กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เป็นสิวหัวช้าง รักษาอย่างไรดี?

สิวหัวช้าง เป็นสิวอักเสบที่มีความรุนแรงมาก เพราะยากต่อการรักษาและมักจะทิ้งรอยเอาไว้ ยิ่งถ้าบีบและเค้นเพื่อให้สิวแตก ก็จะยิ่งทำให้เกิดแผลเป็นและรอยหลุมสิวขนาดใหญ่อีกด้วย
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 26 เม.ย. 2021 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เป็นสิวหัวช้าง รักษาอย่างไรดี?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • สิวหัวช้าง เป็นสิวอักเสบรุนแรง มีลักษณะบวมแดงใหญ่ เป็นไตแข็งที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้เมื่อกดนิ้วลงไป
  • ผู้ที่พ่อแม่เคยมีสิวหัวช้างมาก่อน มักจะมีแนวโน้มเป็นสิวหัวช้างได้มากกว่า รวมถึงผู้ที่ผิวหน้ามันมากเป็นพิเศษ พักผ่อนไม่เพียงพอ ดื่มน้ำน้อย และผู้ชายจะมีแนวโน้มเป็นสิวหัวช้างได้มากกว่า เพราะฮอร์โมนที่ทำให้เกิดสิวมากที่สุด คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย
  • คุณไม่ควรบีบหนองออกจากสิวหัวช้าง แต่หากสิวหัวช้างสุกจนหัวหนองบีบได้ ให้บีบโดยใช้ถุงมือยาง กับอุปกรณ์กดสิวเพื่อความสะอาดต่อแผลในภายหลัง
  • คุณสามารถรักษาสิวหัวช้างโดยทายารักษาสิว เช่น ยารักษาสิวกลุ่มเรตินอยด์ ยาปฏิชีวนะแบบทา ยากลุ่ม Benzoyl Peroxide หรืออาจรักษาได้ง่ายๆ โดยล้างหน้าบ่อยขึ้นบ้าง
  • คุณสามารถไปใช้บริการทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้า หรือรักษาสิวที่โรงพยาบาลชั้นนำ หรือคลินิกชั้นนำได้ (ดูแพ็กเกจรักษาสิว ลดรอย หลุมสิว ทรีตเมนต์หน้าใสได้ที่นี่)

สิวหัวช้าง (Acne Conglobata) เป็นสิวอักเสบชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงมาก มักมีลักษณะเป็นตุ่มบวมแดงขนาดใหญ่ เมื่อกดลงไปจะรู้สึกแข็งเป็นไตร่วมกับมีอาการเจ็บปวด เพราะเกิดจากการอักเสบภายใต้ผิว ภายในสิวหัวช้าง 1 ตุ่ม อาจพบหัวสิวได้มากถึง 2-3 หัวสิว หรือไม่มีหัวเลยก็ได้

พบได้มากบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะจมูก คาง และหน้าผาก (T-Zone) แต่บางครั้งก็อาจพบได้ที่หน้าอก และหลัง สามารถรักษาให้หายได้ยาก ถ้าหากเอามือไปบีบเค้น อาจทำให้เกิดแผลเป็นหรือหลุมสิวขนาดใหญ่ขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาสิว ลดรอยสิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 93%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สาเหตุที่ทำให้เกิดสิวหัวช้าง

แม้จะมีอาการรุนแรงมากที่สุดในบรรดาสิวทั้งหมด แต่สาเหตุของการเกิดสิวหัวช้าง ก็เหมือนกับสิวชนิดอื่นๆ ทั่วไป คือเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น

  • ฮอร์โมน โดยฮอร์โมนที่มีผลต่อการเกิดสิวมากที่สุด คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย และฮอร์โมนดีไฮโดรอิพิแอนโดรสเตอโรนซัลเฟต (Dehydroepian Drosterone-Sulfate: DHEA-S)

    ดังนั้นคุณจึงสังเกตได้ว่า สิวหัวช้างจะพบมากในผู้ชาย โดยเฉพาะวัยรุ่น เนื่องจากในช่วงวัยนี้ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนสูง

  • กรรมพันธุ์ หากบิดาหรือมารดา เคยเป็นสิวหัวช้างมาก่อน ก็มีโอกาสที่ลูกจะเป็นสิวหัวช้างได้มากถึง 25%

  • ความมันบนใบหน้า สิวหัวช้างมักเกิดบนผู้ที่มีผิวหน้ามันได้มากที่สุด เพราะผู้ที่มีน้ำมันบนผิวหน้ามาก มักจะมีการอุดตันในรูขุมขนจากฝุ่น และเชื้อแบคทีเรีย P.Acne ได้

    ซึ่งในระยะแรกๆ สิวหัวช้างอาจเป็นเพียงสิวอักเสบเม็ดเล็กๆ ก่อน ถ้าหากมีอาการรุนแรง หรือมีการอักเสบมากขึ้น ก็จะพัฒนากลายมาเป็นสิวหัวช้างในภายหลัง

  • การใช้ชีวิต การดื่มน้ำน้อย พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ชอบล้างหน้า หรือล้างหน้าไม่สะอาด ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสิว และสิวหัวช้างได้เช่นกัน

สัญญาณแรกเริ่มของการเกิดสิวหัวช้าง คือ จะรู้สึกคัน และกดเจ็บนิดๆ บริเวณผิวหนังที่จะเกิดสิวขึ้น หลังจากนั้นจะเริ่มพบตุ่มบวมแดง เมื่อกดจะเริ่มรู้สึกเจ็บมากกว่าเดิม และตุ่มจะขยายใหญ่เรื่อยๆ อาจมีหัว หรือไม่มีหัวก็ได้

ควรบีบหนองในสิวหัวช้างออกหรือไม่?

มีสิวบางชนิดที่เอาหัวหนองออกแล้ว ก็จะช่วยให้หาย หรือหัวสิวยุบเร็วขึ้น แต่ไม่ใช่กับสิวหัวช้าง ที่ยิ่งคุณ หรือยิ่งเค้นออก อาจกระตุ้นให้มีการอักเสบมากขึ้น จนทำให้เกิดจุดด่างดำที่เป็นแผลเป็นขนาดใหญ่ หรือทำให้เกิดหลุมสิวขนาดใหญ่ที่รักษาไม่หายได้

ในกรณีที่สิวหัวช้างสุกจนขึ้นหัวหนองที่สามารถบีบได้ แนะนำให้ใส่ถุงมือยาง หรือล้างมือให้สะอาด นำอุปกรณ์กดสิวที่มีปลายแหลมข้างหนึ่ง และห่วงข้างหนึ่งไปทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ให้เรียบร้อย 

จากนั้นให้ใช้ด้านแหลมเจาะหรือสะกิดหัวสิวให้แตกออก แล้วค่อยๆ ใช้มือกดเบาๆ ให้หนองไหลออกมาเอง ห้ามบีบหรือห้ามเค้นโดยเด็ดขาด แล้วค่อยทาเจลแต้มสิวที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสิวลงไปบนแผล

แต่ถ้าสิวไม่ขึ้นหัว ให้หลีกเลี่ยงการบีบ หรือเจาะหนอง แต่ให้ใช้วิธีทาเจลแต้มสิว พร้อมกับรักษาความสะอาดโดยรอบเพื่อไม่ให้มีการอักเสบมากขึ้น ก็จะช่วยให้สิวยุบตัวลงไปได้เอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
รักษาสิว ลดรอยสิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 93%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีการรักษาสิวหัวช้าง

การรักษาสิวหัวช้างมีหลายวิธี โดยเฉพาะการเลือกใช้ยาทาภายนอก ซึ่งแต่ละวิธีก็จะเหมาะสมกับบุคคลแตกต่างกันไป บางวิธีอาจช่วยให้หายได้ภายใน 3-5 วัน ขณะที่บางวิธีอาจช่วยให้หายได้ภายใน 7 วัน ซึ่งก็มีวิธีดังต่อไปนี้

  • ล้างหน้าวันละ ครั้ง แต่เพราะการล้างหน้าบ่อยๆ จะทำให้ผิวหน้าระคายเคือง และทำให้หน้าแห้ง จึงส่งผลให้ผิวหน้าผลิตน้ำมันมากขึ้น และกระตุ้นการเกิดสิวมากกว่าเดิม ดังนั้นคุณจึงควรล้างแค่วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็นเท่านั้น โดยใช้โฟม หรือสบู่ล้างหน้าสูตรอ่อนโยน หรือสูตรกำจัดสิว

  • ใช้ผลิตภัณฑ์รักษาสิว เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่

    • กลุ่มยา Benzoyl Peroxide มีคุณสมบัติที่ดีในการรักษาสิวหลายอย่าง เช่น ลดการอุดตัน ลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ช่วยให้เซลล์ผลัดตัวเร็วขึ้น แต่หากใช้นานๆ จะทำให้ผิวแห้ง และแสบ
    • ยากลุ่มเรตินอยด์ ยากลุ่มนี้มีคุณสมบัติช่วยลดการขับน้ำมัน ลดการอุดตัน และลดการอักเสบของสิวได้ค่อนข้างดี แต่ต้องใช้ในปริมาณน้อย และไม่สามารถใช้ได้ในหญิงมีครรภ์
    • ยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะทั้งแบบทา และรับประทาน สามารถลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย P.Acne (Propionibacterium acnes) และลดการอักเสบของสิวได้ แต่หากใช้ไปนานๆ จะทำให้เกิดอาการดื้อยา
    • กลุ่มยาฮอร์โมน แต่ผลิตภัณฑ์นี้จะถูกนำมาใช้ก็ต่อเมื่อแพทย์วินิจฉัยว่า สิวหัวช้างที่เกิดขึ้น เกิดจากปัญหาฮอร์โมน คุณสมบัติส่วนมากของยาในกลุ่มนี้ คือ ต้านฮอร์โมนเพศชาย แต่มักจะมีผลข้างเคียง เช่น น้ำหนักขึ้น ปวดศีรษะ ปัสสาวะบ่อย หรือาจพบอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจ

นอกจากการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว ยังมีการรักษาแบบแพทย์แผนไทยที่ได้ผลดีเช่นกัน คือ การรักษาด้วยดินสอพองที่มีฤทธิ์เย็น ช่วยลดอาการบวมและอักเสบลงได้ 

แต่ก่อนจะนำดินสอพองมาพอกหน้า หรือแต้มสิว ต้องมั่นใจว่า ได้ผ่านการสะตุ หรือนำไปเผาไฟเพื่อฆ่าเชื้อแล้ว และถูกจัดเก็บในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท จึงจะนำมาใช้รักษาสิวหัวช้างได้แบบไม่มีผลข้างเคียง

และวิธีสุดท้าย คือ การดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผัก และผลไม้ จะช่วยลดการเกิดสิวหัวช้างได้ และช่วยทำให้สิวหายเร็วขึ้นอีกด้วย และยังเป็นวิธีรักษาสุขภาพซึ่งจะทำให้คุณห่างไกลจากโรคทุกชนิดด้วย

ดูแพ็กเกจรักษาสิว ลดรอย หลุมสิว ทรีตเมนต์หน้าใส เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hafsi W, Badri T. "Acne, Conglobata." StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2017. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK459219/)
Cynthia Cobb, What Is Acne Conglobata and How Is It Treated? (https://www.healthline.com/health/beauty-skin-care/acne-conglobata), 27 November 2017.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การประคบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การประคบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทย แก้ปวด เมื่อย เคล็ด ขัด ยอก ฟกช้ำ และอักเสบ ได้ด้วยสมุนไพรและความร้อน

อ่านเพิ่ม
สิวที่หลัง วิธีรักษาให้เรียบเนียนพร้อมอวดผิวสวย
สิวที่หลัง วิธีรักษาให้เรียบเนียนพร้อมอวดผิวสวย

รวมปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวที่หลัง รวมถึงวิธีรักษาและยาที่สามารถหาซื้อได้เอง อ่านเลย

อ่านเพิ่ม
การรักษาสิวที่เหมาะสำหรับสิวแต่ละแบบ
การรักษาสิวที่เหมาะสำหรับสิวแต่ละแบบ

รวมสาเหตุการเกิดสิว และการรักษาสิวที่เหมาะกับสิวแต่ละแบบ ทั้งสิวอุดตัน อักเสบ ไปจนถึงสิวผดที่มักเกิดเพราะอากาศร้อน

อ่านเพิ่ม