สภาพแวดล้อมทำให้เด็กเบี่ยงเบนทางเพศจริงหรือ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
สภาพแวดล้อมทำให้เด็กเบี่ยงเบนทางเพศจริงหรือ

จากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ภาวะที่ผิดปกติจากเพศสภาพของตัวเองนั้น มีความเกี่ยวข้องซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติในระดับโครโมโซมเอ็กซ์ตั้งแต่แรกเกิด กล่าวคือหากโครโมโซมของเด็กที่ตำแหน่ง Xq28 มีความผิดปกติ จะมีโอกาสมากที่โตขึ้นจะมีความเบี่ยงเบน หลังจากงานวิจัยชิ้นนี้เผยแพร่ออกไปจนสั่นสะเทือนวงการเกย์ กระแสความคิดสนับสนุนและโต้แย้งได้ทำให้เกิดงานวิจัยอีกหลายชิ้นตามมา ซึ่งจนถึงวันนี้ยังไม่มีใครได้ข้อสรุปว่า โครโมโซมคู่ที่ Xq28 คือ ตัวบ่งชี้ความเป็นเกย์ได้ 100% หรือไม่ เพราะถึงที่สุดแล้ว งานวิจัยก็คือ “การเลือกศึกษา” ในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่งที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ศึกษานั่นเอง

อะไรคือสาเหตุให้ลูกชายของเราโตมากลายเป็นลูกสาว?

สาเหตุที่ทำให้เด็กเบี่ยงเบนทางเพศ อาจแบ่งออกเป็นปัจจัยทางชีวภาพ กับปัจจัยทางด้านการอบรมเลี้ยงดู

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ปัจจัยทางชีวภาพ

ปัจจัยทางชีวภาพ หมายถึง สิ่งที่ติดตัวเด็กมาตามธรรมชาติหรือสภาพทางกายที่เกิดมา เช่น เด็กบางคนขณะอยู่ในครรภ์มารดานั้น เกิดมีภาวะผิดปกติของระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความเป็นหญิงหรือชาย เด็กคนนั้นเกิดมาก็จะมีความผิดปกติทางเพศ เช่น มีอวัยวะเพศก้ำกึ่งระหว่างหญิงชาย หรือมีพฤติกรรมของเพศตรงข้ามด้วย เช่น เป็นหญิง แต่มีลักษณะท่าทางพฤติกรรมของเด็กชายที่มักเรียกกันว่าทอมบอย ทั้งนี้จากอิทธิพลของฮอร์โมนเพศที่ได้รับระหว่างอยู่ในท้องแม่

ปัจจัยทางจิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ภาวะแวดล้อมหลังคลอดแล้วมีความสำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากต่อเด็กที่จะพัฒนาเพศของตนไปเป็นหญิงหรือชาย ปัจจัยเหล่านี้ประกอบด้วย

  • การอบรมเลี้ยงดู การอบรมเลี้ยงดูจะเป็นปัจจัยที่กำหนดเพศ (Sex designation) ของเด็ก

    ตามปกติแล้วพ่อแม่ และผู้ใหญ่จะปฏิบัติต่อเด็กหญิงและเด็กชายต่างกันตั้งแต่แรกเกิด เช่น คำพูดที่พูดด้วยความอ่อนโยน การจับต้องตัวเด็ก เสื้อผ้าของใช้ต่างๆ อาจมีลักษณะต่างกัน สีก็อาจจะใช้ต่างกัน เช่น สีชมพูสำหรับเด็กหญิง สีฟ้าสำหรับเด็กชาย ของเล่นที่ซื้อให้ก็ต่างกัน เช่น ตุ๊กตาสำหรับเด็กหญิง ปืน รถหุ่นยนต์สำหรับเด็กชาย

    นอกจากกนี้ การอบรมด้วยคำพูดก็มีส่วนในการแยกเพศให้เด็ก เช่น พ่อแม่จะพูดกับเด็กว่า “เป็นเด็กผู้หญิงต้องเรียบร้อยหน่อยจ้ะลูก” หรือ “ผู้ชายเขาไม่พูดลากเสียงแบบนี้นะ ต้องพูดจาให้เข้มแข็งซิลูก” การสอนของผู้ใหญ่ก็มีส่วนกล่อมเกลาเด็กให้มีพฤติกรรมเป็นหญิงหรือชายชัดเจนขึ้นได้ เช่น “ลูกเก่งมากที่เป็นสุภาพบุรุษแบบนี้”
  • การเป็นแบบอย่างของพ่อแม่ ทารกที่เกิดขึ้นนั้นไร้เดียงสา ต้องมาเรียนรู้ในโลกเกือบทุกอย่าง บทบาททางเพศก็เช่นเดียวกัน เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้ภายหลังจากสังคมกำหนดว่าเพศใดมีบทบาทอย่างไร โดยการเอาอย่างผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด

    โดยเฉพาะพ่อแม่ซึ่งเป็นบุคคลที่เด็กรักและนับถือมาก พ่อแม่จึงเป็นแบบอย่างให้เด็กได้ทำตาม โดยเป็นแบบอย่างให้แก่ลูก ตามธรรมชาติเด็กหญิงมักเอาแบบอย่างแม่ เด็กชายเอาแบบอย่างพ่อ

    พ่อแม่คู่ไหนที่มีปัญหา อาจจะทำให้ลูกมีปัญหาตามไปด้วยได้ เช่น พ่อกับแม่มีความสัมพันธ์ไม่ดี ไม่อบอุ่น พ่อหายไปจากบ้านเสมอ เมื่อแม่โกรธและไม่พอใจพ่อมากๆ ลูกชายนอกจากจะไม่มีโอกาสใกล้ชิดเอาแบบอย่างพ่อแล้ว โดยแม่อาจพูดจาติเตียนหรือพูดถึงพ่อในแง่ลบต่างๆ ให้ลูกฟัง ลูกชายจึงไม่ต้องการเอาแบบอย่างพ่อที่ไม่ดีแบบนั้น
  • สภาพแวดล้อมที่เด็กเติบโต เด็กผู้หญิงบางคนเติบโตท่ามกลางเด็กผู้ชายทั้งหมด เด็กผู้ชายบางคนมีพี่น้อง ญาติ เพื่อนเล่น เป็นผู้หญิงหมด อาจทำให้ท่าทีของเด็กคนนั้นคล้ายผู้หญิงไปด้วยได้

    อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าสภาพแวดล้อมเพียงปัจจัยเดียวสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมผิดเพศได้หรือไม่

แล้วจะทำอย่างไร?

เนื่องจากการเบี่ยงเบนทางเพศเป็นผลมาจากปัจจัยทางชีวภาพ หรือความผิดปกติในระดับโครโมโซม ดังนั้นการที่ลูกมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนจึงไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีบังคับให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

การมีเพศที่ไม่ใช่หญิงหรือชายไม่ใช่เรื่องสำคัญที่สุด ที่สำคัญคือพ่อ แม่ ลูก ควรเปิดใจพูดคุยกัน และทำความเข้าใจสิ่งที่ลูกเป็น หากมีปัญหาอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ นักจิตวิทยา ที่สามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องได้ 


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
วุฒิชัย บุญนทีและมณี ภิญโญพรพานิชย์. “ความผิดปกติทางเพศ.”ตำราจิตเวชศาสตร์.โครงการตำราคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่ :หจก.เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์,2542,น.305
พญ. กมลวิสาข์ เตชะพูลผล .แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชศาสตร์สาขาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น, ศูนย์สุขภาพเด็ก, โรงพยาบาลพญาไท 2
นงพงา ลิ้มสุวรรณ (2542). การเลี้ยงลูกไม่ให้ผิดเพศ. เลี้ยงลูกถูกวิธี ชีวีเป็นสุข พิมพ์ครั้งที่ 9, กรุงเทพ: พรินท์ติ้งเพรส. (https://www.dmh.go.th/news/vie...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป