วิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

วิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับที่ดีที่สุดคือการลดน้ำหนักและการใช้เครื่องช่วยหายใจ

แนวทางการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับฉบับใหม่ล่าสุดจาก American College of Physicians ได้เน้นไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเฉพาะการลดน้ำหนัก 

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเป็นภาวะที่ทางเดินหายใจเกิดการอุดตันในระหว่างที่นอนหลับทำให้หยุดหายใจซึ่งอาจเกิดได้หลายครั้งภายใน 1 คืน ภาวะนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะอื่นๆ ตามมาเช่นความดันโลหิตสูงและเส้นเลือดสมองอุดตัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นักวิจัยที่ทำการพัฒนาแนววิธีการรักษาฉบับใหม่นี้ได้ทำการทบทวนงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของแต่ละวิธีในการรักษา และพบว่าวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นมีประสิทธิภาพดี และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวิธีในการรักษาแต่อย่างใด

ความสำคัญของการลดน้ำหนัก

คำแนะนำแรกในการรักษาภาวะนี้เน้นไปที่การลดน้ำหนักในผู้ป่วยที่น้ำหนักเกินเกณฑ์และเป็นโรคอ้วน เนื่องจากพบว่าการมีน้ำหนักเกินเกณฑ์นั้นมีเนื้อเยื่อบริเวณด้านหลังลำคอมากกว่าปกติซึ่งเนื้อเยื่อเหล่านี้สามารถตกลงมาอุดตันทางเดินหายใจและทำให้เกิดการหยุดหายใจขณะหลับได้

ถึงแม้ว่าการลดน้ำหนักนั้นจะเป็นสิ่งที่ทำได้ยากแต่ผลที่ได้นั้นคุ้มค่า เนื่องจากการลดน้ำหนักเพียง 10% นั้นก็จะช่วยทำให้ภาวะหยุดหายใจขณะหลับและปัญหาทางสุขภาพอื่นๆ นั้นดีขึ้น และในผู้ป่วยบางรายการลดน้ำหนักอาจสามารถรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับได้

วิธีการรักษาแบบอื่น

นอกเหนือจากการลดน้ำหนักแล้ว ACP ยังได้แนะนำให้ใช้เครื่องช่วยหายใจที่จะช่วยเพิ่มความดันในทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่องหรือที่เรียกว่า CPAP วิธีนี้มักเป็นวิธีแรกที่แพทย์เลือกใช้ในการรักษาเนื่องจากการลดน้ำหนักมักจะทำได้ยาก แต่ถึงแม้ว่าวิธีการนี้จะใช้ได้ผลดี ผู้ป่วยบางส่วนก็ไม่ต้องการรักษาด้วยวิธีนี้เนื่องจากในการใช้เครื่องนั้นจะต้องใส่หน้ากากครอบจมูกและปากซึ่งทำให้ผู้ป่วยเลิกใช้เครื่องได้ง่าย ในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้เครื่องนี้ได้ง่ายขึ้นซึ่งจะช่วยในการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้ในอนาคต

การใช้เครื่อง CPAP นั้นจะเป่าลมผ่านหน้ากากเข้าไปในทางเดินหายใจและทำให้ทางเดินหายใจไม่เกิดการอุดตัน

อีกวิธีหนึ่งที่อาจใช้ในการรักษาแทน CPAP นั้นคือการใช้หน้ากากใส่เข้าไปในปากแทนการครอบจมูกและปาก เครื่องมือนี้จะป้องกันไม่ให้ลิ้นและเนื้อเยื่อด้านหลังลำคอเกิดการตกลงไปข้างหลังและอุดตันทางเดินหายใจขณะหลับ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทั้งสองวิธีนี้สามารถช่วยให้อาการของโรคดีขึ้นได้แต่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด วิธีเดียวที่ทำได้คือการลดน้ำหนักหรือผ่าตัดนำเนื้อเยื่อส่วนเกินออกจากเพดานปากหรือลำคอ ซึ่งการผ่าตัดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ แต่ถ้าหากคุณไม่สามารถใช้เครื่อง CPAP และไม่สามารถลดน้ำหนักได้ วิธีนี้ก็อาจจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษา

การเลือกวิธีการรักษานั้นเป็นเรื่องส่วนบุคคล

ก่อนที่คุณจะตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา คุณจะต้องทำการตรวจยืนยันให้แน่ใจก่อนว่าคุณเป็นโรคนี้จริงๆ เนื่องจากการหยุดหายใจมักจะเกิดขึ้นในขณะหลับ และคุณเองอาจจะไม่รู้สึกตัว

หากคุณมีอาการกรนขณะนอนและมีอาการง่วงนอนในตอนกลางวันซึ่งเป็นอาการที่พบบ่อยในโรคนี้ คุณควรจะเข้ารับการตรวจที่ทำการสังเกตการหายใจขณะนอนหลับ เนื่องจากผลการตรวจนี้จะช่วยในการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ

โรคนี้ไม่เหมือนกับโรคอื่นๆ ที่พอคุณเลือกวิธีการรักษาวิธีหนึ่งแล้วจะทำให้โรคหายไปในทันที แต่จะต้องมีการปรับวิธีการรักษาให้เหมาะสมกับตัวคุณเองไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะการใช้เครื่อง CPAP


20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Treatment options for obstructive sleep apnea. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/treatment-options-for-obstructive-sleep-apnea)
A Review on Detection and Treatment Methods of Sleep Apnea. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5427412/)
Sleep Apnea Treatments: Lifestyle Changes, Oral Appliances, and Surgery. WebMD. (https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea/sleep-apnea-treatments)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป