กล้ามเนื้อฉีก (Strain) หมายถึง ภาวะที่เส้นใยมัดกล้ามเนื้อบาดเจ็บ หรือฉีกขาด จากการถูกใช้งานหนัก หรือยืดตัวมากเกินไป
ภาวะนี้เกิดขึ้นได้กับกล้ามเนื้อทุกส่วนและเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย ปัญหาที่เกิดจากกล้ามเนื้อฉีกคือ เกิดความรู้สึกเจ็บปวดกล้ามเนื้อบริเวณนั้นอย่างมากจนไม่สามารถขยับได้ และทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดังใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สาเหตุของกล้ามเนื้อฉีกที่พบบ่อย
- เกิดอุบัติเหตุที่กล้ามเนื้อ เช่น ถูกชน ถูกกระแทกอย่างแรง
- ใช้งานกล้ามเนื้อมากเกินไป เช่น ยกของหนักเกินกำลัง
- ใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณนั้นซ้ำๆ เช่น ผู้ทำงานแบกหาม ที่ใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมอย่างหนักเป็นเวลานาน
- การออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬาหักโหมเกินไป
- การออกกำลังกายที่ไม่มีการยืด-คลายกล้ามเนื้ออย่างถูกวิธีทั้งก่อนออกกำลังกายและหลังออกกำลังกาย
อาการของกล้ามเนื้อฉีก
อาการทั่วไปของกล้ามเนื้อฉีกคือ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บ หรือปวดที่กล้ามเนื้อมัดนั้นอย่างรุนแรง บางครั้งอาจเจ็บมากจนถึงขั้นเคลื่อนไหวไม่ได้ เมื่อเวลาผ่านไป กล้ามเนื้อส่วนนั้นจะเริ่มบวมและมีสีคล้ำขึ้น หรือเกิดรอยฟกช้ำ
อาการของกล้ามเนื้อฉีกเกิดได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง บางคนอาจเป็นๆ หายๆ นานเป็นเดือน หรือเป็นปีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรุนแรง และการดูแลตนเองหลังเกิดอาการ
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อฉีก
- นักกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ ต้องรับแรงปะทะ หรือต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำๆ เช่น นักฟุตบอล นักรักบี้ นักยกน้ำหนัก นักยิมนาสติก
- ผู้ที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกายและกล้ามเนื้อยังปรับสภาพไม่ได้
- ผู้ที่ไม่ได้อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกาย หรือไม่ได้ยืดคลายกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม
- ผู้ที่ทำงานใช้แรง หรือใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมมากๆ เช่น คนงานแบกหาม คนงานในโรงงาน
- ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุจนกล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บ เช่น สะดุด ล้ม ลื่น
วิธีรักษากล้ามเนื้อฉีก
1. พักการใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้น
เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บเสียหายมากขึ้นและช่วยให้เส้นใยกล้ามเนื้อได้ฟื้นคืนสภาพ เช่น ผู้ที่ออกกำลังกายแล้วบาดเจ็บ ควรหยุดออกกำลังทันทีที่รู้สึกเจ็บ หรือผู้ที่บาดเจ็บจากการทำงาน ก็ควรหยุดพักงานก่อนระยะหนึ่ง จนกว่าอาการจะหายดี
2. พันผ้ารอบกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ
การใช้ผ้ายืด (Elastic Bandage) พันรอบมัดกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการบวม อักเสบ และห้อเลือดได้ อีกทั้งยังช่วยลดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมัดดังกล่าว แต่ไม่ควรพันแน่นเกินไป เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงไม่เพียงพอทำให้กล้ามเนื้อขาดเลือดได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
3. ประคบเย็น
เพื่อลดอาการบวม ปวด และป้องกันไม่ให้เลือดออก แต่ข้อควรระวังคือ ไม่ควรให้ผิวสัมผัสกับความเย็นโดยตรงเพราะความเย็นจัดจะทำให้หลอดเลือดหดตัว และเกิดกล้ามเนื้อขาดเลือดได้
เราจึงควรใช้ผ้า หรือถุงพลาสติกมาห่อน้ำแข็ง นำมาประคบบริเวณที่ปวดครั้งละประมาณ 15-20 นาที จนกว่าอาการบวมจะหาย
4. ยกกล้ามเนื้อส่วนที่ฉีก
ในกรณีที่กล้ามเนื้อมัดนั้นยังสามารถยกได้ เช่น กล้ามเนื้อขา หรือแขน ให้ยกกล้ามเนื้อส่วนนั้นไว้ในระดับเหนือกว่าหัวใจ เช่น วางพาดเก้าอี้ จะช่วยลดความบวมและลดเลือดคั่งในบริเวณที่บาดเจ็บได้
5. การรับประทานยาแก้ปวด
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) จะช่วยให้อาการปวดและบวมบรรเทาลงได้ ทั้งนี้ก่อนการรับประทานยาควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเสียก่อน และไม่ควรใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ต้องรับยา หรือผู้มีเลือดออกง่าย และเด็ก
6. การผ่าตัด
มักจะเกิดกับกรณีผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อฉีกรุนแรงจริงๆ แพทย์จึงจะตัดสินใจผ่าตัด พื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อส่วนที่ฉีกขาด
การป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อฉีก
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหม
- ควรวอร์มร่างกาย ยืด-คลายกล้ามเนื้อให้ถูกวิธี ทั้งก่อนและหลังออกกำลังกาย
- หลีกเลี่ยงการยกของหนักและการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมนานๆ ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น พื้นลื่น พื้นที่ที่วางของเกะกะ
- จัดท่านั่ง ท่ายืน และท่าเดินให้เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อตึงเกินไป
- ลดน้ำหนัก อย่าให้น้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม
- เสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง โดยการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เหมาะสม และสม่ำเสมอ
อาการกล้ามเนื้อฉีกหากอยู่ในระดับเบาจนถึงปานกลาง ก็สามารถรักษาและกล้ามเนื้อจะหายได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่หากอาการรุนแรง หรือคุณยังคงรู้สึกเจ็บกล้ามเนื้อเป็นเวลานาน โดยที่อาการยังไม่ทุเลาลง
คุณอาจต้องไปพบแพทย์และทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ รวมถึงการเคลื่อนไหวให้กลับมาเป็นปกติ และเมื่อหายดีแล้ว ก็ยังไม่ควรออกกำลังกายหรือออกแรงหนักจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อส่วนเดิมกลับมาบาดเจ็บซ้ำอีก
ดูแพ็กเกจทำกายภาพบำบัด เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android