ลดเซลลูไลท์อย่างไรให้ได้ผล?

หลากหลายวิธีในการลดเซลลูไลท์หรือผิวเปลือกส้มด้วยตัวเอง เพื่อความสวยงามและลดความเสี่ยงไขมันอุดตัน โดยไม่ต้องพึ่งยา
เผยแพร่ครั้งแรก 11 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ลดเซลลูไลท์อย่างไรให้ได้ผล?

ลดเซลลูไลท์ได้อย่างไร? ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจโครงสร้างชั้นผิวหนังของคนเราเสียก่อน โครงสร้างดังกล่าวนี้ประกอบด้วย 3 ชั้นหลัก คือ ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ และชั้นไขมันใต้ผิวหนัง เซลลูไลท์ (Cellulite) ที่สาวๆ หลายคนไม่ชอบนั้น เกิดจากผิวหนังชั้นบนมีการสะสมไขมันมากกว่าปกติ ทำให้การเรียงตัวของไขมันชั้นนี้มีลักษณะเป็นผิวขรุขระ เมื่อมองดูจากภายนอกจึงคล้ายผิวเปลือกส้ม

จากอาหารเปลี่ยนเป็นเซลลูไลท์ได้อย่างไร?

กระบวนการย่อยอาหารประเภทไขมันเริ่มต้นตั้งแต่กระเพาะอาหาร แต่จะถูกย่อยเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากความเป็นกรดไม่เพียงพอ เมื่อผ่านไปถึงลำไส้เล็ก น้ำดีจะมีหน้าที่ย่อยไขมันที่เหลือให้เป็นโมกุลเล็ก ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่ผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อส่งต่อไปให้กับอวัยวะเป้าหมายที่ต้องการใช้ไขมันเพื่อปลี่ยนเป็นพลังงาน กระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อได้รับปริมาณไขมันที่สมดุลกับความต้องการของร่างกาย เมื่อมีไขมันส่วนเกินจากการย่อย จะถูกสะสมในชั้นใต้ผิวหนังและตับ ไว้ใช้ในยามที่ร่างกายต้องการพลังงานสำรอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ทำไมผู้หญิงมีเซลลูไลท์มากกว่าผู้ชาย?

เนื่องจากการสะสมของชั้นไขมันใต้ผิวหนังขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและฮอร์โมนเพศ ซึ่งในผู้หญิงเนื่อเยื่อเกี่ยวพันจัดเรียงเป็นแนวตั้ง ลักษณะคล้ายลูกฟูก ทำให้มีปริมาณไขมันสะสมมาก ประกอบกับฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจนมีส่วนเกี่ยวข้องในการกระตุ้นให้มีการสะสมไขมันในร่างกาย ทำให้เห็นผิวเปลือกส้มได้ง่ายที่บริเวณก้น ต้นขา และสะโพก ส่วนในผู้ชายโครงสร้างร่างกายส่วนใหญ่จะเป็นกล้ามเนื้อมากกว่าไขมัน และการเรียงตัวของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเป็นแนวนอน เรียงตัวกันเป็นระเบียบมากกว่า ส่วนมากจะสะสมในแนวกึ่งกลางลำตัว (พุง) ทำให้มองเห็นเป็นผิวโป่งนูนไม่ชัดเท่าของผุ้หญิงนั้นเอง

วิธีลดเซลลูไลท์ด้วยตัวเองง่ายๆ ไม่พึ่งยา

  1. ควบคุมอาหาร ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารมัน เบเกอรี ขนมหวาน และลดการรับประทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ที่มากเกินไป หากมีปริมาณน้ำตาลมากเกินความจำเป็น น้ำตาลส่วนที่เหลือจะสะสมในรูปของไขมัน นอกจากนี้ควรเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารจากวิธีการทอดหรือผัด มาเป็นวิธีการต้มหรือนึ่งแทน และเลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวมาประกอบอาหาร เช่น น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันรำข้าว เพื่อลดการสะสมไขมันในร่างกายด้วย
  2. เพิ่มกระบวนการเผาผลญไขมันในร่างกาย โดยวิธีต่อไปนี้
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการลดเซลลูไลท์ ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ลดการสะสมของไขมัน และทำให้เซลลูไลท์มีขนาดเล็กลง นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้นอีกด้วย โดยการการออกกำลังกายที่ได้ผลในการลดไขมันนั้น เน้นการออกกำลังกายที่ไม่ใช้กำลังมาก แต่เน้นเรื่องระยะเวลาต่อเนื่อง เช่น การวิ่ง ว่ายน้ำ หรือคาร์ดิโอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 วัน วันละ 30-40 นาที
    • พักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 8-10 ชั่วโมง ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดการสะสมไขมันได้
    • ดื่มชาเขียวตอนเช้าวันละ 1 แก้ว ช่วยเพิ่มการเผาผลาญและยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาล ยับยั้งการดูดซึมไขมัน
  3. กระตุ้นการไหลเวียนเลือดและระบบน้ำเหลือง เพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพการเผาผลาญได้ ทำได้ดังนี้
    • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว จะช่วยให้ร่างกายช่วยขับสารพิษที่นำไปสู่การสะสมไขมันออกทาง เหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ
    • รับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยสูง เช่น มะเขือเทศ มี มีวิตามินซี สร้างคอลลาเจน ช่วยให้ผิวกระชับ กล้วย มีโพแทสเซียม สามารถป้องกันการเกิดเซลลูไลท์ แอปเปิล มีไฟเบอร์สูง ช่วยล้างสารพิษในระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้สมุนไพรอย่างขมิ้นชันและพริกก็สามารถกระตุ้นการไหลเวียน กำจัดสารพิษ ลดอาการบวมและลดการสะสมไขมันใต้ผิวหนังได้ด้วย
    • นวดและขัดผิวด้วยกากกาแฟสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ช่วยขับของเหลวและของของเสียที่คั่งระหว่างเซลล์ ทำให้ผิวกระชับขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนมีส่วนช่วยขยายหลอดเลือดกระตุ้นการไหลเวียน ทำให้กำจัดของเสียออกจากร่างกายได้ดีขึ้น

ไขมันส่วนเกินใต้ผิวหนังหรือเซลลูไลท์ สาเหตุส่วนใหญ่เกินจากพฤติกรรม ตั้งแต่การรับประทานอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินความจำเป็น จนไปถึงขาดการออกกำลังกาย ทำให้กระบวนการเผาผลาญทำงานได้ไม่เต็มที่ เกิดการสะสมไขมัน ดังนั้นวิธีป้องกันและลดการเกิดเซลลูไลท์ที่ดีและง่ายที่สุด คือการควบคุมอาหารและหันมาออกกำลังกายนั่นเอง


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศรีวรรณ ทองแพง, นักวิชาการโภชนาการ ศูนย์เบาหวานศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, ไขมัน (https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/diabetes/admin/knowledges_files/7_44_1.pdf), 2558.
พิมพร วีลาพรพิสิฐ, เซลลูไลท์ (http://www.aihd.mahidol.ac.th/sites/default/files/images/new/pdf/journal/janapr2003/4.pdf), 2556.
นงศักดิ์ ชนะสุมน, ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี, Carboxyherapy, Beauty takes risk? (http://www.errama.com/system/spaw2/uploads/files/CARBOXYHERAPY%20IN%20EFFICACY%20AND%20COMPLICATION.pdf), เข้าถึงเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)