วิธีการป้องกันโรคตับแข็ง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
วิธีการป้องกันโรคตับแข็ง

เนื่องจากไม่มีวิธีการรักษาใดที่สามารถย้อนคืนความเสียหายของตับมาได้ 100 เปอร์เซ็นต์ การป้องกันไม่ให้เกิดโรคตับแข็งจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคตับแข็ง คือ หลีกเลี่ยงสาเหตุต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • เรียนรู้ความเสี่ยง และปัจจัยในการติดเชื้อของโรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี และหลีกเลี่ยงไวรัสเหล่านี้ให้มากที่สุด
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การใช้สารเสพติดต่าง ๆ และการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะเท่านั้น หากจำเป็น
  • พัฒนานิสัยที่ดีต่อสุขภาพ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ
  • รักษาน้ำหนักของคุณในช่วงที่มีสุขภาพดี
  • พูดคุยกับแพทย์ประจำตัวของคุณก่อนที่จะทานวิตามินเสริม การได้รับวิตามินและแร่ธาตุปริมาณมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิตามินเอ ธาตุเหล็กหรือทองแดง สามารถทำให้ความเสียหายของตับแย่ลงได้
  • รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และอาชีพอื่นที่มีความเสี่ยงสูงในการติดต่อกับโรคดังกล่าวควรได้รับวัคซีนป้องกัน การบังคับให้สร้างภูมิคุ้มกันของเด็กทุกคนต่อโรคตับอักเสบชนิดบีในปัจจุบัน จะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคตับแข็งในอนาคตได้
  • อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซีที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน

https://www.emedicinehealth.com/cirrhosis/article_em.htm#cirrhosis_support_groups_and_counseling

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

 


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cirrhosis. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/cirrhosis/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป