และการรักษาสิวที่เหมาะกับสิวแต่ละแบบ ทั้งสิวอุดตัน อักเสบ ไปจนถึงสิวผดที่มักเกิดเพราะอากาศร้อน

อ่านเพิ่ม
วิธีการรักษาสิวอุดตันด้วยตัวเอง
วิธีการรักษาสิวอุดตันด้วยตัวเอง

วิธีการรักษาสิวอุดตันด้วยตัวเอง ทำได้ไม่ยาก เพียงแค่หมั่นดูแลใบหน้าสม่ำเสมอ และเลือกใช้ยารักษาสิวให้ถูกชนิด สิวอุดตันก็จะหลุดออกโดยไม่จำเป็นต้องไปกดสิว

อ่านเพิ่ม