วิธีการเตรียมตัวเกี่ยวกับสำหรับผู้สูงวัยเพื่อรองรับก่อนเกษียณ

เผยแพร่ครั้งแรก 18 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการเตรียมตัวเกี่ยวกับสำหรับผู้สูงวัยเพื่อรองรับก่อนเกษียณ

การเตรียมตัวของผู้สูงวัยในขณะที่มีอายุก่อนการเกษียณนั้น เป็นเรื่องที่ควรจะต้องปฏิบัติอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถปฏิบัติได้หลายด้านเพื่อความสุขและความพร้อม ในยามที่หมดภาระหน้าที่ในการทำงาน โดยการเตรียมตัวนั้นต้องเริ่มทำตั้งแต่ก่อนเกษียณหลายปี เพราะเราจะได้มีเวลาเพียงพอที่จะเตรียมเรื่องต่างๆ ก่อนถึงเวลาเกษียณจริงๆ นั่นเอง

ทางด้านร่างกาย

นับว่าเป็นความสำคัญอันดับแรกที่ควรให้ความเอาใจใส่และเตรียมเข้าสู่ช่วงผู้สูงวัย หากเรามีร่างกายแข็งแรงก็ย่อมหมายถึงความสุขที่ไม่อาจหาซื้อได้ ถ้าไม่มีการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ โดยวิธีเตรียมร่างกายให้แข็งแรงมีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การรับประทานอาหาร ร่างกายในระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง การรับประทานอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสมให้ครบทั้ง 5 หมู่ และดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เป็นขั้นแรกที่จะช่วยให้ร่างกายมีความสมบูรณ์ แล้วงดเว้นการรับประทานอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ผู้สูงวัยอย่างเช่นอาหารรสจัด แต่ให้เน้นอาหารที่ย่อยง่ายและเคี้ยวง่ายแทน
  • การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับผู้สูงวัย เช่น เดินช้าๆ รำไม้พลอง และไม่ออกกำลังกายที่ต้องกระทบกับข้อต่างๆ
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ควรนอนก่อน 22.00 น. และนอนหลับให้ได้วันละ 6 – 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมกล้ามเนื้อ สมองสดชื่น ปลอดโปร่ง กระฉับกระเฉง แต่ไม่ควรนอนกลางวันเพราะจะทำให้กลางคืนนอนไม่หลับ
  • การตรวจเช็คสุขภาพ ควรตรวจเช็คสุขภาพปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากผู้สูงวัยมักจะมีระบบการทำงานแปรปรวนหรือเสื่อมสภาพ จนทำให้เกิดโรคภัยได้ง่าย ดังนั้นการตรวจสุขภาพจะช่วยให้พบโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้การรักษานั้นง่ายขึ้นและมีโอกาสหายขาดได้ อีกทั้งยังเป็นการตรวจหาความผิดปกติที่อาจนำไปสู่การเจ็บป่วย หากทราบก่อนก็จะสามารถป้องกันโรคได้นั่นเอง

ทางด้านจิตใจ

“จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ดังนั้นเมื่อเรามีสุขภาพจิตที่ดีย่อมส่งผลให้ทุกอย่างรอบกายและสุขภาพโดยรวมของผู้สูงวัยพลอยดีไปด้วย

  • ปรับอารมณ์ ผู้สูงอายุบางครั้งยังมีการปรับความรู้สึกวิตกกังวลถึงความเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ว่าจะต้องมีอาชีพอะไรหรืออยู่อย่างไร จนทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดง่ายและเบื่อหน่ายชีวิต เพราะฉะนั้นการทำให้จิตใจสงบด้วยวิธียึดหลักธรรมมะง่ายๆ ก็จะช่วยได้ พร้อมกับปล่อยวางไม่ยึดติดกับสิ่งใด เข้าใจธรรมชาติความเป็นจริงของชีวิตว่า ทุกๆ สิ่งเป็นเรื่องของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป
  • ปรับความคิดให้เห็นสภาพความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ยุคสมัยการดำเนินชีวิตก็เช่นกัน เมื่อคนรุ่นเก่าหมดไปก็จะมีคนรุ่นใหม่มาแทนที่ มองโลกในแง่ดีเสมอว่าในเรื่องร้ายๆ มักมีเรื่องที่ดีแฝงอยู่เสมอ ใช้สติและเหตุผลให้มากกว่าการใช้อารมณ์ จะช่วยควบคุมผู้สูงวัยให้ผ่านเรื่องต่างๆ หลังการเกษียณได้เป็นอย่างดี

ทางด้านอื่นๆ

  • ความสัมพันธ์กับครอบครัว ผู้สูงวัยควรใช้เวลากับคนในครอบครัวให้มากขึ้น ด้วยการเป็นที่ปรึกษาที่ดีและเป็นกำลังใจให้ลูกหลาน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ตัวเรามีความภาคภูมิใจ มีความมั่นใจในตนเอง หลังเกษียณก็จะได้ไม่มีปัญหา
  • ที่อยู่อาศัย เตรียมสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้มีลักษณะที่เหมาะสม เช่น ไม่อยู่ชั้นบนของบ้านเพื่อความสะดวกในการขึ้นลง พื้นต้องไม่ลื่นเพื่อป้องกันการหกล้ม และควรมีความสะดวกต่อการเดินทาง อยู่ในชุมชนหรือใกล้ญาติพี่น้อง
  • ทำงานอดิเรก โดยทำตามกำลังความสามารถ งานอดิเรกบางอย่างสามารถพัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพหลังการเกษียณของผู้สูงวัยได้เป็นอย่างดี ทำให้ไม่เหงาและรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าอีกด้วย

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการเตรียมตัวของผู้สูงวัยเพื่อรองรับก่อนเกษียณ และยังคงมีอีกหลายๆ ด้าน อาทิเช่น มีการเก็บเงินไว้ในตามกำลังความสามารถ เพื่อให้มีใช้ในการดำรงชีวิตยามที่รายได้ลดลง อำนวยความสะดวกในยามเจ็บป่วย หรือปรับตัวให้มีเพื่อนและสังคม หรือทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ ถ้าเราลงมือทำได้จะช่วยให้ชีวิตหลังเกษียณย่อมพบกับความสุขอย่างครบด้าน โดยไม่ต้องกังวลในเรื่องใดๆ เลย


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Is retirement beneficial for mental health? Antidepressant use before and after retirement. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3132597/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด
3 เหตุผลที่ทำให้การพยายามทำหลายสิ่งขณะขี่จักรยานเป็นความผิดพลาด

การพยายามทำหลายอย่างเกินไปขณะขี่จักรยานอาจกลายเป็นผลเสียได้และนี่คือเหตุผล

อ่านเพิ่ม
ชีพจรขณะพักคืออะไร
ชีพจรขณะพักคืออะไร

ทำความรู้จักค่าชีพจรที่เหมาะสมในแต่ละวัย และวิธีการวัดชีพจรแบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

อ่านเพิ่ม
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ
ค่าเป้าหมายอัตราการเต้นของหัวใจ

อัตราการเต้นของหัวใจคืออะไร สำคัญอย่างไร ค่าอัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสมในช่วงปกติและขณะออกกำลังกายของแต่ละช่วงวัยคือเท่าไร

อ่านเพิ่ม